กรุงเทพฯ เมืองน่าเที่ยว ที่ (ยังไม่ค่อย) น่าอยู่ กรุงจากการจัดอันดับ เมืองน่าเที่ยว หลากหลายสํานัก กรุงเทพมหานครมักติดอันดับต้นๆ ของเมืองน่าเที่ยว ที่ใครๆ ก็อยากมาเยี่ยมเยือน เพราะเสน่ห์ของแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย มีอาหารอร่อยทุกระดับราคา ค่า ครองชีพในการท่องเที่ยวที่สมเหตุสมผล และที่สําคัญผู้คนเป็นมิตร
ในทางกลับกัน การจัดอันดับ เมืองน่าอยู่ กรุงเทพฯ กลับอยู่รั้งท้าย นั่นเป็นเพราะปัญหาที่หลากหลายในเชิง โครงสร้าง ทั้งความเหลื่อมลํ้า โครงสร้างพื้นฐานที่ไม่ตอบโจทย์การใช้ชีวิต ปัญหาคุณภาพอากาศ พื้นที่สีเขียว และพื้นที่สาธารณะไม่เพียงพอ ตลอดจนความท้าทายที่เมืองกําลังเผชิญ ทั้งการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ไปจนถึง การเปลี่ยนแปลงของเมืองที่ขาดฐานรากทางวัฒนธรรม
เพราะการเป็นเมืองน่าเที่ยวเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถทําให้เมืองแข็งแรงและอยู่รอดท่ามกลางความท้าทาย ในโลกยุคปัจจุบันได้ ความน่าอยู ่ของเมืองจึงเป็นหัวใจสําคัญที่จะทําให้เมืองเดินไปพร้อมกับผู้คนของเมืองได้ อย่างสมดุลและยั่งยืน
ความน่าอยู่ ของเมืองวัดจากประสบการณ์ของผู้ใช้งานเมืองในการใช้ชีวิตประจําวัน ทั้งประสบการณ์ในเชิง กายภาพ จิตใจ และสังคม ซึ่งจะต้องสอดประสานกันอย่างสมดุล ตั้งแต่มีสภาพแวดล้อมที่ตอบโจทย์การใช้ ชีวิตในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ส่วนตัว ไปจนถึงพื้นที่สาธารณะ ตั้งแต่พื้นที่บ้าน ชุมชน ละแวกบ้าน ย่านและ เมือง ตลอดจนมีสินค้า บริการ กิจกรรมที่ตอบทุกความต้องการ และส่งเสริมการเชื่อมโยงผู้คนเข้ากับสงต่างๆ รอบตัว ทั้งวัฒนธรรมท้องถนของเมือง และสงแวดล้อม ไปจนถึงเชื่อมโยงผู้คนหลากหลาย ให้ได้เป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน นํามาสู่การแลกเปลี่ยน ร่วมกันคิดและลงมือทํา
Bangkok Design Week 2024 (BKKDW2024) จึงทําหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มทางความคิดและการสร้าง ประสบการณ์ใหม่ ๆ ผ่านเมือง (Festivalisation) ชวนทุกคนมาลงมือสร้าง Livable Scape ในทุกรูปแบบที่ จะเป็นไปได้ ไม่ว่าจะเป็นสงเล็ก ๆ รอบตัว ความสัมพันธ์ พื้นที่ สภาพแวดล้อม และมุมมอง ที่จะทําให้ กรุงเทพมหานครเป็น เมืองที่น่าอยู่ กว่าที่เคย ผ่านหัวใจสําคัญ 3 มิติ Hard Matters เมืองดีต่อกาย กายภาพดี เข้าถึงง่าย เชื่อมโยงผู้คน ให้อยู่สบาย มีสุขภาพดี Heart Matters เมืองดีต่อใจ ใส่ใจผู้คน กิจกรรมหลากหลาย วัฒนธรรมแข็งแรง Design Matters เมืองออกแบบดี ชีวิตดี หัวใจในการพัฒนาพื้นที่ ชุมชน และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ลงมือเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้เป็นเมือง น่าอยู่ น่าลงทุน และ น่าเที่ยว ที่ น่ารัก กับทั้งผู้คนในเมือง นักลงทุน และผู้มาเยี่ยมเยือน โดยที่ไม่ได้อยู่แค่ในทฤษฎี แต่ลงมือทําได้จริง ไม่ว่าใครก็เรมต้นทําได้ เพราะคนยงทํา เมืองยงน่าอยู่ ชีวิตยงดี
เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567 หรือ Bangkok Design Week 2024 (BKKDW2024) จัดขึ้นเป็น ครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 27 มกราคม - 4 กุมภาพันธ์ 2567 ภายใต้ธีม Livable Scape คนยงทํา เมืองยงดี โดย จะจัดขึ้นในพื้นที่ย่านต่างๆ ในกรุงเทพฯ อาทิ เจริญกรุง-ตลาดน้อย, สามย่าน-สยาม, อารีย์-ประดิพัทธ์, พระนคร, พร้อมพงษ์ และพื้นที่อื่นๆ ผ่าน 6 โปรแกรมหลัก ประกอบด้วย
1. Exhibitor Program
นําเสนอผลงานออกแบบในสาขาที่หลากหลายที่แก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ต่อยอดนําไปใช้ได้จริง — Special Project: HACK BKK โจทย์จริงที่ท้าทายความสามารถนักออกแบบร่วมกันให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงโดยมีผู้คนเป็นศูนย์กลาง — นําเสนอผลงานออกแบบและงานสร้างสรรค์ ในโปรแกรมหลากรูปแบบที่กลมกลืนไปกับบริบทเมือง Exhibition/ Talk/ Workshop
2. Academic Program
ส่งเสริมการแสดงศักยภาพของนักศึกษา และเตรียมพร้อมการก้าวสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์อย่างเต็มตัว — Special Project โปรเจ็กต์พิเศษประจําปี เพื่อสร้างโอกาสการทํางานร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษา นัก ออกแบบ หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรเอกชน โดยทุกฝ่ายมีโจทย์การทํางานร่วมกัน — Volunteer อาสาสมัครช่วยปฏิบัติงานภาคสนาม เพื่อส่งเสริมให้นิสิต-นักศึกษาได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีม ทํางานเทศกาลฯ เพื่อเรียนรู้วิธีการทํางานและฝึกประสบการณ์การทํางานจริงในการจัดเทศกาลฯ โดยมีลักษณะ งานที่หลากหลาย
