ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

การพัฒนาคุณภาพบริการด้วย Capstone Projects (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

การพัฒนาคุณภาพบริการด้วย Capstone Projects ผู้ช่วยศาสจราจารย์ ดร. พิกุล พรพิบูลย์ บรรยายแก่คณาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ จัดโดยคณะกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ณ ห้องประชุมปราณีต สวัสดิรักษา อาคาร 1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 28 มีนาคม 2560

 

Capstone Project
 

หมายถึง โครงการพัฒนาคุณภาพบริการเพื่อยกระดับผลลัพธ์ของการปฏิบัติ มีการสังเคราะห์หลักฐานเชิงประจักษ์และนำมาบูรณาการเข้ากับการปฏิบัติ เกิดการนเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติเพื่อทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นกว่าเดิม
 
 
วัตถุประสงค์ของ Capstone Project
 
1. เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติ หรือระบบบริการ  
2. เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อการดูแลสุขภาพทั้งในระดับหน่วยงาน องค์กร ท้องถิ่น หรือระดับชาติ
3. เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายด้านการดูแลสุขภาพ


 
ลักษณะของ Capstone Project
 
1. เป็นโครงการที่สร้างขึ้นจากความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากสั่งสมและมีการฝังตัวอยู่ในคลินิกหรือในการปฏิบัติอย่างมายาวนาน
2. มีการสังเคราะห์หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อให้ทราบถึงโอกาสในการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติและผลลัพธ์ที่ดีขึ้นกว่าเดิม
3. มีการวางแผนเพื่อปรับปรุงการปฏิบัติที่ชัดเจน


 
รูปแบบของ Capstone Project
 
1. เป็นโครงการประเมินผลการปฏิบัติ (Practice Evaluation)
2. เป็นโครงการประเมินผลโปรแกรม (Program Evaluation) หรือแนวปฏิบัติ (CPGs)
3. เป็นโครงการพัฒนาคุณภาพบริการในกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
4. เป็นโครงการประเมินผลลัพธ์ของรูปแบบบริการ
5. เป็นโครงการพัฒนาสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายในชุมชน เช่น รูปแบบการป้องกันโรค การใช้ทรัพยากรในชุมชนเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของชุมชน
6. เป็นโครงการเกี่ยวกับกรณีศึกษาในกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อให้เกิดรูปแบบบริการที่เหมาะสมและได้ผลดี
7. เป็นโครงการทดสอบการนำรูปแบบบริการใหม่ๆ ไปใช้เพื่อยกระดับผลลัพธ์ของบริการ
 
 
 
 
สรุปว่า Capstone Project
 
เป็นโครงการที่แสดงถึงประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของผู้จัดทำในการปฏิบัติทางคลินิก ในกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ที่มีความลุ่มลึกในการมองปัญหาของการปฏิบัติ และแนวทางแก้ไข
เป็นโครงการที่ใช้ผลการวิจัยหรือหลักฐานเชิงประจักษ์มาแก้ไขปัญหาการปฏิบัติ เป็น Research utilization / EBP projects  ไม่ใช่โครงการวิจัยที่เป็น Primary research
 
 
ผลกระทบของ Capstone Project
 
คือการเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติในการบริการหรือการดูแลสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย
เน้นผลที่เกิดขึ้นกับ setting ที่ทำโครงการ หรือในกลุ่มเป้าหมายของโครงการ มากกว่าเน้นการนำผลไปใช้ได้ทั่วไป (ให้ความสำคัญกับ internal validity มากกว่า generalizability หรือ external validity)
 
การมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงของทีมงาน ทีมผู้ดูแล ทีมสหสาขาวิชาชีพ
ผลกระทบที่จะตามมาหลังปิดโครงการ (impacts) คือ 
financial impacts 
administration impacts 
policy impacts
 
 
 
 
ศาสตร์ของ Capstone Project
 
เป็น ศาสตร์ที่ว่าด้วยกระบวนและผลลัพธ์ของการนำความรู้หรือหลักฐานเชิงประจักษ์ไปสู่การปฏิบัติ หรือทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เรียกว่า Implementation Science ซึ่งเป็นรูปแบบหนึงของการวิจัยประยุกต์ (Applied research) 
เป็นศาสตร์ของการใช้ความรู้ ไม่ใช่สร้างความรู้ใหม่
 
Implementation Science is the study of methods, interventions, and variables that promote the uptake and use of research findings and other EBPs by individuals and organizations to improve clinical and operational decision-making in health care with the goal of improving health care quality.
 
จึงเป็นการทำโครงการที่แตกต่างจากโครงการวิจัยทั่วไป คือเน้น เป็นโครงการใช้ผลการวิจัย
การดำเนินการใช้ระเบียบวิธีที่แตกต่างกันการวิจัยที่มุ่งทดสอบหรือสร้างความรู้ใหม่  
ไม่เน้นการควบคุมตัวแปรรบกวนในทางปฏิบัติ แต่เน้นการหากลยุทธ์ให้เกิดการปฏิบัติให้มากที่สุด 
การดำเนินการกับผู้ป่วยแต่ละคนอาจไม่เหมือนกันเพียงแต่ใช้แนวปฏิบัติเดียวกัน
 
 
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด