Telehealth / Telemedicine บริการสาธารณสุขระบบทางไกล เป็นหนึ่งในรูปแบบบริการที่ สปสช.ได้พัฒนาการจ่ายเงินชดเชยค่าบริการเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเว้นระยะห่างทางกาย ลดการเดินทางและลดความแออัดในโรงพยาบาล
- ได้เริ่มนำร่องให้บริการระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2563 ที่ผ่านมา
- โรงพยาบาลที่มีความพร้อมและสมัครใจเข้าร่วมโครงการในขณะนี้ 15 แห่ง ประกอบด้วย
- โรงพยาบาลศิริราช
- โรงพยาบาลรามาธิบดี
- โรงพยาบาลราชวิถี
- โรงพยาบาลประสาทวิทยา
- สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
- โรงพยาบาลกลาง
- โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
- โรงพยาบาลตากสิน
- โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
- โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
- โรงพยาบาลสิรินธร
- โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์
- โรงพยาบาลลาดกระบัง
- โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง
- โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
- โรงพยาบาลอื่นๆที่มีความพร้อมในเขตสุขภาพที่ 1-12
"ผู้ป่วยที่ใช้สิทธิบัตรทองติดต่อสอบถามโรงพยาบาลที่ตนรับบริการ เพื่อสอบถามข้อมูล หรือแสดงความจำนงค์เข้ารับบริการสาธารณสุขระบบทางไกลได้ตามต้องการ"
เป้าหมายเบื้องต้นของบริการ Telehealth/Telemedicine คือเน้นที่กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายเก่าในหน่วยบริการที่มีอาการคงที่ สามารถควบคุมโรคได้ดี ซึ่งแพทย์สามารถตรวจรักษาผ่านระบบทางไกลได้ ไม่จำเป็นต้องเดินทางมาหาถึงโรงพยาบาล ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อทั้งระหว่างการเดินทางหรือการติดเชื้อจากผู้ป่วยด้วยกันเองที่โรงพยาบาล ขณะเดียวกันยังช่วยลดความแออัด ทำให้การรักษาระยะห่างในพื้นที่โรงพยาบาลมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ขั้นตอนการรับบริการ
- ทางแพทย์จะเป็นผู้ประเมินอาการผู้ป่วยว่ามีอาการคงที่ พร้อมที่จะรับการรักษาผ่านระบบ Telehealth/Telemedicine หรือไม่
- หากประเมินแล้วพบว่าผู้ป่วยมีความพร้อมก็จะแจ้งให้ทราบและสอบถามความสมัครใจเข้าร่วมโครงการ จากนั้นพยาบาลจะติดต่อชี้แจงข้อตกลง วิธีการตรวจทางไกลและนัดหมายผู้ป่วย
- ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันตามที่โรงพยาบาลกำหนดมาไว้ในเครื่องสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่รองรับ
- ในการรับบริการทางเจ้าหน้าที่จะทำการยืนยันตัวตนผู้ป่วย ตรวจสอบสิทธิการรักษา จัดเตรียมประวัติการรักษาและนัดหมายเวลาพบแพทย์ให้ เมื่อถึงเวลานัดก็ทำการเชื่อมต่อวิดีโอคอลกับแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
- หากจำเป็นต้องรับยาด้วย ทางโรงพยาบาลก็จะมีระบบการจัดส่งยาทางไปรษณีย์หรือแพ็คยาแล้วให้ไปรับยาที่ร้านยาใกล้บ้านโดยไม่เสียค่าบริการ
- ประโยชน์อีกทางของการไปรับยาที่ร้านยา คือผู้ป่วยจะมีเวลาพูดคุยรับคำปรึกษาเรื่องยากับเภสัชกรได้นานกว่าที่โรงพยาบาล อีกทั้งเภสัชกรจะช่วยติดตามอาการเบื้องต้นและประเมินผลการทานยาให้อีกทางหนึ่งด้วย