3. Business Program
เชื ่อมโยงเครือข่ายธุรกิจควบคู่ไปกับการสร้างรายได้และการจ้างงานในรูปแบบต่างๆ — Partnership Program: CROSS Collab แพลตฟอร์มจับคู่การทํางาน ระหว่างหน่วยงานรัฐ เอกชน แบรนด์ต่างๆ และนักสร้างสรรค์ ที่ต่างมีความต้องการที่จะร่วมสร้างความน่าอยู่ น่าลงทุน น่าเที่ยว น่ารัก ให้กับ เมือง ธุรกิจและผู้คน ผ่านความคิดสร้างสรรค์ ในมิติใดก็ตาม — Creative Market & Promotion ตลาดนัดสร้างสรรค์ (ออนไซต์ และออนไลน์) และกิจกรรมส่งเสริมการขาย
4. International Program
สร้างเครือข่ายและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนักออกแบบไทยและต่างชาติ มุ่งเน้นให้เกิดการแลก เปลี่ยนความรู ้ ประสบการณ์และการเชื่อมต่อเพื่อขยายโอกาสให้อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทย — การแลกเปลี่ยนความร่วมมือการจัดแสดงงานระหว่างประเทศ — In residence โปรแกรมที่นักสร้างสรรค์ต่างชาติ ร่วมทํางานระหว่างชุมชนและนักสร้างสรรค์ท้องถน
5. Local Community Program
โครงการพัฒนาย่านที่เน้นการลงมือทําร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่มากขึ้น — Livable Proximity เมืองพอดีที่เอาใจใส่ : ดีไซน์ความใกล้ ใส่ใจสารทุกข์สุขดิบ — Health Alleys ตรอกซอย สุขภาวะดี / Sociable Public space พื้นที่สาธารณะสังสรรค์
6. Lively Program
สร้างความเคลื่อนไหว เติมเต็มบรรยากาศสร้างสรรค์ และเพมสีสันให้กับพื้นที่ ดึงดูดผู้คนให้เข้าถึงเท ศกาลฯ มากขึ้น — Music & Performing: Open Stage/ BKK Street Performer by BMA — Event: Tour/ Open House
เกี่ยวกับเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ
เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ หรือ Bangkok Design Week เป็นเทศกาลสําคัญที่ได้รับการบรรจุไว้ใน ปฏิทินกิจกรรมของกรุงเทพมหานคร และเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ รวมทั้งร่วม ผลักดันกรุงเทพมหานครให้เติบโตและโดดเด่นในฐานะเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ยูเนสโก (UNESCO Creative City Network) ในสาขาด้านการออกแบบ (Bangkok City of Design) อีกด้วย เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ ดําเนินการโดยสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ร่วมกับผู้ร่วมจัดงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา และองค์กรระหว่างประเทศกว่า 60 หน่วย งาน รวมถึงนักออกแบบและธุรกิจสร้างสรรค์กว่า 2,000 ราย โดยมียอดผู้เข้าชมงานทั้งไทยและต่างประเทศ รวมแล้วมากกว่า 400,000 คนในแต่ละปี เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ ไม่เพียงส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทย ทั้งในแง่ของการเป็นเวที แสดงผลงานของนักออกแบบและธุรกิจสร้างสรรค์ การกระตุ้นให้เกิดการแข่งขัน ตลอดจนการสร้างเครือข่าย ทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ แต่ยังส่งผลกระทบเชิงบวกที่ขยายผลสู่ธุรกิจแวดล้อมต่าง ๆ เช่น การตลาด การพิมพ์ สื่อออนไลน์ แกลเลอรี ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ธุรกิจของฝาก-ของที่ระลึก โลจิสติกส์ การท่องเที่ยว ที่พักโรงแรม บริการขนส่งมวลชน ฯลฯ
สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)
สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน): สศส. หรือ Creative Economy Agency (Public Organization): CEA จัดตั้งขึ้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2561 โดยการยกระดับ TCDC ขึ้นเป็นองค์การมหาชน ใน กํากับดูแลของสํานักนายกรัฐมนตรี ทําหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อให้ เป็นพลังขับเคลื่อนไปสู่เศรษฐกิจที่สมดุลและยั่งยืนในระยะยาว หนึ่งในภารกิจที่สําคัญของ CEA คือการสร้างย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นจริง โดยการส่งเสริมและ พัฒนาพื้นที่ที่เอื้อต่อบรรยากาศสร้างสรรค์และการเรมต้นธุรกิจใหม่ ตลอดจนมีความตั้งใจที่จะเชื่อมโยง สู่ชุมชนโดยรอบให้ใกล้ชิดมากยงขึ้น นอกจากนี้ CEA ยังทําหน้าที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ให้เติบโตจากการพัฒนาศักยภาพและเชื่อมโยง เครือข่าย เพื ่อให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือยกระดับธุรกิจและคุณภาพชีวิตของคนไทย