ศูนย์เพทซีที และไซโคลตรอน เปิดให้บริการ วันจันทร์ - วันศุกร์ 8.00-17.00 น. หยุด วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เบอร์โทร 053-934790
ให้บริการ
- PET/CT scan (เพทซีทีสแกน)
- SPECT/CT (สเปคซีที)
- ไซโคลตรอนทางการแพทย์ (MEDICAL CYCLOTRON)
PET/CT scan (เพทซีทีสแกน)
เป็นเทคโนโลยีการถ่ายภาพทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ที่ใช้เทคโนโลยีร่วมกันระ หว่างเครื่อง PET (Positron Emission Tomography) และเครื่อง CT (Computed Tomography) ที่มีประสิทธิภาพสูง
ภาพถ่ายที่ได้จากเครื่อง PET จะถูกนำมารวม(fusion) กับภาพถ่ายทางกายภาพที่ได้จากเครื่อง CT ทำให้การตรวจนั้นมีความถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น
การตรวจด้วย PET เป็นการถ่ายภาพที่ทำให้เราสามารถตรวจขบวนการเผาผลาญ(metabolism)ของเ ซลล์ และสามารถติดตาม ตรวจวัด ประเมิน และวิเคราะห์ การทำหน้าที่ของอวัยวะนั้น ๆ ในระดับ Cell metabolism ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของพยาธิสภาพที่เกิดขึ้น
ข้อมูลที่ได้จากเครื่อง PET มีความแตกต่างจากเครื่องมืออื่นๆ ซึ่งเรารู้จักกันดี เช่น การตรวจด้วย ultrasound, CT และ MRI ที่ส่วนใหญ่จะแสดงเพียงลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาค
การตรวจด้วย PET/CT scan ในโรคมะเร็ง จะมีความไวและประสิทธิภาพสูงในการตรวจมะเร็งชนิดต่างๆ ดังต่อไปนี้
มะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอ(Head and Neck Cancer)
มะเร็งปอดชนิดNon-small cell (Non-Small Cell Lung Cancer; NSCLC)
ก้อนในปอด(Single pulmonary nodule)
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง(Lymphoma)
มะเร็งผิวหนัง(Melanoma)
มะเร็งต่อมไทรอยด์(Thyroid Cancer)
มะเร็งหลอดอาหาร(Esophageal Cancer)
มะเร็งลำไส้ใหญ่(Colorectal Cancer)
มะเร็งเต้านม(Breast Cancer)
มะเร็งปากมดลูก(Cervical Cancer)
มะเร็งรังไข่(Ovarian Cancer)
มะเร็งที่แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆซึ่งยังไม่ทราบต้นกำเนิด(Cancer of Unknown Origin; CUP)
ใครควรตรวจเพทซีทีบ้าง
ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ผู้ที่แพทย์ลงความเห็นว่าควรตรวจเพื่อการวินิจฉัยมะเร็งเบื้องต้น (Diagnosis)
ผู้ที่ต้องการหาระยะของโรคมะเร็ง (Staging)
ผู้ที่มีกรณีสงสัยว่ามะเร็งแพร่กระจาย หรือมีการกลับเป็นซ้ำ (Re-staging)
ผู้ที่รับการรักษาโรคมะเร็งและต้องการประเมินผลการรักษา ทั้งในระหว่างที่ยังรักษาอยู่และหลังจากการรักษาจบสิ้นแล้ว (Therapeutic-monitoring, Assessing the effectiveness of treatment)
ผู้ที่แพทย์ต้องการผลเพื่อช่วยในการพยากรณ์โรค (Prognosis)
ผู้ที่รักษามะเร็งด้วยการฉายแสง สามารถใช้ผลการตรวจเพื่อช่วยวางแผนการรักษาได้ (Radiation Planning)
ผู้ป่วยโรคหัวใจ
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ สามารถใช้ผลตรวจเพื่อช่วยให้แพทย์วินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ (cardiomyopathy) รวมทั้งการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจและลิ้นหัวใจ (Endocarditis and myocarditis)
ผู้ป่วยโรคทางสมองและระบบประสาท
ผู้ป่วยที่มีภาวะความจำเสื่อม สามารถใช้ผลตรวจเพื่อช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคได้
ผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชัก สามารถใช้ผลตรวจเพื่อช่วยกำหนดตำแหน่งรอยโรคที่เป็นจุดกำเนิดโรคได้
ผู้ป่วยโรคมะเร็งสมอง สามารถใช้ผลตรวจเพื่อช่วยในการประเมินขนาด ขอบเขต และตำแหน่งของก้อนมะเร็งสมองที่ยังเหลืออยู่จากการผ่าตัดหรือการฉายรังสี และช่วยในการวางแผนสำหรับการฉายรังสีรักษา
ขั้นตอนการตรวจเพทซีที
สารเภสัชรังสีสำหรับการตรวจเพทซีทีสแกนถูกผลิตขึ้นก่อนการตรวจโดยทีมผลิตสารเภสัชรังสี
ผู้ป่วยมาตามนัด เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำ และตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
ผู้ป่วยได้รับการฉีดสารเภสัชรังสีโดยพยาบาลวิชาชีพ
ผู้ป่วยพักผ่อนในห้องพัก เป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมงเพื่อให้สารเภสัชรังสีกระจายไปทั่วร่างกายและถูกดูดซึมเข้าไปในเซลล์
นักรังสีการแพทย์นำผู้ป่วยเข้าเครื่องเพทซีทีสแกน ตามลำดับการตรวจ โดยใช้เวลาประมาณ 20-45 นาที
ทีมแพทย์เวชศาสตร์นิวเคลียร์ทำการอ่านผลเบื้องต้น ขณะที่ผู้ป่วยพักเพื่อตรวจติดตามอาการ ประมาณ 30 นาที จึงเสร็จสิ้นกระบวนการตรวจ โดยผลการตรวจจะถูกส่งให้แพทย์ผู้ส่งตรวจเพื่อแจ้งผลตรวจให้แก่ผู้ป่วยต่อไป
SPECT/CT (สเปคซีที)
เป็นการตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์อีกชนิดหนึ่งที่ใช้เพื่อการวินิจฉัยโรคต่างๆ สามารถถ่ายภาพเพื่อตรวจหาความผิดปกติได้ดี แต่ภาพที่ได้อาจไม่สามารถบอกตำแหน่งความผิดปกติได้ชัดเจนนัก เราจึงต้องใช้เครื่อง CT scan มาช่วยในการถ่ายภาพและสร้างภาพ เพื่อช่วยบอกตำแหน่งของพยาธิสภาพได้แม่นยำยิ่งขึ้น
การให้บริการ SPECT/CT (สเปคซีที)
สแกนกระดูก (Bone scan)
สแกนต่อมไทรอยด์ (Thyroid scan)
สแกนต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid scan)
MUGA เพื่อดูการบีบตัวและปริมาตรของห้องหัวใจ
การตรวจไต (Renal scan)
สแกนตับและทางเดินน้ำดี (Hepatobiliary scan)
การตรวจมะเร็ง โดยใช้ I-131 MIBG, Ga-67 และ Octreoscan
สแกนทั้งตัวด้วย I-131 ในผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ชนิด well differentiate
ไซโคลตรอนทางการแพทย์ (MEDICAL CYCLOTRON)
ไซโคลตรอน
เครื่องผลิตสารเภสัชรังสี โดยการเร่งอนุภาคโปรตอน (P) หรือ ดิวเทอรอน (d) ให้มีพลังงานเพียงพอที่จะเข้าสู่นิวเคลียสของธาตุเป้าหมาย เกิดการเพิ่มจำนวนโปรตอนหรือเพิ่มจำนวนโปรตอนและนิวตรอนในนิวเค ลียสเปลี่ยนแปลงให้ธาตุเป้าหมายกลายเป็นธาตุกัมมันตรังสี
สารเภสัชรังสีที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องเพทซีทีสแกนมีค่าครึ่งชีวิ ต (Half-life)ที่สั้น และมีปริมาณรังสีน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณรังสีเพื่อการรักษา โดยสารเภสัชรังสีที่ทางศูนย์ผลิตมีดังต่อไปนี้
สารเภสัชรังสีเพื่อการบริการตรวจวินิจฉัย
18F-FDG เพื่อการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคทางสมองและระบบประสาท
18F-PSMA-1007 เพื่อการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากสารเภสัชรังสีเพื่อการวิจัย