ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอด สถาบันโรคทรวงอก

โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอด สถาบันโรคทรวงอก HealthServ.net
โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอด สถาบันโรคทรวงอก ThumbMobile HealthServ.net

ประโยชน์ของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอด คือเป็นการรักษาโดยไม่ใช้ยา (non-pharmacological treatment) สำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีประสิทธิภาพมาก ผลงานวิจัยยืนยันว่าวิธีนี้ ช่วยให้ออกกำลังกายได้มากขึ้น ลดอาการหอบเหนื่อยได้ เพิ่มคุณภาพชีวิตได้มาก - สถาบันโรคทรวงอก

โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
ประโยชน์ โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ถือเป็นการรักษาโดยไม่ใช้ยา (non-pharmacological treatment) สำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีประสิทธิภาพมาก 
 
 
มีการศึกษาวจิยัพบว่า โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอดมีผลดังต่อไปนี้
1. เพิ่มความสามารถในการออกกำลังกาย (exercise capacity)
2. ลดอาการหอบเหนื่อย (breathlessness)
3. เพิ่มคุณภาพชีวติ (health-related quality of life)
4. ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล (number of hospitalisations)
5. ลดอาการซึมเศร้าและวิตกกังวล (anxiety and depression)
 
 
ข้อบ่งชี้ในการส่งผู้ป่วยเข้าร่วมโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
1. ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้น เรื้อรังที่มีคะแนน mMRC ≥ 2
2. ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้น เรื้อรังที่มีประวัตินอนโรงพยาบาลด้วยอาการกำเริบเฉียบพลัน
 
การประเมินก่อนเข้าโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
• Six minute walk test
• mMRC score
• CAT score
• ค่าระดับความรู้สึกหอบเหนื่อย (Borg score)
• โรคร่วม (Comorbidities)
 
ข้อห้ามในการเข้าโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
 
  • No absolute contraindications 
  • Relative contraindication

1. ผู้ป่วยมีโรคข้อที่รุนแรงจนเป็นอุปสรรคในการออกกำลังกาย
2. ผู้ป่วยที่มีโรคหวัใจร่วมดว้ยและอาการยงัไม่คงที่(unstable cardiac diseases)
3. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดใหญ่โป่งพอง (abdominal Aortic Aneurysm) ที่มีขนาดใหญ่กว่า 5.5 cm ที่ไม่
สามารถผ่าตัดได้
4. ผู้ป่วยที่ on home O2 therapy สามารถให้ supplement O2 ขณะออกกำลังกายได้
 
 
 
โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
 
สำหรับผู้ป่วยนอกเริ่มส่งผู้ป่วยเข้าร่วมโปรแกรมในvisit ที่2 ส่วนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลดว้ยอาการกำเริบเฉียบพลันให้เริ่มโปรแกรมโดยเร็วที่สุด หลังจากแพทย์ ประเมินอาการว่าอาการดีขึ้นแล้ว โดยโปรแกรมจะรวมไปถึงการให้ความรู้เรื่องโรคการใช้ยาพ่นสูดที่ถูกต้อง คำแนะนำเรื่อง
โภชนาการ breating exercise และการออกกำลังกาย

สำหรับผู้ป่วยนอกโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพ จัดทำเป็นโปรแกรมออกกำลังกายที่บ้าน (Home
based) โดยอยู่ภายใต้การดูแลให้คำแนะนำ (supervision) ของนักกายภาพบำบัด หรือ เจ้าหน้าที่คลินิกโรคปอดอุดกั้น เรื้อรังอย่างน้อย 4 คร้ัง หรือทุกคร้ังที่มาพบแพทย์ตามนัด 
 
ระยะเวลาของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอด คือ 6-12 สัปดาห์ความถี่ 5 วันต่อสัปดาห์
 
ระดับความหนกัเบา ประเมินจากค่าระดับความรู้สึกหอบเหนื่อย (Borg score) เท่ากับ 3-4


 
โปรแกรมการออกกำลังกาย (ภาคผนวก)
 
1. Aerobic exercise : การเดินทางราบ (walking ) แบ่งโปรแกรมการออกกำลังกายเป็น 7 ระดับ ตามผล 6MWT ของผู้ป่วย
 
2. Resistive exercise:
Upper extremities
Lower extremities
 
 
เอกสารอ้างอิง
1. M.A. Spruit and E.M. Clini Thematic review series on pulmonary rehabilitation. Eur Respir Rev 2013;
22: 128,178-186.
2. Linda Nici and Richard L. ZuWallack .Pulmonary rehabilitation. Clin Chest Med 35 (2014) 303-311.
3. The BTS guideline on pulmonary rehabilitation in adults 2013.
http://thorax.bmj.com/site/about/guidelines.xhtml
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด