นพ.โรจนศักดิ์ เสนอว่า มี 2 ปัจจัยหลักที่จะช่วยแก้ไขสถานการณ์ ได้ คือ ศูนยักักตัวชุมชน (Community Isolation - CI) และ การฉีดวัคซีน โดยท่านระบุรายละเอียดดังนี้
1. เนื่องจาก สถานการณ์ที่การรองรับ ผู้ป่วยล้ม เราต้อง ขยายพื้นที่รักษาในชุมชนที่เรียกว่า CI ปัญหาเรื่องเงิน ทางท้องถิ่น บอกว่าเป็นเรื่องรอง เรื่องหลักคือ "ชุมชน ต่อต้าน ไม่ให้ตั้ง"
ข้อดี หากมี CI ในตำบลท่านคือ
- จะมีพื้นที่รักษาใกล้บ้าน ทีมแพทย์จะ set ระบบ เอกซเรย์/การให้ยาฟาวิพิราเวีย และ ทางองค์กรท้องถิ่นจะจัดที่นอนหมอนมุ้ง อาหาร 3 มื้อให้ท่าน ผมบอกเลยนะ ดีกว่านอน รพ เพราะตอนนี้ สภาพในนั้น "เศร้า และ หดหู่มาก"
- เป็นผลดีต่อการควบคุมโรค เพราะ หากเรา แยกผู้ป่วย ออกจากคนปกติ วงจรการระบาดจะจบลง
- คุณภาพการรักษาใน รพ จะดีขึ้น เพราะไม่ต้องรับ ผู้ป่วยเบา เอาแต่ผู้ป่วยหนัก จะได้ เบาแรง จนท. แพทย์ พยาบาล
ฝากทุกท่าน "ช่วยกันสนับสนุน CI ครับ"
2. เรื่องวัคซีน ถ้าวัคซีนมา จะลดอัตราตายครับ "แต่" จะไม่เกิด ภูมิคุ้มกันหมู่ เพราะ เรามีแรงงานต่างด้าว มากกว่า 1 แสนราย ดังนั้น… เราต้องเลือก การฉีดวัคซีน ให้กลุ่มเสี่ยง ต่อมา ก็กลุ่มปกติ
คนกลัววัคซีน
ทีมประชาสัมพันธ์วัคซีนพบปัญหา "คนกลัววัคซีน" … บอกเลยครับ โควิด น่ากลัวกว่าเยอะ ฉีดวัคซีน โอกาสเสียชีวิต 1 ต่อล้าน, ส่วน ติดโควิด เสียชีวิต 1 ต่อร้อย
"ความเห็นส่วนตัวของผม" ประมาณการว่า การระบาด จะถึงจุดสูงสุด น่าจะปลายเดือนนี้ - ต้นเดือนหน้า
ผมคาดเดาจาก การระบาดในอินเดีย ในสายพันธ์เดียวกัน ใช้เวลา 3 เดือน จะจบ
เราเริ่มระบาดปลาย มิย ก็น่าจะจบ ต้น ตค 64
Game changer คือ Vaccine ครับ
นพ โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ
มูลนิธิโรงพยาบาลแม่สอด
14 สิงหาคม 2564