ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โทร 1668 ร่วมโครงการ Home isolation (การกักตัวที่บ้าน) สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 - กรมการแพทย์

โทร 1668 ร่วมโครงการ Home isolation (การกักตัวที่บ้าน) สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 - กรมการแพทย์ Thumb HealthServ.net
โทร 1668 ร่วมโครงการ Home isolation (การกักตัวที่บ้าน) สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 - กรมการแพทย์ ThumbMobile HealthServ.net

ผู้ป่วยที่กำลังรอเตียงแจ้งความประสงค์ได้ที่ 1668 ร่วมโครงการ Home isolation 6 โรงพยาบาลในสังกัด สปสช.ที่เข้าร่วมได้แก่ โรงพยาบาลราชวิถี ,เลิดสิน,สถาบันทรวงอกแห่งชาติ ,นพรัตน์ ,เมตตาประชารักษ์ และสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

โทร 1668 ร่วมโครงการ Home isolation (การกักตัวที่บ้าน) สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 - กรมการแพทย์ HealthServ
เมื่อวันที่ 2 ก.ค. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จัดเวทีบรรยายออนไลน์หัวข้อ "แนวทางการรักษาและ Home isolation (การกักตัวที่บ้าน) สำหรับผู้ป่วยโควิด-19"
 
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า เนื่องจากใน กทม. และปริมณฑล จำนวนผู้ป่วยขณะนี้เกินกำลังบุคลากรทางการแพทย์แล้ว ตัวเลขล่าสุดอยู่ที่ 26,000 คน และคาดว่าจะสูงถึง 3-4 หมื่นคน เตียงไม่พอแน่นอน แม้จะขยายเตียงก็ไม่มีหมอพยาบาล
 
"กรมการแพทย์ได้เตรียมการทำ Home isolation มาตั้งแต่เดือน เม.ย. มีข่าวออกมาเราก็ปฏิเสธไปเพราะเตียงพอ เมื่อเตียงไม่พอเราถึงทำ ถ้าเตียงพอเราไม่อยากทำ พูดมาตลอดว่า Home isolation มีข้อเสีย 2 ประการ อย่างแรกกับตัวคนไข้เองคือเมื่อเขาอยู่บ้านแล้วภาวะเสี่ยงเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นแดงสุขภาพแย่ลงจะส่งผลกับคนไข้เอง และอย่างที่ 2 การที่ไม่สามารถแยก (Isolate) ตัวเองกับญาติพี่น้อง จะแพร่เชื้อให้ญาติ สู่ชุมชน ถ้าเตียงพอไม่อยากให้ทำ เพราะฉะนั้นต้องป้องกัน 2 เรื่องนี้คือ 1.ไม่ให้เขาแย่ลงต้องลงทะเบียน ต้องให้อุปกรณ์ไปที่บ้าน ปรอทวัดไข้ ที่วัดออกซิเจนในกระแสเลือด สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ให้เงินกับโรงพยาบาลอีก 1 พันบาทต่อคนต่อวัน เราส่งอาหาร 3 มื้อ แพทย์ติดต่อกับผู้ป่วยตลอด 14 วันกักตัว เราทำเพื่อคนไข้และชุมชน ต้องบอกว่าศึกนี้ใหญ่หลวงบุคลากรทางการแพทย์ต้องพยายามดูแลตัวเอง ไปในที่ชุมชนระวังตัวเองเยอะๆ จะได้ไม่นำไปติดพ่อแม่ที่บ้าน ขอบคุณแทนพี่น้องประชาชนจริงๆ รู้ว่าเหนื่อยครับ แต่ตอนนี้ประชาชนก็หนักถ้าเราไม่เป็นที่พึ่งให้เขา ก็ไม่รู้ว่าประชาชนจะไปพึ่งใครอีก" นพ.สมศักดิ์ กล่าว
 
พญ.นฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมการแพทย์ กล่าวว่า Home isolation เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ใช้กับผู้ป่วย 2 กรณี คือ
  1. ผู้ป่วยที่วินิจฉัยใหม่ตามเกณฑ์ ระหว่างรอแอดมิทในโรงพยาบาล แพทย์เห็นว่าสามารถดูแลรักษาที่้บานเพื่อรอเตียงได้
  2. ผู้ป่วยที่ Step Down หลังเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหรือสถานที่รัฐจัดให้อย่างน้อย 10 วันจนอาการดีขึ้น และจำหน่ายกลับบ้านเพื่อรักษาต่อเนื่องที่บ้านอย่างเคร่งครัดอีก 4 วัน โดยจะมีหมอและพยาบาลติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด
คำแนะนำการแยกกักตัวที่บ้าน
  1. ลักษณะของบ้านพักอาศัยที่เหมาะสม
  2. ข้อควรปฏิบัติตนของผู้ป่วยโควิดในระหว่างแยกกักตัว
  3. คำแนะนำสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในการติดตามดูแลผู้ป่วยโควิดที่อยู่ที่บ้าน
ซึ่งมีเกณฑ์การพิจารณาผู้ป่วยกับการดำเนินการของโรงพยาบาล โดยข้อควรปฏิบัติตนของผู้ป่วยโควิดคือห้ามไม่ให้บุคคลอื่นมาเยี่ยมที่บ้านระหว่างกักตัว อยู่ในห้องส่วนตัวตลอดเวลา หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับบุคคลอื่นในที่พักอาศัยโดยเฉพาะผู้สูงอายุและเด็ก

