23 มิ.ย.2565 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ฉบับที่ 46 โดยได้ระบุข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการตามคำแนะนำของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ข้อ 3 เรื่องการผ่อนคลายข้อปฏิบัติในการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าทั่วราชอาณาจักร ให้เป็นการปฏิบัติโดยความสมัครใจ และมีผลทันที ตั้งแต่ 23 มิ.ย.2565 เป็นต้นไป
ความในประกาศดังนี้
ข้อ 3 การผ่อนคลายข้อปฏิบัติในการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าทั่วราชอาณาจักรเพื่อให้ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตได้ใกล้เคียงกับสภาวะปกติยิ่งขึ้น จึงสมควรผ่อนคลำยข้อจำกัดในเรื่องการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ำกากผ้า
การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าให้เป็นการปฏิบัติโดยความสมัครใจ โดยขอให้ประชาชนพิจารณาประโยชน์ตามข้อมูลที่ฝ่ายสาธารณสุขรายงานว่า การสวมหน้ากากอย่างถูกวิธีเป็นประโยชน์ด้านสุขอนามัยในการป้องกันการแพร่เชื้อและการรับเชื้อ ทั้งเชื้อโรคโควิดและโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจอื่นๆ รวมทั้งยังสามารถลดความเสี่ยงอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (กรมอนามัย) จึงมีข้อแนะนำให้ประชาชนทั่วไป สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ร่วมกับบุคคลอื่น ในสถานที่หรือในพื้นที่แออัด มีการรวมกลุ่มคนจำนวนมาก ไม่สามารถเว้นระยะห่างได้หรืออากาศระบายถ่ายเทไม่ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อหรือรับเชื้อ
กรณีเป็นผู้เข้าข่ายเสี่ยงที่เมื่อติดเชื้อโควิด-19 จะมีอาการรุนแรงหรือความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิต (กลุ่ม 608) หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจควรสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีตลอดเวลา เมื่อต้องอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นเพื่อลดความเสี่ยงในการรับเชื้อ และกรณีเป็นผู้ติดเชื้อโควิด
- 19 หรือผู้สัมผัสเสี่ยงสูงจำกเชื้อโควิด-19 จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี
ตลอดเวลำเมื่ออยู่ร่วมกับบุคคลอื่นเพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันการแพร่โรค
ให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งชี้แจง ประชาสัมพันธ์ สร้ำงการรับรู้ความเข้าใจให้ประชาชนทุกภาคส่วนทราบถึงแนวการปฏิบัติตนเพื่อให้เกิดความปลอดภัย สอดคล้องกับมาตรการสังคม ชุมชน และองค์กร เปลี่ยนผ่านสู่ระยะ Post-Pandemic เฝ้ำระวังและกำกับติดตำมสถานการณ์ รวมทั้งจัดืาแผนการบริหำรจัดการความเสี่ยงเตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น
คำแนะนำ หากต้องถอดหน้ากากอนามัย โดยกระทรวงสาธารณสุข
ถอดหน้ากาก ได้เมื่อ
อยู่คนเดียว
ออกกำลังกาย
กินอาหาร ดื่มน้ำ
อยู่บริเวณที่อากาศถ่ายเทสะดวก
อยู่นอกอาคาร ที่โล่งแจ้ง
อยู่ในอาคาร เว้นระยะห่างได้
ใครควรใส่ หน้ากากตลอดเวลา
- กลุ่ม 608 ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด ครบตามเกณฑ์
- ผู้ติดเชื้อ หรือ ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง เมื่อจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น
- ผู้ปฏิบัติหน้าที่ให้บริการหรือใกล้ชิดกับบุคคลอื่น
หน้ากากอนามัย ยังเป็นสิ่งที่ควรพกติดตัวไว้เผื่อจำเป็น
รมช.สธ. แจง ถอดแมสก์ตามสมัครใจ ยังมีเงื่อนไข
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข แจงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้สวมหรือถอดหน้ากากตามความสมัครใจ ยังมีเงื่อนไข ขอให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด หากอยู่ในสถานที่เสี่ยง เว้นระยะห่างไม่ได้ เป็นผู้ที่ติดเชื้อเสี่ยงอาการรุนแรง ผู้ป่วยและผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ยังสมควรสวมหน้ากาก เพื่อความปลอดภัย ป้องกันการติดเชื้อ
24 มิถุนายน 2565 ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 46 ซึ่งมีเรื่องของการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตามความสมัครใจ ว่า ประกาศเรื่องของการสวมหรือถอดหน้ากากตามความสมัครใจนั้น เป็นแบบมีเงื่อนไข คือให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งแนะนำให้สวมหน้ากากเมื่อยังอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสถานที่เสี่ยงหรือพื้นที่แออัดมีการรวมกลุ่มคนจำนวนมาก ไม่สามารถเว้นระยะห่างได้ หรืออากาศระบายถ่ายเทไม่ดี รวมถึงกลุ่มเสี่ยงที่หากติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรง หรือผู้ป่วยและผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ยังจำเป็นต้องสวมหน้ากากเมื่ออยู่ร่วมกับบุคคลอื่น
“แม้จะมีประกาศให้การสวมหน้ากากหรือถอดหน้ากากเป็นไปตามความสมัครใจ แต่ขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำที่เป็นเงื่อนไขอย่างเคร่งครัด การสวมหน้ากากในสถานที่ที่มีความเสี่ยง เป็นเรื่องที่ควรตระหนักให้ดี เพื่อความปลอดภัย ป้องกันการติดเชื้อได้ แม้ช่วงนี้จะมีผู้ติดเชื้อโควิดไม่มาก แต่ก็พบว่าเริ่มเพิ่มสูงขึ้นบ้าง เนื่องจากมีการผ่อนคลายกิจกรรม เช่น สถานบันเทิง และแม้การติดเชื้อส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรง แต่บางคนอาจเป็นภาวะลองโควิดที่มีอาการเรื้อรังได้ ดังนั้น ไม่ติดเชื้อดีที่สุด” ดร.สาธิตกล่าว
กสทช. แจงแนวปฏิบัติในการถ่ายทำรายการโทรทัศน์
ศาสตราจารย์ ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวในการประชุมทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวปฏิบัติในการถ่ายทำรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ ฉบับปรับปรุง แก่ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ และสื่อมวลชน เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2565 ว่า แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด -19 เริ่มคลี่คลายลง และข้อปฏิบัติหลาย ๆ อย่างจะเริ่มผ่อนคลาย แต่โควิดยังคงมีอยู่ หน้ากากอนามัยยังเป็นเครื่องมือที่มีความปลอดภัยสูงสุดในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค จึงขอความร่วมมือสื่อมวลชนให้ยังคงเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชน ดำเนินการถ่ายทำรายการด้วยความระมัดระวังสูงสุด
ศาสตราจารย์ ดร.พิรงรอง กล่าวว่า ที่ผ่านมาการประชุมทำความเข้าใจแนวปฏิบัติในการถ่ายทำรายการโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช. ได้นำข้อเสนอในที่ประชุมไปแก้ไขปรับปรุงแนวปฏิบัติและเสนอต่อ กสทช. ก่อนเสนอศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศปก.ศบค.) และ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. โดยได้ข้อสรุป และกำหนดเป็นแนวปฏิบัติในการถ่ายทำรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ ฉบับปรับปรุง (ฉบับที่ 1)
นางสาวมณีรัตน์ กำจรกิจการ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กล่าวว่า ได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการปรับปรุงแนวปฏิบัติในการถ่ายทำรายการโทรทัศน์ โดยมีประเด็นสำคัญ คือ ทุกคนในกองถ่ายต้องได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ต้องตรวจ ATK ก่อนเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1-2 เมตร และควรสวมหน้ากากอนามัยตลอดการปฏิบัติหน้าที่เพื่อลดความเสี่ยง เว้นแต่พิธีกร นักแสดง และผู้ร่วมรายการที่จำเป็นต้องออกหน้าจอ สามารถถอดหน้ากากอนามัยระหว่างการถ่ายทำรายการได้ แต่ยังคงต้องยึดหลักของการรักษาระยะห่าง และใช้มาตรการอื่นๆ ประกอบ เช่น การมีฉากกั้น จำกัดจำนวน และระบุบุคคลให้ชัดเจน และบันทึกประวัติการทำกิจกรรม นอกจากนี้ ยังต้องมีความเคร่งครัดเป็นพิเศษสำหรับกลุ่มผู้เปราะบาง กลุ่ม 608 หรือเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ขวบ
ทั้งนี้ในการประชุมผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ได้มีข้อซักถามเกี่ยวกับพิธีกร นักแสดงที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ซึ่งถูกกำหนดให้สวมหน้ากากอนามัยระหว่างปฏิบัติงาน แต่มีความจำเป็นต้องแสดงสีหน้าท่าทางออกหน้าจอ โดยกรณีดังกล่าวมีคำแนะนำว่า สามารถถอดหน้ากากอนามัยระหว่างการถ่ายทำรายการได้หากเป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง แต่จะต้องมีความระมัดระวังสูงสุด โดยใช้มาตรการอื่นๆ ประกอบ มีการลงนามรับทราบความเสี่ยง และจะต้องมีการขึ้นข้อความเพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนว่าได้ปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด และที่ประชุมได้มีความเห็นร่วมกันว่า พร้อมใจที่จะดำเนินการตามมาตรการในการถ่ายทำรายการโทรทัศน์ฉบับนี้
นางสาวมณีรัตน์ กล่าวทิ้งท้ายว่า สำนักงาน กสทช. พยายามผ่อนคลายมาตรการในการถ่ายทำรายการโทรทัศน์อย่างรอบคอบ และไม่ให้กระทบต่ออุตสาหกรรมในภาพรวม ซึ่งมาตรการในการถ่ายทำรายการโทรทัศน์อาจมีความเข้มงวดกว่าหลักปฏิบัติทั่วไปของประชาชน แต่เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดภายในกองถ่าย และเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับประชาชนในฐานะสื่อมวลชน จึงอยากขอความร่วมมือผู้ประกอบกิจการปฏิบัติตามอย่างมีวินัย อย่างไรก็ตาม หากมีการเปลี่ยนแปลงมาตรการสาธารณสุขเพิ่มเติม ก็จะเชิญสื่อมวลชนเข้ามาหารือเพื่อกำหนดมาตรการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีความเห็นร่วมกันในการเริ่มปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน [ข่าวกสทช.]