สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยระบุว่า ผู้ป่วยโรคไตทั่วประเทศที่ยังมีชีวิตอยู่และอยู่ระหว่างการรักษาประมาณ 140,000 คน และคาดว่ามีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากโรคไตที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยโรคอื่นเป็นตัวนำพา เช่นภาวะไตเสื่อมเนื่องจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 2 โรคนี้จะทำให้หลอดเลือดที่มาเลี้ยงไตตีบแข็ง ส่งผลทำให้ไตเสื่อมลงอย่างถาวร พฤติกรรมที่ติด “รสเค็ม” ทานอาหารแปรรูปที่มีโซเดียมสูง ขนมกรุบกรอบที่มีเกลือมาก
ดังนั้นการเลือกทานอาหารให้ถูกต้องและเหมาะสมกับความต้องการของร่างกายจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการชะลอไม่ให้เนื้อไตถูกทำลายมากขึ้น
- โปรตีน
ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตในระยะ 1-2 กินโปรตีนได้ปกติ 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ควรเน้นปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน อกไก่(ควรเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูปที่มีการปรุงรส) และถ้าเป็นโรคไตระยะที่ 3-4-5 (ไตวายเรื้อรัง) ต้องจำกัดโปรตีน 0.6 - 08. กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมหรือถ้าจำกัดมากกว่านั้น คือ 0.4 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เน้นทานโปรตีนคุณภาพดี เช่น ไข่ดาว ปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
- โซเดียม
ไม่ควรกินเกินวันละ 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือประมาณ 1 ช้อนชา หรือเทียบเท่า น้ำปลา 5 ช้อนชาเลี่ยงการใช้เครื่องปรุงรส ที่มีโซเดียมสูง เช่น ผงชูรส ผงปรุงรส ซุปก้อน ผงฟู่ เลี่ยงการทานอาหารแปรรูปที่มีโซเดียมสูงในการเก็บถนอมอาหาร เช่น ผลไม้ดอง ไข่เค็ม ปลาเค็ม หมูหยอง ผักดอง หัวไชโป๊
ลำดับโซเดียมในเครื่องปรุงรสและอาหารสำเร็จรูป
- ซอสมะเขือเทศ 1 ช้อนโต๊ะ / มีโซเดียม 180 มิลลิกรัม
- ซอยหอยนางรม 1 ช้อนโต๊ะ / มีโซเดียม 480 มิลลิกรัม
- บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 1 ห่อ 60 กรัม / มีโซเดียม1500 มิลลิกรัม
- ซุปก้อน 1 ก้อน 5 กรัม /มีโซเดียม 1730 มิลลิกรัม
- ผงชูรส 1 ช้อนโต๊ะ / มีโซเดียม1950 มิลลิกรัม
- ผงปรุงรส 2 ช้อนชา / มีโซเดียม 1900 มิลลิกรัม
- โพแทสเซียม
ในผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 4-5 ไม่ควรได้รับเกิน 1500 มิลลิกรัม ต่อวัน (หรือผู้ป่วยมีค่าโพแทสเซียมในเลือดสูง)
• ผักที่มีโพแทสเซียมสูง 100 กรัม ได้แก่ หัวปลี ผักชี ชะอม คะน้า แครอท มะเขือเทศ ฟักทอง บร็อคโคลี่
• ปานกลาง ได้แก่ ฟักเขียว ผักกาดขาว มะละกอ ผักบุ้งจีน ขิง หัวไชเท้า น้ำเต้า มะเขือยาว
• ต่ำ ได้แก่ บวบ หอมใหญ่ แตงกวา ฟักอ่อน ถั่วพู พริกหยวก ถั่วลันเตา
- ฟอสฟอรัส
ไม่ควรกินเกิน 800 มิลลิกรัมต่อวันจะจำกัดในผู้ป่วยระยะที่ 3- 4 – 5 ควรเลี่ยงการทาน นม ผลิตภัณฑ์จากนมทุกชนิด ช็อคโกแลต ไข่แดง ถั่วเมล็ดแห้งทุกชนิด เต้าหู้ถั่วเหลือง
- น้ำ
จะมีการจำกัดในผู้ป่วยที่บวบน้ำ หรือแพทย์เป็นผู้กำหนด ประมาณ 1000-1200 มิลลิตร ต่อวัน ในรายที่ไตวายมาก อาจลดเหลือแค่ 500 มิลลิตรต่อวัน หรือปัสสาวะไม่ออก
- พลังงาน
คำนวณจากน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต้องการพลังงาน 30 กิโลแคลอรี่ ในกรณีทำงานปานกลาง ถ้าทำงานเบา น้ำหนัก 1 กิโลกรัม :25 กิโลแคลอรี่แทน ควรได้รับพลังงานเพียงพอ ทั้ง คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน โดยเฉพาะไขมันควรเป็นไขมันที่ไม่อิ่มตัว ข้าวทานได้ปกติ ในรายที่ต้องระวังฟอสฟอรัสในเลือดสูงให้เลี่ยงการทานข้าวกล้อง ธัญพืชไม่ขัดสี (ทานแป้งปลอดโปรตีนแทน เช่น เส้นเซี่ยงไฮ้ ข้าวหอมมะลิสีขาว เส้นหมี่ เส้นใหญ่)
สุดท้ายนี้แนวทางในการทานอาหาร มีส่วนสำคัญในการเสี่ยงการเกิดโรคไต และเพิ่มคุณภาพให้ดีขึ้น ในรายที่เป็นโรคไตในระยะเริ่มต้นแล้ว การดูแลของแพทย์ ทานยาสม่ำเสมอ พบแพทย์ตามนัด และเลือกทานอาหารที่เหมะสม แค่นี้ก็สามารถลดอาการเสี่ยงของโรคไตได้
นายธีระเดช สวนเส
นักกำหนดอาหาร รพ.วิภาวดี
ด้วยความปรารถนาดีจากโรงพยาบาลวิภาวดี