ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ระบบสุขภาพดิจิทัลวิถีใหม่ Digital Health New Normal

ระบบสุขภาพดิจิทัลวิถีใหม่ Digital Health New Normal Thumb HealthServ.net
ระบบสุขภาพดิจิทัลวิถีใหม่ Digital Health New Normal ThumbMobile HealthServ.net

กระทรวงสาธารณสุข ส่งเสริมให้โรงพยาบาลทั่วประเทศพัฒนาการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ก้าวข้ามความท้าทายหลังทั่วโลกประสบวิกฤตโควิด 19 เชื่อมโยงข้อมูลในพื้นที่ มีระบบการจัดการข้อมูลที่ปลอดภัย อำนวยความสะดวกประชาชน ปลอดภัยทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ ครอบคลุมทุกพื้นที่

วันนี้ (25 พฤศจิกายน 2563) ที่โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ กทม. ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยแพทย์หญิงจามรี เชื้อเพชระโสภณ นายกสมาคมเวชสารสนเทศไทย เปิดการประชุมระดับชาติด้านเวชสารสนเทศ ครั้งที่ 9 และการประชุมวิชาการสมาคมเวชสารสนเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2563 ซึ่งจัดต่อเนื่องมา 29 ปี สำหรับปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด ระบบสุขภาพดิจิทัล : วิถีใหม่ (Digital Health : New Normal) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอผลงานวิชาการด้านเทคโนโลยีเวชสารสนเทศทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยมีแพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักสถิติ คณะกรรมการสมาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมจำนวน 366 คน พร้อมมอบประกาศนียบัตรให้โรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองคุณภาพระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล ใช้ทรัพยากรและการจัดการความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม จำนวน 4 แห่ง ได้แก่
  • โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ผ่านการรับรองระดับ 1
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร จ.เชียงราย
  • โรงพยาบาลแม่สาย จ.เชียงราย ผ่านการรับรองระดับ 2
  • โรงพยาบาลน่าน ผ่านการรับรองระดับ 3 (ขั้นก้าวหน้า)
           ดร.สาธิตกล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้โรงพยาบาลทั่วประเทศ ก้าวข้ามความท้าทายหลังทั่วโลกประสบวิกฤตโควิด 19 นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการบริการประชาชน เป็นระบบสุขภาพดิจิทัล แบบวิถีใหม่ Digital Health : New Normal อำนวยความสะดวก มีความปลอดภัยทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลในพื้นที่ และระบบการจัดการข้อมูลที่ปลอดภัย ลดปัญหาการถูกโจมตีข้อมูล และมีการนำข้อมูลไปใช้วางแผนดูแลรักษาและปัญหาสุขภาพในอนาคต อาทิ โรคเรื้อรัง สังคมผู้สูงอายุ และภาวะแทรกซ้อนในโรคอื่นๆ รวมทั้งนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการรักษา อาทิ การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ระบบส่งยาผู้ป่วยที่บ้าน เป็นต้น แก้ไขปัญหาลดการมาโรงพยาบาล ลดแออัด และลดเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้เป็นอย่างดี
 
            “ผมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ให้นโยบายว่าเราจะเดินหน้าให้เป็น National Health Platform ซึ่งอาจจะฟังดูยาก แต่ก็ต้องทำ เพื่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และความก้าวหน้าทางการแพทย์ ประชาชนจะได้ประโยชน์ในการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพตัวเอง รวมทั้งเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความร่วมมือในการสร้างศักยภาพ ทั้งคุณภาพการรักษาและการให้บริการ เกิดประโยชน์กับผู้รับบริการสูงสุด เรียกความเชื่อมั่นจากชาวต่างชาติให้เข้ามาลงทุนด้านสุขภาพ” ดร.สาธิตกล่าว
 

สำนักสารนิเทศ
25 พฤศจิกายน 2563

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด