ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ไข้กาฬหลังแอ่น พบไม่บ่อยแต่อันตรายถึงชีวิต

ไข้กาฬหลังแอ่น พบไม่บ่อยแต่อันตรายถึงชีวิต

โรคไข้กาฬหลังแอ่น

โรคไข้กาฬหลังแอ่น  เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ  Neisseria  meningitidis  ปกติเราพบเชื้อนี้ในคอโดยไม่เกิดโรค  เป็นโรคที่พบไม่บ่อยแต่อันตรายถึงชีวิต  การติดเชื้อมีได้ 2 ลักษณะคือ

  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ  meningitis
  • โลหิตเป็นพิษ meningococcemia
    นอกจากเยื่อหุ้มสมองแล้ว  เชื้อนี้ยังสามารถทำให้เกิดโรคที่ ข้อ  ปอดบวม

การติดต่อ
เชื้อนี้จะติดต่อทางน้ำลายหรือเสมหะโดยการสูบบุหรี่ร่วมกัน  ดื่มน้ำแก้วเดียวกัน  จูบปากกัน  หรือผายปอดช่วยชีวิต

อาการของโรคไข้กาฬหลังแอ่น

ผื่นเป็นจุดแดง  เหมือนไข้เลือดออก  มักจะพบตามแขน ขา  ทดสอบเอาแก้วกดบนผื่น  ผื่นจะไม่จางหาย  ประกอบด้วย ไข้สูง ปวดศรีษะ คอแข็ง ผื่นตามตัว คลื่นไส้อาเจียน ซึมลง ผื่นจะมีลักษณะเป็นจุดแดง หรือดำคล้ำ บางที่เป็นตุ่มน้ำซึ่งมีเชื้ออยู่ภายในเนื่องจากโรคดำเนินเร็วมาก หากมีอาการดังกล่าว 2 อย่างขึ้นไปโดยเฉพาะผู้สัมผัสผู้ป่วยต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน

การวินิจฉัย

  • การตรวจเลือด  CBC  จะพบจำนวนเม็ดเลือดขาวสูง
  • การตรวจน้ำไขสันหลัง  จะพบเซลล์ในน้ำไขสันหลังสูง
  • การตรวจหาเชื้อจากเลือด  เช่นการเพาะเชื้อ  หรือการย้อมเชื้อจากตุ่มน้ำ  หรือเลือด

ภาวะแทรกซ้อน

  • หูหนวกพบได้ร้อยละ  10-20
  • โรคลมชัก
  • ข้ออักเสบ  พบได้บ่อยมักเป็นหลายๆข้อ
  • ปอดอักเสบ

การรักษา
ในรายที่สงสัยควรรีบให้การรักษาโดยเร็วไม่ควรรอจนเกิดผื่น  ยาที่ใช้คือ  penicillin

การป้องกัน
วัคซีนป้องกันโรค   และยาปฏิชีวนะสำหรับผู้สัมผัสโรค

ใครที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ

ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเหล่านี้จะมีโอกาสเป็นโรคไข้กาฬหลังแอ่น  คือ

  • ผู้ติดเชื้อทางเดินหายใจ
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • ผู้ที่สัมผัสกับโรค
  • ผู้ที่ท่องเที่ยวไปแหล่งระบาด
  • พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดโรคคือ   การสูบบุหรี่มวนเดียวกัน  การดื่มแก้วเดียวกัน  หรือการจูบปากกัน

เชื้อไข้กาฬหลังแอ่นทำให้เกิดโรคอะไร

เกิดจากเชื้อ  Neisseria  meningitides  ในประเทศไทยเป็น  sologroup A ,B  และ  อื่นๆคิดเป็นสัดส่วน 19.5% 53.7% และ26.8%ตามลำดับทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบซึ่งมีอัตราการตาย 13% และโลหิตเป็นพิษมีอัตราการตาย11% มักเกิดในอายุ3-12 เดือน

ใครควรได้วัคซีนป้องกันโรคกาฬหลังแอ่น

  • เด็กอายุมากกว่า 2 ขวบในขณะที่มีการระบาดของเชื้อ  เด็กอายุ3-18 เดือนในช่วงระบาดอาจฉีด 2 เข็มห่างกัน3 เดือน
  • เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการที่ต้องสัมผัสกับเชื้อ
  • บุคคลที่ๆจะไปถิ่นระบาด
    หลังฉีดจะมีภูมิคุ้มกันอยู่ไม่เกิน3 ปี  ภูมิจะเริ่มขึ้น7-10 วัน

ขนาดวัคซีนที่ให้

ให้  0.5ml  scที่  แขนหรือก้น  ไม่ควรให้วัคซีนในคนท้อง


การให้ยาปฏิชีวนะในผู้ที่สัมผัสโรค

ผู้ที่สัมผัสโรคได้แก่

  • สมาชิกในครอบครัวที่อยู่ด้วยกันเกิน25ชั่วโมงต่อสัปดาห์
  • เจ้าหน้าที่ที่ดูแล
  • ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดเช่น  จูบ  การเป่าปากช่วยชีวิต  การใช้ท่อช่วยหายใจ

ยาที่ให้มีอะไรบ้าง

  • Rifampicin   600mg  วันละ 2ครั้งป็นเวลา 2วัน  10มก./กก.สำหรับเด็กอายุ1-12ปี  5มก./กก.สำหรับเด็กอายุ3-11เดือน
  • Ciprofloxacin   500mgวันละครั้ง
  • Ceftriazone    250mg IM เป็นทางเลือกในกรณีที่ไม่สามารถใช้ Rifampicin
     
วัคซีนนี้ในประเทศไทยยังไม่ควรมีการใช้วัคซีนป้องกันไข้กาฬเนื่องจากวัคซีนปัจจุบันไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อชนิดที่มีอยู่เพราะวัคซีนที่มีอยู่ต่อต้านได้เฉพาะ serogroup A,C,Y W-135


ข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุข

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด