เกณฑ์โรคผอม
การที่ผู้ป่วยมีค่า Body Mass Index (BMI) ต่ำกว่า < 18.5 กิโลกรัม/ตารางเมตร แต่ถ้าเป็นโรคผอมจะนับตั้งแต่ BMI<17.0 กิโลกรัม/ตารางเมตร
กลุ่มที่ใช้พลังงานมากกว่าปกติได้แก่
- โรคไทรอยด์เป็นพิษ
- ออกกำลังกายอย่างหนัก
- รับประทานยาบางชนิดหรือการใช้สารเสพติด เช่น ยาบ้า
- โรคที่สูญเสียน้ำจนทำให้น้ำหนักลดรวดเร็ว
- เบาหวาน น้ำตาลในเลือดมากทำให้ปัสสาวะบ่อย
- โรคที่มีแคลเซียมในร่างกายสูงปกติ เช่นมะเร็งบางชนิด
อันตรายของโรคผอม
หากเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และกระดูกพรุน ตาโปน ถ้าเป็นโรคมะเร็ง หากไม่ได้รับการรักษาจะเกิดการลุกลามจนรักษาไม่ได้ ถ้าเป็นการล้วงคออาเจียน หลังรับประทานอาหาร น้ำย่อยในกระเพาะมีกรด ทำให้เกิดแผลในกระพุ้งแก้ม ฟันผุ เสียวฟังได้ง่าย
แนวทางการในโภชนบำบัด
กรณีเป็นโรคกลัวอ้วน
จึงเป็นต้องได้รับการรักษาปรับความเข้าใจของผู้ป่วยและญาติ ให้ความรู้ด้านสารอาหารและโภชนาการ อาจจะใช้ยาช่วยภาวะทางจิตเวช
กรณีกินเยอะ แต่ไม่อ้วน
ไม่แนะนำให้กินอาหารหวานจัด มันจัด เค็มจัด หรืออาหารที่มีไขมันสูง เพื่อให้ได้แคลอรี่มาก เพราะจะทำให้เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูงได้ หรือมีพุงแทนที่จะมีกล้ามเนื้อ
- เน้นอาหารเพิ่มโปรตีน เสริมสร้างกล้ามเนื้อ เช่น นม ไข่ ถั่ว ธัญพืช
- ออกกำลังกาย เช่น ยกเวท โยคะ
- เพิ่มการรับประทานคาร์โบไฮเดรตที่มีประโยชน์ เช่น ข้าวกล้อง ข้าวไรเบอรี่
- การเพิ่มน้ำหนักควรเพิ่มพลังงานจากเดิม วันละ 500 Kcal/วัน โดยอาจจะเพิ่มเมื้ออาหาร
- อย่าลืมว่าอาหารที่เพิ่มควรจะเป็นโปรตีน หรือข้าวแป้ง ธัญพืชขัดสีน้อยแทน ขนมหวานหรืออาหารมันๆ
โภชนาการที่แนะนำ
- เพิ่มโปรตีนเป็น1.5-2.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว1 กิโลกรัม
- คาร์โบไฮเดรตและไขมัน เพิ่มขึ้นวันละ300-500 แคลอรี่ต่อวัน จะทำให้น้ำหนักค่อยๆเพิ่มขึ้น
- นม เป็นแหล่งโปรตีนควรดื่มพร้อมมื้ออาหาร ประมาณ 1-2 แก้ว หรือดื่มหลังออกกำลังกาย
- ไข่ ควรรับประทานทุกวัน วันละ1ฟอง ถ้ามีปัญหาไขมัน ในเลือดสูง ควรจำกัดการกินไข่แดง ไม่เกิน3ฟอง ต่อสัปดาห์ หรือรับประทานไข่ขาวแทน
- ข้าวสวย1ส่วน=1ทัพพี น้ำหนัก55กรัม ให้พลังงาน80กิโลแคลอรี่ ถ้าเป็นข้าวเหนียว1ส่วน หนักประมาณ35กรัม ให้พลังงาน80กิโลแคลอรี่ ข้าวยังมีโปรตีน แต่มีปริมาณที่น้อย
- พืชตระกูลถั่ว เป็นอีกทางเลือกเพราะให้พลังงานสูง ถั่วอัลมอนด์1กำมือ ประกอบด้วยโปรตีน 7กรัม และไขมันชนิดดี 18กรัม สามารถรับประทานเป็นของว่าง แต่ต้องจำกัดปริมาณ
- เนื้อแดง ช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ประกอบด้วยกรดอะมิโน การรับประทานเนื้อแดงติดมันจะให้พลังงานมากกว่าเนื้อแดงไร้มัน
- เวย์โปรตีน เป็นแหล่งโปรตีนที่ได้รับความนิยมในหมู่นักกล้าม เพิ่มกล้ามเนื้อ ควรรับประทานก่อนหรือหลังออกกำลังกาย หรือคนที่มีปัญหาทุพโภชนาการ ควรรับประทานเวย์โปรตีนเพิ่ม
- ขนมปังโฮลเกรน อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต ทำจากธัญพืชไม่ขัดสี กินคู่กับโปรตีนช่วยเพิ่มน้ำหนักได้ดี
- อะโวคาโด อุดมไปด้วยไขมันชนิดดี อะโควาโด 1 ลูกให้พลังงาน 332 กิโลแคลอรี มีวิตามินและเกลือแร่
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
นอกจากการเพิ่มอาหารแล้ว ควรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่อาจส่งผลดีต่อการเพิ่มน้ำหนักได้ ดังนี้
- ออกกำลังกาย ทำให้เพิ่มกล้ามเนื้อที่พอเหมาะ ทำให้อยากอาหารมากขึ้น เน้นโปรตีนและข้าวแป้ง
- พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง
- แบ่งมื้ออาหารออกเป็นวันละ 5-6 มื้อ ไม่ควรดื่มน้ำก่อนรับประทานอาหาร
- ลดการกินเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน หรือเครื่องดื่มชูกำลัง เพราะจะทำให้อยากอาหารลดลง
- งดการสูบบุหรี่ คนที่สูบบุรีมีแนวโน้มทำให้อยากอาหารลดลงมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่