ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ทำอย่างไรเมื่อประเทศไทยเป็นสังคมคนโสด - สภาพัฒน์

ทำอย่างไรเมื่อประเทศไทยเป็นสังคมคนโสด - สภาพัฒน์ Thumb HealthServ.net
ทำอย่างไรเมื่อประเทศไทยเป็นสังคมคนโสด - สภาพัฒน์ ThumbMobile HealthServ.net

ท่ามกลางสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลให้ประชากรไทยมีแนวโน้มครองตัวเป็นโสดมากขึ้น ซึ่งถือเป็นประเด็นท้าทายที่สำคัญต่อเป้าหมายการเพิ่มประชากรของไทย ดังนั้น หากไทยต้องการส่งเสริมให้คนมีลูกอาจต้องให้ความสำคัญการมีคู่ของคนโสดด้วย

          ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ระหว่างการเร่งผลักดันนโยบายส่งเสริมการมีลูกโดยมีเป้าหมายไปที่คนมีคู่เพื่อแก้ปัญหาเด็กเกิดน้อย ซึ่งมีแนวทางที่สำคัญ คือ การปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีลูก การสร้างความสมดุลระหว่างการทำงานและการดูแลครอบครัว การแบ่งเบาค่าใช้จ่ายและภาระในการเลี้ยงดูลูก การเสริมสร้างความรู้และปรับเปลี่ยนทัศนคติ โดยให้คุณค่า “ทุกการเกิดมีความสำคัญ” และการสนับสนุนให้ผู้ที่ตัดสินใจมีลูกได้รับการดูแลอย่างครบวงจรและมีคุณภาพ

           อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาสถานภาพของคนในสังคม จากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (SES) ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2566 พบว่า 1 ใน 5 ของคนไทย เป็นคนโสด  โดยมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 23.9

          ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะช่วงวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 15 – 49 ปี)  พบว่า มีคนโสดอยู่ที่ร้อยละ 40.5 สูงกว่าภาพรวมประเทศเกือบเท่าตัว และเพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่มีสัดส่วนร้อยละ 35.7

          ซึ่งคนโสดส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเมือง โดยกรุงเทพฯ มีสัดส่วนคนโสดต่อประชากรในพื้นที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ ถึงร้อยละ 50.4

          ทั้งนี้ คนโสดส่วนใหญ่มีอายุอยู่ระหว่าง 15 – 25 ปี และส่วนมากจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป

          เมื่อจำแนกตามเพศ พบว่า คนโสดเพศหญิงมีสัดส่วนคนจบปริญญาตรีอยู่ที่ร้อยละ 42.0 สูงกว่า เพศชายเกือบเท่าตัว (เพศชายอยู่ที่ร้อยละ 25.7)


          นอกจากนี้ หากพิจารณาในกลุ่มคนมีคู่ยังพบว่า มีความกังวลเกี่ยวกับการใช้ชีวิตร่วมกันมากขึ้น สะท้อนได้จากคนที่แต่งงานแล้ว ที่มีสัดส่วนลดลงจากร้อยละ 57.9 มาอยู่ที่ร้อยละ 52.6 และจำนวนการหย่าร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 จากปี 2560


          จะเห็นได้ว่า สถานการณ์ข้างต้นเป็นประเด็นท้าทายที่สำคัญต่อเป้าหมายการเพิ่มประชากร ดังนั้น หากไทย ต้องการส่งเสริมให้คนมีลูกเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการมีคู่ของคนโสดด้วย

            จากการทบทวนงานศึกษา และวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเป็นคนโสดประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ค่านิยมทางสังคม 2) ปัญหาความต้องการ/ความคาดหวังที่ไม่สอดคล้องกัน 3) โอกาสในการพบปะผู้คน และ   4) นโยบายส่งเสริมการมีคู่ ของภาครัฐ โดยในกรณีของไทย พบว่า


1. ค่านิยมทางสังคม

            โดยมีค่านิยมใหม่เกิดขึ้นในสังคมไทยเพื่อตอบสนองต่อความต้องการและพฤติกรรมของบุคคลที่หลากหลาย และส่งผลให้มีแนวโน้ม การใช้ชีวิตเป็นโสดเพิ่มขึ้น อาทิ

           1) SINK (Single Income, No Kids) หรือคนโสดที่มีรายได้และไม่มีลูก โดยกลุ่มนี้ เน้นใช้จ่ายเพื่อเติมเต็มความสุขให้ตนเองเป็นหลัก อาทิ การท่องเที่ยว สุขภาพ/ความงาม ที่อยู่อาศัย

            โดยในปี 2566 จากข้อมูล SES เมื่อจำแนกประชากรช่วงวัยเจริญพันธุ์ตามระดับรายได้ 10 กลุ่มและสถานภาพสมรส พบว่า สัดส่วนคนโสดสูงขึ้นตามระดับรายได้ โดยเฉพาะในกลุ่ม Decile ที่ 8-10 มีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 12.9 16.8 และ 15.7 ตามลำดับ

              ทั้งนี้ หากพิจารณาสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านตัวเงินประเภทต่าง ๆ ของคนโสด ยังพบว่า ส่วนใหญ่ เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหาร การเดินทางและการติดต่อสื่อสาร และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (อาทิ ภาษี เบี้ยประกันภัย การบริจาค/ทำบุญ)
 
 
          2) “PANK (Professional Aunt, No Kids) หรือกลุ่มผู้หญิงโสดอายุ 30 ปีขึ้นไป ที่มีรายได้/ อาชีพการงานดีและไม่มีลูก” ซึ่งเน้นไปที่การดูแลหลาน/เด็กในครอบครัวรอบตัว จากข้อมูล SES ปี 2566 พบว่า คนโสด PANK มีจำนวนทั้งหมด 2.8 ล้านคน โดยส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้ดีและจบการศึกษาสูง กล่าวคือ กว่าร้อยละ 26.6 ของคนโสด PANK อยู่ในกลุ่มผู้มีรายได้สูงสุด (Decile 10) และจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไปมากถึง ร้อยละ 46.5

           ทั้งนี้ หากพิจารณาตามการประกอบอาชีพ ของคนโสด PANK (กลุ่ม Decile 10 ที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป) พบว่ า ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่าง ๆ อาทิ นักฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ ศิลปิน นักแสดง เจ้าหน้าที่เทคนิค เช่น ช่างเทคนิคด้าน เคมี/วิทยาศาสตร์กายภาพ ช่างเทคนิควิศวกรโทรคมนาคม เป็นต้น พนักงานเสมียน โดยมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 33.1 28.2 และ 13.6   ตามลำดับ
             3) “Waithood” กลุ่มคนโสดที่เลือกจะรอคอยการมีความรักต่อไป เนื่องจากความไม่พร้อม/ ไม่มั่นคงในสถานะทางเศรษฐกิจ จึงมองว่าการแต่งงานในขณะที่ยังไม่พร้อมจะเป็นการลดโอกาสด้านอื่น ๆ ที่อาจเข้ามา อีกทั้ง ยังจะเป็นภาระทางการเงินอีกด้วย

               ซึ่งส่วนหนึ่งสะท้อนได้จากคนโสดร้อยละ 40 ที่มีรายได้ต่ำสุด (Bottom 40) โดยมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 37.7 ของประชากรช่วงวัยเจริญพันธุ์ทั้งหมดที่มีรายได้ต่ำกว่าร้อยละ 40

               ทั้งนี้ คนโสด Bottom 40 ส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากถึงร้อยละ 62.6 อีกทั้ง ยังมีระดับการศึกษาที่ไม่สูงนัก ส่งผลให้ความสามารถ ในการหารายได้จ ากัด โดยอาชีพส่วนใหญ่ของคนโสด Bottom 40 คือ ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือด้านการเกษตร ป่าไม้ และประมง และผู้ประกอบอาชีพด้านงานพื้นฐาน อาทิ คนงาน ผู้ช่วยท าความสะอาดที่พักอาศัย นอกจากนี้ ร้อยละ 52.9 ยังเป็นผู้ไม่ได้ทำงานหารายได้อีกด้วย

2. ปัญหาความต้องการ/ความคาดหวังที่ไม่สอดคล้องกัน (The Mismatch Problem)

             การเปลี่ยนแปลงบทบาททางเพศ อาทิ การเข้ามามีบทบาทในตลาดแรงงานที่มากขึ้นของเพศหญิง และการศึกษา ที่สูงขึ้นของเพศหญิง ทำให้การมองหาคู่ของคนโสดเปลี่ยนไปจากอดีต โดยคนโสดบางส่วนมีมาตรฐานในการเลือกคู่สูงขึ้น ทำให้มีโอกาสเจอคนโสดที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการได้ยาก จึงต้องเป็นโสดต่อไป

            จากการสำรวจความต้องการของคนโสดของบริษัทมีทแอนด์ลันช์ สาขาประเทศไทย (2021)  พบว่า มีผู้หญิงไทยกว่าร้อยละ 76.0 จะไม่เดทกับผู้ชายที่มีรายได้น้อยกว่า และร้อยละ 83.0 ไม่ยอมคบผู้ชายที่มีส่วนสูงน้อยกว่า

            ขณะเดียวกัน ผู้ชายกว่า ร้อยละ 59.0 ไม่เปิดใจคบกับผู้หญิงตัวสูงกว่า และอีกกว่าร้อยละ 60.0 จะไม่ออกเดทกับผู้หญิงที่เคยหย่าร้าง

            นอกจากนี้ ปัญหาความคาดหวังทางสังคมที่มีต่อผู้หญิงยังทำให้ผู้หญิงบางส่วนเลือกจะครองตัวเป็นโสดมากขึ้น โดย Hwang (2016) ระบุว่า ประเทศในทวีปเอเชียส่วนใหญ่มีรากฐานวัฒนธรรมของความคาดหวังต่อผู้หญิงสูง โดยเฉพาะภายหลังการแต่งงานที่ผู้หญิงควรต้องมีบทบาททั้งในบ้านและนอกบ้าน กล่าวคือ ผู้หญิงต้องเป็นแม่บ้าน ที่มีหน้าที่เลี้ยงลูกและทำงานบ้าน และควรต้องเป็นหนึ่งในแรงงานหลักที่ต้องหาเงินเข้าบ้านและเลี้ยงครอบครัว


3. โอกาสในการพบปะผู้คน

              จากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2566 พบว่า คนโสดมีชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยอยู่ที่ 43.2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สูงกว่าชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยรวมของทั้งประเทศ ที่อยู่ที่ 42.3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ขณะที่คนมีคู่ (แต่งงานแล้ว) มีชั่วโมงการทำงานเฉลี่ย 40.9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

               นอกจากนี้ จากผลการจัดอันดับ Best and Worst Cities for Work - Life Balance ปี 2565 ของบริษัท Kisi37 พบว่า กรุงเทพฯ อยู่ในอันดับที่ 5 ของเมืองที่แรงงานทำงานหนักที่สุดในโลก ซึ่งสภาพการณ์ดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า การที่คนโสดต้องใช้เวลา ส่วนใหญ่ไปกับการทำงาน ทำให้ไม่มีโอกาสในการมองหาคู่อย่างจริงจัง จึงเลือกที่จะอยู่เป็นโสดและมองหาเป้าหมายอื่น

             สอดคล้องกับทิพวรรณ ศิริสัมพันธ์ (2562) ที่ระบุว่า สาเหตุที่ผู้หญิงเลือกครองตัวเป็นโสดมากขึ้นมาจากความไม่สมดุลระหว่างเวลาการทำงานและการสร้างครอบครัวซึ่งไม่สามารถให้ความสำคัญไปพร้อมกันได้

4. นโยบายส่งเสริมการมีคู่ของภาครัฐยังไม่ต่อเนื่องและครอบคลุมความต้องการของคนโสด

          โดยการดำเนินกิจกรรมในช่วงที่ผ่านมา อาทิ ในปี 2564 กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการจัดกิจกรรม “โสดมีตติ้ง” เพื่อเปิดโอกาสให้คนโสดได้เรียนรู้และพัฒนาความสัมพันธ์กัน และในปี 2566 จัดกิจกรรม “Sod Smart” เพื่อพัฒนาศักยภาพคนโสดรุ่นใหม่ สร้างทัศนคติเชิงบวกต่อการใช้ชีวิตคู่และการมีลูก ซึ่งผลการจัดกิจกรรมส่วนหนึ่งพบว่า คนโสดที่เข้าร่วมกิจกรรมกว่าร้อยละ 87.0 อยากมีคู่ แต่เหตุผลที่ยังเป็นโสด คือ ยังไม่เจอคนที่ใช่ ไม่มีเวลา ไม่มีโอกาสได้พบเพื่อนใหม่และมีภาระมาก

          ขณะที่ในปี 2563 และปี 2566 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับ Tinder และบริษัท ไดร์ฟ ดิจิทัล จำกัด ได้จัดทำโครงการ “เส้นทางคนโสด Single Journey” เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวในประเทศและเปิดโอกาสให้คนโสดได้มีโอกาสพบกัน ขณะที่ในต่างประเทศมีแนวทางการส่งเสริมการมีคู่ที่ครอบคลุมไปถึงการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายและการสร้างโอกาสในการมีคู่ อาทิ

          สิงคโปร์ ในปี 2561 มีการจัดทำโครงการลดคนโสด โดยสนับสนุนเงินอย่างน้อย 2,500 บาท เพื่อให้ประชาชนนำไปใช้ในกิจกรรมออกเดท/ บริการหาคู่ เพื่อส่งเสริมให้คนโสดได้มีโอกาสพบรักกัน

          ขณะที่จีน ในปี 2566 รัฐบาลท้องถิ่นของมณฑลเจียงซี ให้การสนับสนุนแอปพลิเคชันหาคู่ โดยใช้ฐานข้อมูลของคนโสดที่อาศัยอยู่ในเมืองมาพัฒนาจัดทำแพลตฟอร์มบริการจัดหาคู่ ที่เรียกว่า Palm Guixi

           เช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่ในปี 2567 จัดทำแอปพลิเคชันหาคู่สำหรับคนโสดที่อายุมากกว่า 18 ปี ที่อาศัย ทำงาน หรือเรียนอยู่ในกรุงโตเกียว โดยใช้ระบบ AI เพื่อช่วยวิเคราะห์หาคนที่มีความชอบใกล้เคียงกัน รวมทั้งยังมีระบบการยืนยันตัวตนเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้งานอีกด้วย

 
         ทั้งนี้ จากนโยบายส่งเสริมการมีคู่ของไทยในช่วงที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าเน้นไปที่กลุ่มคนโสดที่มีความพร้อม อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากจำนวนคนโสดในไทยที่เพิ่มขึ้นสูงร่วมกับปัจจัยต่อการเป็นโสดข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่า ยังมีคนโสดอีกมากที่อาจอยากมีคู่ แต่มีอุปสรรคและข้อจำกัดที่ทำให้ต้องเป็นโสด ซึ่งไทยยังมีโอกาสในการดำเนินการสนับสนุนให้คนมีคู่ได้ อาทิ

         1) การสนับสนุนเครื่องมือการ Matching คนโสด โดยภาครัฐอาจร่วมมือกับผู้ให้บริการ/พัฒนาแพลตฟอร์ม เพื่อส่งเสริมให้คนโสดสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น เนื่องจากแอปพลิเคชัน หาคู่ในตลาดมีต้นทุน ขึ้นอยู่กับฟังก์ชันและความปลอดภัยที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งาน

         2) การส่งเสริม การมี Work - Life Balance ทั้งในภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะช่วยให้คนโสดมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่ม โอกาสให้คนโสดมีเวลาทำกิจกรรมที่ชอบและพบเจอคนที่มีความชอบลักษณะเดียวกันมากขึ้น  [คิดส์ for คิดส์ ร่วมกับศูนย์ความรู้นโยบายสาธารณะเพื่อการเปลี่ยนแปลง (101 PUB) และ สสส. สำรวจความคิดเห็นของเยาวชนอายุระหว่าง 15 – 25 ปี ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จ านวน 2,709 คน ]

         3) การยกระดับทักษะ ที่จำเป็นในการทำงาน เพิ่มโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพการงานและรายได้ อาทิ คอร์สเรียนเพิ่มทักษะ Soft & Hard Skills นอกจากนี้ จากผลสำรวจคิด for คิดส์ ปี 202238 พบว่า ร้อยละ 58.9 ของคนโสดยังมีโอกาส พบรักจากสถานศึกษาได้อีกด้วย และ

         4) การส่งเสริมกิจกรรมและการมีส่วนร่วมทางสังคมอย่างต่อเนื่อง อาทิ กิจกรรมทำอาหาร ออกกำลังกาย อาสาสมัคร ทำงานศิลปะ ทำบุญ เพื่อส่งเสริมให้คนโสดได้มีโอกาสพบปะพูดคุย และสร้างความสัมพันธ์ใหม่ ๆ ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด