ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

รพ.ปลวกแดง 2 ลงนาม MOU ต้นแบบร่วมทุนรัฐ-เอกชน PPP แห่งแรกของไทย

รพ.ปลวกแดง 2 ลงนาม MOU ต้นแบบร่วมทุนรัฐ-เอกชน PPP แห่งแรกของไทย HealthServ.net
รพ.ปลวกแดง 2 ลงนาม MOU ต้นแบบร่วมทุนรัฐ-เอกชน PPP แห่งแรกของไทย ThumbMobile HealthServ.net

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมลงนามข้อตกลงคุณธรรม “โครงการการยกระดับโรงพยาบาลปลวกแดง 2 ให้มีศักยภาพเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก (M1) และมีมาตรฐานโรงพยาบาลคู่สัญญาของประกันสังคม” สร้างความโปร่งใสในการดำเนินการด้วยวิธีการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน และสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมการแข่งขันอย่างเป็นธรรม เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน

17 ตุลาคม 2566 ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และผู้สังเกตการณ์ตามข้อตกลงคุณธรรม จากองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ได้แก่ นายสมชาติ เจศรีชัย นางลดาวัลย์ ธนะธนิต นายสิทธิชัย วงศ์ถาวรกิจ และนางวัชนี วัฒนถวัลย์วงศ์ ร่วมลงนามในข้อตกลงคุณธรรม “โครงการการยกระดับโรงพยาบาลปลวกแดง 2 ให้มีศักยภาพเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก (M1) และมีมาตรฐานโรงพยาบาลคู่สัญญาของประกันสังคม” โดยมี นายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ดร.ธาริศร์ อิสสระยั่งยืน รองเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก นายรังสี เหลืองวารินกุล กรรมการส่งเสริมโครงการข้อตกลงคุณธรรม ผู้บริหารคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และผู้บริหารองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ร่วมเป็นสักขีพยาน


 
           นายแพทย์โอภาส กล่าวว่า โครงการการยกระดับโรงพยาบาลปลวกแดง 2 เป็นต้นแบบการขยายศักยภาพโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ด้วยวิธีการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน หรือ PPP แห่งแรกของประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ได้เข้าถึงบริการสุขภาพที่มีมาตรฐานในราคาที่เหมาะสมและสะดวก รวดเร็ว สามารถรองรับบริการกรณีมีภัยพิบัติหรือโรคระบาดเกิดขึ้นในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถตอบสนองความต้องการบริการระดับ Premium ของผู้รับบริการได้ โดยกระทรวงสาธารณสุขส่งมอบ ที่ดินพร้อมอาคารผ่าตัด-อุบัติเหตุ 5 ชั้น ให้ภาคเอกชนก่อสร้างอาคารบริการเพิ่มเติม พร้อมสาธารณูปโภคต่างๆ และโอนคืนให้กับกระทรวงสาธารณสุข พร้อมทั้งให้ภาคเอกชนจัดหาครุภัณฑ์ บุคลากร ในการให้บริการ รวมถึงรับผิดชอบกรณีเกิดความเสียหายทางการแพทย์ด้วย
 
            นายแพทย์โอภาสกล่าวต่อว่า ปัจจุบันโครงการนี้ อยู่ในขั้นตอนการจัดทำร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ พิจารณา ก่อนที่จะรับฟังความเห็นจากภาคเอกชน และออกประกาศเชิญชวนต่อไป จึงได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงคุณธรรม ซึ่งเป็นไปตามแนวทางการจัดทำข้อตกลงคุณธรรมในโครงการร่วมลงทุนกับเอกชนหรือให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2564 โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ร่วมกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) จะคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ในกระบวนการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนทุกขั้นตอน เพื่อให้การใช้งบประมาณเป็นไปอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิผล รวมทั้งการคัดเลือกผู้ประกอบการเป็นไปด้วยความสุจริต โปร่งใสและเป็นธรรม เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนต่อไป

โครงการ่วมทุน BTO ผลตอบแทนรัฐ 3.6 พันล้านบาท LINK

โครงการ่วมทุน BTO ผลตอบแทนรัฐ 3.6 พันล้านบาท  รพ.ปลวกแดง 2 ลงนาม MOU ต้นแบบร่วมทุนรัฐ-เอกชน PPP แห่งแรกของไทย
โครงการ่วมทุน BTO ผลตอบแทนรัฐ 3.6 พันล้านบาท  รพ.ปลวกแดง 2 ลงนาม MOU ต้นแบบร่วมทุนรัฐ-เอกชน PPP แห่งแรกของไทย
โครงการ่วมทุน BTO
                 โครงการนี้จะเป็นการร่วมทุนประเภท Build-Transfer-Operate (BTO) คือ เอกชนเป็นผู้ออกแบบ ลงทุนก่อสร้างทรัพย์สินสำคัญ และโอนกรรมสิทธิ์ให้รัฐทันทีหลังก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยได้รับการสนับสนุนด้วยการให้สิทธิประโยชน์ของเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเทียบเคียงกับสิทธิประโยชน์ของ BOI เช่น ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี ยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักร เป็นต้น
 
                 กระทรวงสาธารณสุข จะส่งมอบที่ดินพร้อมอาคารผ่าตัด-อุบัติเหตุ 5 ชั้น วงเงิน 232 ล้านบาทให้ภาคเอกชนก่อสร้างอาคารบริการเพิ่มเติม พร้อมทั้งประสานหน่วยงานประกันสุขภาพให้รับเป็นโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ส่วนภาคเอกชน จะตกแต่ง ก่อสร้างอาคารเพิ่มเติม สาธารณูปโภคต่างๆ ให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี และโอนคืนให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมจัดหาครุภัณฑ์ บุคลากร เพื่อให้บริการทางการแพทย์ รวมถึงรับผิดชอบกรณีเกิดความเสียหายทางการแพทย์
 
 
ผลตอบแทนรัฐ 3.6 พันล้านบาท 
 
                “โครงการนี้ ถือเป็นต้นแบบการขยายโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขด้วยวิธี PPP มีมูลค่าการลงทุนรวม 2,647 ล้านบาท ทำให้ประชาชนมีสถานพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพในการให้บริการในสาขาต่างๆ อยู่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีมาตรฐาน ได้ในราคาที่เหมาะสม สะดวก รวดเร็ว รวมถึงรองรับบริการกรณีมีภัยพิบัติ หรือโรคระบาดเกิดขึ้นในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสร้างผลประโยชน์ทางการเงินแก่ภาครัฐ ตลอดระยะเวลาโครงการ 50 ปี จำนวน 3,684.51 ล้านบาท โดยเป็นรายได้จากค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ที่ดิน 1,033.68 ล้านบาท และส่วนแบ่งรายได้จากภาคเอกชน 2,650.83 ล้านบาท” ดร.สาธิตกล่าว 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด