พระปัญญาวชิรโมลี นพพร ให้แนวคิดและแนวทางสำหรับหน่วยงานรัฐที่จะได้ประโยชน์จากการลงทุนโซลาเซลส์ ไว้ดังนี้
เพื่อนำร่องโครงการให้โรงพยาบาล และหน่วยงานราชการต่างๆ โดยปกติจะใช้ไฟในเวลากลางวันเป็นหลัก จะได้ของดี ราคาถูก 137.06 กิโลวัตต์ งบประมาณ 3.3 ล้านบาท ลดค่าไฟฟ้าปีละ 900,000 - 1,000,000 บาท ตลอดอายุการใช้งาน 25 ปีลดไปได้ถึง 22 ล้าน หลังจากทดลองใช้แล้วได้วิเคราะห์การใช้งานพบว่าโรงพบาบาลใช้ไฟฟ้วันละ 700 กว่าหน่วย เมื่อติดโซล่าร์เซลล์ แล้วลดลงวันละ 600 หน่วย ทางโรงพยาบาลจ่ายค่าไฟฟ้าเพียงวันละ 100 หน่วย ในตอนไม่มีแสงแดด ถ้าแสงมาเมื่อไหร่ก็ผลิตไฟฟ้าให้ตามการใช้งานเลย ดูจากสีแดงเป็นกราฟการใช้ไฟของโรงพยาบาลในช่วงเวลากลางวันจะสูง แต่โซล่าร์เซลล์ก็ผลิตไฟไล่ตามไปติดๆ และไม่ผลิตเกินการใช้งาน เป็นการป้องกันการส่งไฟออกไปข้างนอกซึ่งทางทีมงานได้ติดตัวป้องกันไฟย้อนเข้าสายส่งเรียกว่า Zero Export
ถ้าทุกโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และทุกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ติดตั้งโซล่าร์เซลล์คุณภาพดีทั้งแผ่น และอินเวอร์เตอร์ประสิทธิภาพสูงใช้งบประมาณโดยไม่ล็อกสเป็คจะเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติขนาดไหน
เบื้องต้นได้นำเสนอกับท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเกี่ยวกับโครงการโรงพยาบาลเสียดายแดด ซึ่งท่านเห็นชอบทำโครงการนำร่องด้วยงบประมาณ 3,000 ล้านบาท
แนวทาง
- โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป จำนวน 120 แห่งติดตั้งโซล่าร์เซลล์แห่งละ 1 MW รวม 120 MW เมกกะวัตต์ละ 25 ล้าน ใช้งบประมาณรวม 3,000 ล้านบาท ประหยัดค่าไฟฟ้าปีละ 800 ล้านบาท
- โรงพยาบาลชุมชน จำนวน 800 แห่งๆ ติดตั้งโซล่าร์เซลล์แห่งละ 100 kW รวม 80 MW กิโลวัตต์ละ 30,000 บาท รวม 2,400 ล้านบาท ประหยัดค่าไฟฟ้าปีละ 528 ล้านบาท
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แบบไฮริด-ออนกริด แบตลิเธี่ยมจำนวน 10,000 แห่งๆ ละ 5 KW รวม 50 MW กิโลวัตต์ละ 70,000 บาท รวม 350 ล้านบาท ประหยัดค่าไฟฟ้าปีละ 330 ล้านบาท
ทั้งนี้เพื่อไม่เป็นการรบกวนระบบจัดส่งมากเกินไปอาจจะต้องทำการ Balance Energy ด้วย BESS ไปด้วย
งบประมาณที่ใช้
- รวมทั้งสิ้น 5,500 ล้านบาท
- หากใช้เวลาติดตั้ง 4 ปี เท่ากับ ต้องการงบสนับสนุนปีละ 1,437.5 ล้านบาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- ตลอดอายุการใช้งานสามารถประหยัดค่าไฟฟ้า 41,450 ล้านบาท
- สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ และรัฐบาล
หรือโรงพยาบาลไหนสนใจไม่ต้องไปรบกวนงบประมาณของแผ่นดินมาให้คนไม่หวังดีแอบไปมีนอกมีในก็ใช้แนวทางการระดมทุนทอดผ้าป่าโซลล่าร์เซลล์โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน แต่ละคนช่วยกันคนละเล็กน้อยด้วยน้ำใจไมตรีของคนไทยย่อมนำพาประเทศชาติเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาประเทศได้
การติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่โรงพยาบาลบ้านตาก จ.ตากนี้ โดยทีมงานนักเรียนจากโรงเรียนศรีแสงธรรมมาช่วยทำงานรระหว่างปิดเทอม เมื่อเสร็จแล้วก็ย้ายไปทำให้วัดที่พิษณุโลก ก่อนจะไปทำงานรับจ้างที่โรงงานน้ำดื่มในบางบัวทองต่อไป ค่อยกลับมาเตรียมขึ้นที่โรงพยาบาลธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ดต่อไป ต้องขอขอบคุณ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านตาก และเจ้าหน้าที่ทุกท่านที่ดูแลเรื่องที่อยู่ที่กินให้กับทีมงานอย่างดี