การเปิดสถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยค้างคืน (คลินิก)
ผู้ขอรับอนุญาตเป็นผู้ประกอบกิจการ สามารถขอยื่นเปิดคลินิกตามลักษณะของสถาน
พยาบาลและลักษณะการให้บริการ ดังนี้
- คลินิกเวชกรรม ดำเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
- คลินิกเวชกรรมเฉพาะทาง ดำเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรมที่ได้รับวุฒิบัตร หรือหนังสืออนุมัติจากแพทยสภาในสาขานั้น
- คลินิทันตกรรม ดำเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม
- คลินิทันตกรรมเฉพาะทาง ดำเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมที่ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสือนุมัติจากทันตแพทยสภาในสาขานั้น
- คลินิกการพยาบาลและการดผดุงครรภ์ ดำเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ยกเว้น การทำคลอด
- คลินิกกายภาพบำบัด ดำเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขากายภาพบำบัด
- คลินิกเทคนิการแพทย์ ดำเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาเทคนิคการแพทย์
- คลินิกการแพทย์แผนไทย ดำเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งเป็นผู้ประกอบ โรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทเวชกรรมไทย
- คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ดำเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งเป็น ผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
- สหคลินิก จัดให้บริการตาม 1 ถึง 9 สองลักษณะขึ้นไป ดำเนินการโดยผู้ประกบวิชาชีพ วิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่ง ที่ให้บริการในสถานพยาบาลนั้น
ลักษณะของสถานพยาบาลตาม 1-10 อาจจัดให้มีบริการการประกอบโรคภิลปะอื่น
ร่วมด้วยก็ได้ เช่น การแพทย์แผนจีน หรือการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ ในการยื่นขอเปิดคลินิก
- คลินิกที่มีที่ตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นที่สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข
- คลินิกที่มีที่ตั้งในส่วนภูมิภาค ยื่นที่สำนังานสาธารณสุขจังหวัด
ใครเป็นผู้ยื่นขอเปิดคลินิก
1. ผู้ขอรับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล
เอกสารหลักฐาน
เอกสารส่วนบุคคล
1.1 เอกสารส่วนบุคคล
บุคคลทั่วไป
1. สำเนาบัตรประชาชน
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. ใบรับรองแพทย์
นิติบุคคล
1. เอกสารจดทะเบียนนิติบุคคลและวัตถุประสงค์
2. สำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจลงนาม
3. สำเนาทะเบียนบ้านผู้มีอำนาจลงนาม
4. ใบรับรองแพทย์ผู้มีอำนาจลงนาม
หมายเหตุ : ให้ประทับตราบริษัทที่ลายเซ็นผู้ขอรับอนุญาตในแบบฟอร์มยื่นคำขอ
1.2 เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์
กรณีเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง - สำเนาสัญญาซื้อขาย สำเนาโฉนด
กรณีเช่า - สำเนาสัญญาเช่า สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของผุ้ให้เช่า
กรณียินยอมให้ใช้พื้นที่ - หนังสือยินยอมจากเจ้าของอาคาร สำเนาบัตรประชาชนและเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของเจ้าของ
สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งคลินิก
1.3 แผนผังภายในคลินิก
1.4 แผนที่ ในการเดินทางไปคลินิก
แบบฟอร์มที่ต้องกรอก
ส.พ. 1 ส.พ.2 ส.พ.5
2. ผู้ขอรับใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล
เอกสารหลักฐาน
2.1 สำเนาบัตรประชาชน
2.2 สำเนาทะเบียนบ้าน
2.3 ใบรับรองแพทย์
2.4 สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ / ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ
2.5 สำเนาวุฒิบัตร หรือหนังสืออนุมัติ หรือหนังสือรับรอง (กรณีคลินิกเฉพาะทาง)
2.6 รูปถ่ายขนาด 2.5 x 3 เซนติมตร จำนวน 3 รูป ถ่ายไว้ไม่เกิน 1 ปี
2.7 รูปถ่ายขนาด 8 x 13 ชนติเมตร จำนวน 1 รูป ถ่ายไว้ไม่เกิน 1 ปีี
แบบฟอร์มที่ต้องกรอก
ส.พ.18 ส.พ.6
3. ผู้ประกอบวิชาชีพร่วม คือ ผู้ประกอบวิชาชีพ วิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่ง ที่ให้บริการในสถานพยาบาลนั้น ตามลักษณะการให้บริการของคลินิก
เอกสารหลักฐาน
3.1 สำเนาบัตรประชาชน
3.2 สำเนาทะเบียนบ้าน
3.3 สำนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ / ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ
3.4 สำเนาวุฒิบัตร หรือหนังสืออนุมัติ หรือหนังสือรับรอง (กรณีคลินิกเฉพาะทาง)
3.5 รูปถ่ายขนาด 8 x 13 เซนติเมตร จำนวน 1 รูป ถ่ายไว้ไม่เกิน 1 ปี
แบบฟอร์มที่ต้องกรอก
ส.พ.6 (ไม่ต้องมาแสดงตัว)
หมายเหตุ
- กรณีผู้ขอรับใบนุญาตประถอบกิจการและดำเนินการเป็นบุคคลเดียวกัน เอกสาร ข้อ 2.1- 2.3 ใช้เพียงชุดเดียว
- การยื่นขอเปิด ผู้ขรับใบอนุญาตประกอบกิจการ สามารถเขียนใบมอบอำนาจพร้อมแนบสำเนาบัตรประชาขนผู้มอบ / ผู้รับมอบอำนาจ แต่ผู้ขอรับใบอนุญาต ดำเนินการต้องมาแสดงตัวด้วย
- กรณีคลินิกทันตกรม ที่มีที่ตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ถ้ามีเครื่องเอ็กขเรย์ ต้องติดต่อ กองรังสีและเครื่องมออแพทย์ [โทร. 02-951 0000 ต่อ 99647
เมื่อท่านยื่นเปิดคลินิก
- เจ้าหน้าที่จะตรวจเอกสารหลักฐาน พร้อมตรวจความถูกต้อง ครบถ้วนของแบบฟอร์ม
- เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลการดำเนินการและข้อมูลการปฏิบัติงานของผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินการ และผู้ประกอบวิชาชีพร่วม
- นัดวันตรวจคลินิก ซึ่งเมื่อถึงวันนัดตรวจ คลินิกของท่านต้องเสร็จเรียบร้อย พร้อมให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจ หากท่านไม่สะดวกให้เข้าตรวจตามนัด ท่านจะต้องยื่นหนังสือขอถอนเรื่องและรับเอกสารเดิมคืน และยื่นเรื่องเพื่อเปิดคลินิกใหม่อีกครั้ง
หมายเหตุ ผู้ยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการ และผู้ดำเนินการ ต้องอยู่ประจำคลินิก ในวันตรวจ ทั้งนี้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการสามารถทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้อื่นอยู่แทนตัวได้ในกรณี ติดภารกิจ
สิ่งที่ท่านได้รับกลับในวันยื่นเปิดคลินิก
- ใบนัดตรวจ
- แบบแสดงรูปถ่ายและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพ หรือผู้ประกอบโรคศิลปะ ในคลินิก
- ใบสมัครเข้ารับบริการเก็บขนและกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
- คำประกาศสิทธิของผู้ป่วย
- ป้ายสอบถามค่ารักษาพยาบาล
- บันทึกการตรวจมาตรฐานตามประเภทของคลินิก
ท่านยังไม่มีคำใช้จ่าย จนกว่าจะมีหนังสือแจ้งให้ท่านมารับใบอนุญาตฯโดยท่านต้อง
- ถ่ายรูปป้ายชื่อคลินิก พร้อมเลขที่ใบอนญาด ที่เห็นได้ชัดเจน
- เอกสารหลักฐานเพิ่มเติม ตามที่เจ้าหน้าที่ที่ไปตรวจคลินิกได้แจ้งไว้หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้มอบและผู้รับมอบ กรณีท่านไม่ได้มารับด้วยตนเอง
- ชำระค่าธรรมเนียมในอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล จำนวน 1,000 บาท
- ชำระค่าธรรมเนียมใบนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล จำนวน 250 บาท
การชำระค่าธรรมเนียมประจำปี
เป็นการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล
- ชำระทุกปี ในเดือนตุลาคม-ธันวาคม เป็นเงิน 500 บาท
- ถ้าเกินกำหนดต้องจ่ายค่าปรับเดือนละ 25 บาท
เอกสารที่ต้องยื่น
- แบบฟอร์มชำระค่าธรรมเนียม
- สมุดทะเบียนสถานพยาบาล (ส.พ.8)
- แบบรายงานประจำปี (ส.พ. 23)
- แบบประเมินมาตรฐานการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลในคลินิกโดยตนเอง
การต่ออายุใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล
- ต่ออายุทุก 2 ปื (ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินของปีที่สองนับแต่ปีที่ออกใบอนุญาต)
- ค่าธรรมเนียม 250 บาท
เอกสารที่ต้องยื่น
- แบบฟอร์มขอต่ออายุใบอนุญาต (ส.พ.20)
- ใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลฉบับจริง (ส.พ.19)
- ใบรับรองแพทย์
- สมุดทะเบียนสถานพยาบาล (ส.พ.8)
การต่ออายุใบอนุญาตให้ประถอบกิจการสถานพยาบาล
- ต่ออายุทุก 10 ปื (ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินของปีที่สิบนับแต่ปีที่ออกใบอนุญาต)
- ค่าธรรมเนียม 1,000 นาท
เอกสารที่ต้องยื่น
- แบบฟอร์มขอต่ออายุใบอนุญาต (ส.พ.11)
- ใบอนญาดให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลฉบับจริง (ส.พ.7)
- สำเนาบัตรประชาชนผู้ประกอบกิจการ
- สำเนาทะเบียนบ้านผู้ประกอบกิจการ
- สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งคลินิก
- ใบรับรองแพทย์
หมายเหตุ ถ้าไม่สามารถมายื่นด้วยตนเอง ให้ทำหนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตร
ผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ
ชื่อคลินิก
- คำนำหน้าชื่อ หรือต่อท้ายชื่อคลินิก ต้องประกอบด้วยประเภทและลักษณะของคลินิกที่ขออนุญาต เช่น สมชายคลินิกเวชกรรม หรือ คลินิกเวชกรรมสมชาย
- ต้องไม่ใช้คำ หรือข้อความที่มีลักษณะซักชวนหรือโอ้อวดเกินจริง หรืออาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับการประกอบกิจการ
- ไม่สื่อความหมายหรืออ้างอิงสถาบันพระมหากษัตริย์ เวันแต่ได้รับพระบรมราชานุญาต หรือพระราชานุญาต
- คลินิกที่ตั้งภายในอำเภอหรือเขต หรือจังหวัดเดียวกัน จะต้องไม่ใช้ชื่อซ้ำกัน ยกเว้น
- ผู้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลเดียวกัน
- มีหนังสือยินยอมจากผู้ได้รับอนุญาตเดิมให้ใช้ชื่อซ้ำกันได้ แต่ต้องมีอักษรหรือหมายเลขเรียงลำดับ หรือที่ต้ังสถานที่ ต่อท้ายชื่อคลิินิก เช่น คลินิกเวชกรรมสมชายสาขาลาดพร้าว หรือคลินิกเวชกรรมสมชาย สาขา 2
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
โทร 02-5918844 ต่อ 717-719