นโยบาย แก้หนี้ เสริมกำลังใจ ให้คนสาธารณสุข โดย นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
“ผมพร้อมรับฟังทุกความคิดเห็น ทุกปัญหาอุปสรรค และมีความจริงใจที่จะเข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาให้กับบุคลากร อย่างเรื่องเงินค่าตอบแทนเสี่ยงภัยโควิด 19 ที่รองบประมาณเพิ่มเติมจาก ครม. ก็ได้ติดตามมาตลอด, เรื่องตำแหน่งงาน มีการช่วยเหลือบรรจุให้เสมอภาคทางสายอาชีพ ความก้าวหน้าทางสายงาน เช่น การกำหนดตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพระดับชำนาญการพิเศษ การบรรจุผู้ได้รับจ้างงานอื่นตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพเข้ารับราชการ รวมทั้งการแยกตัวออกจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ซึ่งต้องใช้ระยะเวลา แต่กำลังเร่งดำเนินการ เพื่อให้อนาคตมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการกรอบอัตรากำลัง การทำผลงานวิชาการ ส่วนเรื่องภาระงานล้น บุคลากรน้อย การนำเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน จะช่วยลดภาระงานได้ส่วนหนึ่ง” นพ.ชลน่านกล่าว
แผนความมั่นคงปลอดภัยด้านการเงิน Money Safety MOPH+ โดย ดร.นพ.พงศธร พอกเพิมดี
แนวทาง 4 มาตรการ
- ทบทวนแต่งตั้งคณะกรรมการแผนงานความมั่นคงปลอดภัยด้านการเงิน
- จัดตั้งคลินิกความมั่นคงปลอดภัยด้านการเงิน มีบทบาทหน้าที่ ช่วยตรวจเช็คระดับสุขภาพทางการเงิน ให้ความรู้ด้านการเงิน ให้แนวทางการจัดการปัญหาหนี้สิน เน้นไปยังกลุ่มที่เป็นหนี้นอกระบบและหนี้พนันออนไลน์ หรือการใช้เงินที่ไม่สมเหตุสมผล ที่เป็นต้นตอของปัญหา
- จัดกิจกรรมมอบสวัสดิการสนับสนุนทุนการศึกษา และทุนอื่นๆ
- ขอความร่วมมือและตอบสนองต่อนโยบายสธ. ให้ความร่วมมือและพิจารณาใช้ผลิตภัณฑ์การเงินของสถาบันการเงินที่ทำความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขเป็นอันดับแรก (ธนาคารออมสิน)
2 โครงการด้านสินเชื่ออยู่อาศัย และ สินเชื่อสวัสดิการ
ผลที่คาดหวังว่าจะได้รับของโครงการ
5 ประเภทสินเชื่อ ของธนาคารออมสิน
5 ประเภทสินเชื่อ ของธนาคารออมสิน ตามแผนงานความมั่นคงปลอดภัยทางการเงิน
1.สินเชื่อเคหะแก่ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
2. สินเชื่อสวัสดิการสำหรับข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
3. สินเชื่อ Salary Pay เพื่อบุคลากรภาครัฐ
4.สินเชื่อสวัสดิการสำหรับข้าราชการบำนาญและลูกจ้างประจำโดยใช้บำเหน็จตกทอดเป็นหลักประกัน
5.สินเชื่อรายได้ประจำสุขใจ
เงื่อนไขการใช้อัตราดอกเบี้ยและวิธีเปิดบัญชีเงินเดือนกับธนาคาร