พญ.นฤมล ยังกล่าวอีกว่า การใช้ห้องน้ำเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากโควิดติดทางสารคัดหลั่ง หากจำเป็นต้องใช้ห้องน้ำร่วมกันหรือมีในบ้านมีห้องน้ำห้องเดียวก็ให้ใช้เป็นคนสุดท้าย ปิดฝาชักโครกก่อนกดน้ำ ทำความสะอาดโถสุขภัณฑ์หรือพื้นที่ในบ้าน ไม่รับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น แยกซักเสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ฯลฯ ด้วยน้ำและสบู่หรือผงซักฟอก โดยคำแนะนำเหล่านี้จะมีรายละเอียดแจกให้กับผู้ป่วย
 
"ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ว่าผู้ป่วยจะปลอดภัยหรือไม่ถ้าจะรักษาตัวอยู่ที่บ้าน พิจารณาจากเกณฑ์เป็นผู้ติดเชื้อที่สบายดีหรือไม่มีอาการ มีอายุน้อยกว่า 60 ปี อยู่คนเดียว หรือมีผู้อยู่ร่วมที่พักไม่เกิน 1 คน สามารถแยกห้องกันได้ ไม่มีภาวะอ้วน และยินยอมที่จะแยกตัวในที่พักของตนเอง" พญ.นฤมล
 
ด้านการดำเนินการของโรงพยาบาล พญ.นฤมล กล่าวว่า จะมีการประเมินความเหมาะสมสำหรับผู้ติดเชื้อ ลงทะเบียนผู้ติดเชื้อ ติดตามประเมินอาการผู้ติดเชื้อระหว่างแยกกักตัวที่บ้าน ให้ผู้ป่วยวัดอุณหภูมิและ Oxygen saturation แล้วแจ้งทางโรงพยาบาลทุกวันผ่านระบบสท่อสารที่เหมาะสม เมื่อผู้ติดเชื้อมีอาการมากขึ้นให้มีระบบรับ-ส่งต่อผู้ป่วยไปโรงพยาบาล
 

แนวทางการปฏิบัติ

ด้านพญ.ปิยะธิดา หาญสมบูรณ์ ที่ปรึกษากรมการแพทย์ กล่าวถึงการนำทฤษฎีสู่การปฏิบัติว่า เมื่อได้รับข้อมูลผู้ป่วยที่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจาก Call center 1668 ทาง Call center ก็จะแจ้งไปยังโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ โรงพยาบาลก็จะติดต่อกับคนไข้ ส่งยา อาหาร อุปกรณ์ทางการแพทย์ หน้าที่ของคนไข้คือต้องรายงานค่าออกซิเจนที่ปลายนิ้วและอุณหภูมิ 2 ครั้งต่อวัน ซึ่งพยาบาลที่ดูแลจะทำการวีดีโอคอลกับคนไข้ ในกรณีที่ฉุกเฉินก็จะมีสายด่วนถึงแพทย์พยาบาลเพื่อนำคนไข้เข้าสู่การรักษาที่โรงพยาบาลได้ โดยกรมการแพทย์ได้ทำโครงการนำร่องไปที่โรงพยาบาลราชวิถีไปแล้ว 18 ราย ประมาณ 2 เดือน
 

สปสช.จ่ายชดเชย

"ผู้ป่วยนอนอยู่ที่บ้านสามารถเบิกยายาฟาวิพิราเวียร์ได้ สปสช.ให้แอดมิทเป็นผู้ป่วยใน สนับสนุนเงินค่าคนไข้รวมทั้งค่าอาหาร 1,000 บาทต่อวัน ให้ค่าอุปกรณ์ 2 ชิ้นปรอทวัดไข้ไม่เกิน 1,100 บาทต่อวัน ถ้ามีเอกซเรย์ก็มีอีก 100 บาท ค่ายาต่างหากถ้าเป็นยาไวรัสไม่เกิน 7,200 บาท ในกทม.ได้ค่ารถพร้อมค่าทำความสะอาด 500 บาท รวมแล้ว 4,200 บาท

ขณะนี้ผู้ป่วยที่กำลังรอเตียงแจ้งความประสงค์ได้ที่ 1668 ร่วมโครงการ Home isolation

มี 6 โรงพยาบาลในสังกัด สปสช.ที่เข้าร่วมได้แก่ โรงพยาบาลราชวิถี, เลิดสิน, สถาบันทรวงอกแห่งชาติ , นพรัตน์ ,เมตตาประชารักษ์ และสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ส่วนโรงพยาบาลอื่นๆนั้นเนื่องจากโครงการนี้เพิ่งเริ่มเปิดตัวได้เพียง 2 วัน อาจจะต้องมีการเตรียมการ โดยคงต้องรออีกสักพัก" พญ.ปิยะธิดา กล่าว

ชมวิดีโอการบรรยาย



Hfocus
2 กค 64

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด