คลินิกโรคทั่วไป/ความดันโลหิต
บริการทำบัตรวันจันทร์ - ศุกร์
เวลา 8.00 - 11. 30 น. ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
ติดต่อห้องเวชระเบียน อาคาร 4 ชั้น 1
ขั้นตอนการรับบริการ
- เขียนประวัติในแบบฟอร์มผู้ป่วย (กรณีผู้ป่วยใหม่)
- หยิบบัตรคิวพร้อมบัตรศูนย์ฯ 3 บางซื่อ โดยแนบบัตรประชาชน
- ติดต่อพยาบาลเพื่อคัดกรองอาการ และรับใบคัดกรองอาการ
- คัดกรองชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ซักประวัติอาการก่อนเข้าพบแพทย์
- ลงบันทึกอาการในระบบ HCI
- รอเข้าพบแพทย์
- พบแพทย์
- ลงบันทึกผลการวินิจฉัย / รับใบนัด (ในกรณีนัดติดตามผล)
- รับยา / กลับบ้าน
หมายเหตุ กรุณาแสดงบัตรประชาชนทุกครั้งที่มาติดต่อศูนย์บริการสาธารณสุข 3 บางซื่อ
คลินิกวัณโรค Tuberculosis clinic
ให้บริการวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 8.00 น. - 11.30 น.
คุณหมอบัณฑิต ชุณสวัสดิกุล ให้บริการในวันพฤหัสบดี
ติดต่อห้องเวชระเบียน อาคาร 4 ชั้น 1
ขั้นตอนการให้บริการ
- หยิบบัตรคิวพร้อมบัตรศูนย์ฯ 3 บางซื่อ โดยแนบบัตรประชาชน
- ติดต่อพยาบาลเพื่อคัดกรองอาการ และรับใบคัดกรองอาการ
- คัดกรองชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ซักประวัติอาการก่อนเข้าพบแพทย์
- ลงบันทึกอาการในระบบ HCIS
- เข้าพบแพทย์
- ลงบันทึกผลการวินิจฉัย ส่งต่อคลินิกวัณโรค
- พยาบาลเตรียมผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรค พร้อมผลเสมหะ ฟิล์มเอ็กซเรย์ปอด ประวัติการรักษาจาก ร.พ. อื่น ๆ และกรอกประวัติลงในแผ่นประวัติวัณโรค (TB 01)
- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวัณโรคสั่งการรักษาและกำหนดสูตรยา
- พยาบาลลงบันทึกขึ้นทะเบียนผู้ป่วยวัณโรคในสมุดทะเบียน รบ.1ภ 04.พร้อมซักประวัติและให้คำแนะนำ การปฏิบัติตน การมารับประทานยา การปฏิบัติตนของผู้ป่วยวัณโรค
- กลับบ้านพร้อมบัตรนัด
หมายเหตุ กรุณาแสดงบัตรประชาชนทุกครั้งที่มาติดต่อศูนย์บริการสาธารณสุข 3 บางซื่อ
คลินิกบำบัดยาเสพติด
บริการวันจันทร์ – ศุกร์
ติดต่ออาคาร 1 ชั้น 2
ขั้นตอนการรับบริการคลินิกยาเสพติด
การบำบัดรักษาผู้เสพเมทแอมเฟตามีน (BMA Matrix Model) มีขั้นตอนการให้บริการ ดังนี้
- คัดกรองผู้เสพ/ผู้ติดสารเสพติด ประเมินอาการทางกาย จิต และทางสังคม หากพบผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตจะส่งต่อไปยังคลินิกสุขภาพจิต กรณีที่คัดกรองแล้วพบว่าเป็นผู้เสพ จะเข้าโปรแกรมผู้เสพ 8 สัปดาห์ เป็นผู้ติด 16 สัปดาห์
- ทำแฟ้มผู้ป่วย ให้ความรู้และจูงใจ ตรวจหาเชื้อเอชไอวี ตรวจสุขภาพเบื้องต้น เอ็กซเรย์ปอด ตรวจร่างกายโดยแพทย์ ตรวจสภาพจิตพร้อมทั้งทำแบบประเมินและทดสอบทางจิตวิทยา ทำแบบประเมินวินิจฉัยทางสังคม
- นัดมาทำกิจกรรมกลุ่มพร้อมตรวจปัสสาวะหาสารเสพติด สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง
การให้บริการรักษาผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีด (IDU CARE)
- ทำแฟ้มประวัติ ซักประวัติการใช้ยาและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ตรวจสุขภาพเบื้องต้น ตรวจร่างกาย ประเมินทางจิตวิทยา ประเมินวินิจฉัยทางสังคม และนัดหมายการให้การปรึกษาเดือนละ 1 ครั้ง
- กรณีกินยาเมทาโดน ต้องมากินยาทุกวัน วันละ 1 ครั้ง
การบำบัดรักษาผู้ติดบุหรี่
- คัดกรอง ทำแฟ้มประวัติ
- ตรวจสุขภาพร่างกาย วัดระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในปอด ประเมินความเครียดและอาการทางจิตวิทยาและสั่งการรักษาโดยแพทย์ นัดรับบริการครั้งต่อไปโดยส่งเข้าคลินิกเลิกบุหรี่ในวันพุธ 13.30 น.
- ดำเนินการบำบัดรักษาตามแผนการบำบัด มีการให้การปรึกษารายบุคคล กลุ่มบำบัด เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- ส่งต่อศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ (Quit line 1600)/ติดตามทางโทรศัพท์
การบำบัดรักษาผู้ใช้แอลกอฮอล์
- ซักประวัติ สัมภาษณ์ ประเมินปัญหาการดื่ม การประเมินสุขภาพและภาวะถอนพิษแอลกอฮอล์ ประเมินอาการทางกายและทางจิต
- ซักประวัติสุขภาพ ตรวจสุขภาพ แพทย์วินิจฉัยโรคพิจารณาให้การรักษาด้วยรูปแบบที่เหมาะสม
- นัดครั้งต่อไป กิจกรรมการบำบัดแบบสั้น หรือการรักษาด้วยจิตสังคมบำบัด ประเมินความสามารถในการดูแลตนเอง ความร่วมมือในการรักษา ความเสี่ยงต่าง ๆ แพทย์ประเมินผลข้างเคียงจากยา
เอกสารที่ใช้ในการรักษา
- บัตรประชาชน
- เยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ต้องมีผู้ปกครองมาด้วย
คลินิกสุขภาพจิต mental health clinic
ให้บริการในวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 8.00 น. - 11.30 น.
วันจันทร์ - วันพุธ คุณหมอฉวี สิงหวิสัย
วันพฤหัสบดี - วันศุกร์ คุณหมอวุฒิโชค พิทักษากร
ขั้นตอนการให้บริการ
1. ผู้รับบริการ
1.1 ทำประวัติ (ผู้ป่วยรายใหม่)
1.2 ผู้รับบริการมาไม่ตามนัดของแพทย์ (รายเก่า) ต้องไปเอาประวัติที่ห้องเวชระเบียน (อาคาร 4) แล้วนำประวัติมาที่คลินิกสุขภาพจิต
1.3 ผู้รับบริการมาตามนัดของแพทย์ (รายเก่า)
2. บันทึกการรักษาในระบบ HCIS พร้อมพิมพ์ใบสั่งยา
3. ผู้รับบริการวัดสัญญาชีพ (ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิตและชีพจร) ลงบันทึกในประวัติการรักษา
4. รอพบนักสังคมสงเคราะห์จิตเวช ทำการสัมภาษณ์หรือซักประวัติแรกรับ โดยบันทึกลงในแฟ้มประวัติ
5. ส่งให้แพทย์ตรวจ วินิจฉัยและสั่งการบำบัดรักษา ให้คำปรึกษาแนะนำ โดยพิจารณาบันทึกรายงานการเยี่ยมบ้าน หรือบันทึกแบบทดสอบทางจิตวิทยาร่วมด้วย
6. ในกรณีที่ต้องทำการทดสอบทางจิตวิทยารายใหม่ ส่งต่อนักจิตวิทยาคลินิก นักจิตวิทยาประเมินปัจจัยทางจิตวิทยา ทำแบบทดสอบทางจิตวิทยา พร้อมลงบันทึกแบบทดสอบทางจิตวิทยา ให้คำปรึกษาแนะนำ หรือกระตุ้นพัฒนาการ
7. กระบวนการสั่งบำบัดรักษา เมื่อแพทย์สั่งการรักษา ผู้รับบริการนำใบสั่งยามาที่เจ้าหน้าที่ธุรการเพื่อนัดติตามผลการรักษา
8. ผู้รับบริการนำใบสั่งยา มารับยาที่ห้องจ่ายยา
8.1 รับยาที่ห้องจ่ายยา
8.2 กรณีที่ต้องฉีดยา นำยาที่ไดรับจากห้องจ่ายยาไปฉีดยาที่ห้องปฏิบัติการพยาบาล
หมายเหตุ กรุณาแสดงบัตรประชาชนทุกครั้งที่มาติดต่อศูนย์บริการสาธารณสุข 3 บางซื่อ
คลินิกรักปลอดภัย
ให้บริการวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.00 - 15.00 น.
ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
ติดต่อ อาคาร 2 ชั้น 1
ขั้นตอนการรับบริการ
- นำบัตรประชาชนมาทำบัตรเพื่อรับการตรวจที่เวชระเบียนทั้งผู้ป่วยใหม่และผู้ป่วยเก่า
- พยาบาลเตรียมตรวจจะชั่งน้ำหนัก วัดความดัน และซักประวัติอาการและอาการแสดงที่ท่านมาตรวจ
- เข้ารับบริการที่คลินิกรักปลอดภัย อาคาร 2 ชั้น 1 ซึ่งที่คลินิกรักปลอดภัยให้บริการตรวจรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ตามมาตรฐานการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ให้คำปรึกษาสุขภาพทางเพศ และให้คำปรึกษาเพื่อตรวจคัดกรองหาการติดเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิส แบบทราบผลในวันเดียว ที่คลินิกรักปลอดภัยท่านจะได้รับบริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (one stop service )
- รับยาที่ห้องจ่ายยา กลับบ้าน
หมายเหตุ กรุณาแสดงบัตรประชาชนทุกครั้งที่มาติดต่อศูนย์บริการสาธารณสุข 3 บางซื่อ
คลินิกทันตกรรม
บริการทำบัตรวันจันทร์ – ศุกร์
ทันตแพทย์หญิงวิลาสินี เสริมศรีสุวรรณ
ทันตแพทย์หญิงสุภาวดี มั่นไทรทอง
เวลา 8.00 - 11. 30 น. ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
ติดต่ออาคาร 4 ชั้น 1
ขั้นตอนการรับบริการ
- เขียนประวัติในแบบฟอร์มผู้ป่วย (กรณีผู้ป่วยใหม่)
- หยิบบัตรคิวพร้อมบัตรศูนย์ฯ 3 บางซื่อ โดยแนบบัตรประชาชน
- ซักประวัติอาการเบื้องต้นก่อนเข้าพบแพทย์
- วัดความดันโลหิต
- พบแพทย์ตรวจสุขภาพช่องปากอย่างละเอียด
- ให้การรักษาทางทันตกรรม
- รับยา (กรณีมียา) / กลับบ้าน
คลินิกสุขภาพเด็กดี well baby clinic
ให้บริการในวันอังคาร และวันพฤหัสบดี
เวลา 13.00 น. - 15.00 น.
ขั้นตอนการรับบริการ
- หยิบบัตรคิวพร้อมบัตรศูนย์ฯ / บัตรประชาชน
- ชั่งน้ำหนัก / วัดศีรษะ / วัดรอบอก
- ลงบันทึก HCIS
- ซักประวัติและคัดกรองวัคซีน
- ตรวจพัฒนาการ
- ตรวจช่องปากและฟัน
- ฉีดวัคซีนห้องเบอร์ 6
- ยื่นใบยาห้องยา / รับยากลับบ้าน
หมายเหตุ กรุณาแสดงบัตรประชาชนทุกครั้งที่มาติดต่อศูนย์บริการสาธารณสุข 3 บางซื่อ
คลินิกตรวจรักษาโรคเบาหวาน
ให้บริการในวันอังคาร และ วันพฤหัสบดี
เวลา 8.00 - 11.30 น. ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
ติดต่อห้องเวชระเบียน อาคาร 4 ชั้น 1
ขั้นตอนการรับบริการ
- เขียนประวัติในแบบฟอร์มผู้ป่วย (กรณีผู้ป่วยใหม่)
- หยิบบัตรคิวพร้อมบัตรศูนย์ฯ 3 บางซื่อ โดยแนบบัตรประชาชน
- ติดต่อพยาบาลเพื่อคัดกรองอาการ และรับใบคัดกรองอาการ
- คัดกรองชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ซักประวัติอาการก่อนเข้าพบแพทย์
- ลงบันทึกอาการในระบบ HCIS
- รอเข้าพบแพทย์
- พบแพทย์
- ลงบันทึกผลการวินิจฉัย / รับใบนัด (ในกรณีนัดติดตามผล)
- รับยา / กลับบ้าน
คลินิกฝากครรภ์
ให้บริการในทุกวันจันทร์
เวลา 13.00 - 15.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
ติดต่อห้องเวชระเบียน อาคาร 4 ชั้น 1
ขั้นตอนการรับบริการ
- หยิบบัตรคิวพร้อมบัตรศูนย์ฯ / บัตรประชาชน
- คัดกรองชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ( ซักประวัติอาการ / ตรวจปัสสาวะ )
- ลงบันทึกอาการในระบบ HCIS
- รอเข้าพบแพทย์ / พยาบาลวิชาชีพ
กรณีคนไข้รายใหม่ - ตรวจครรภ์เพื่อประเมินอายุครรภ์ / เจาะเลือด/ฉีดบาดทะยัก/ตรวจฟัน
กรณีคนไข้รายเก่า - ตรวจครรภ์ (ในกรณี28สัปดาห์) / ส่งตรวจ รพ. ตามสิทธิ์
- ลงบันทึกผลการวินิจฉัย / รับใบนัด
- รับยา / กลับบ้าน
คลินิกวางแผนครอบครัว family planning clinic
ให้บริการในทุกวันพุธ
เวลา 13.00 - 15.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
ติดต่อห้องเวชระเบียน อาคาร 4 ชั้น 1
ขั้นตอนการรับบริการ
- หยิบบัตรคิวพร้อมบัตรศูนย์ฯ / บัตรประชาชน
- ออกบัตรวางแผนครอบครัว / ชั่งน้ำหนัก / วัดความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะ
- คัดกรองและให้คำปรึกษา
- ลงบันทึกใน HCI
- กรณีฉีดยาคุม รับยาที่ห้องจ่ายยา ฉีดยาห้องเบอร์ 6
- กรณีตรวจมะเร็งปากมดลูก เข้ารับการตรวจห้องเบอร์ 5
- ออกใบนัด
- ลงบันทึกผลการตรวจใน HCIS
- ยื่นใบยาที่ห้องยา / กลับบ้าน
คลินิกตรวจรักษาโรคหัวใจ
ให้บริการในทุกวันพฤหัสบดี
เวลา 8.00 - 11. 30 น. ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
ติดต่อห้องเวชระเบียน อาคาร 4 ชั้น 1
ขั้นตอนการรับบริการ
- เขียนประวัติในแบบฟอร์มผู้ป่วย (กรณีผู้ป่วยใหม่)
- หยิบบัตรคิวพร้อมบัตรศูนย์ฯ 3 บางซื่อ โดยแนบบัตรประชาชน
- ติดต่อพยาบาลเพื่อคัดกรองอาการ และรับใบคัดกรองอาการ
- คัดกรองชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ซักประวัติอาการก่อนเข้าพบแพทย์
- ลงบันทึกอาการในระบบ HCIS
- รอเข้าพบแพทย์
- พบแพทย์
- ลงบันทึกผลการวินิจฉัย / รับใบนัด (ในกรณีนัดติดตามผล)
- รับยา / กลับบ้าน
งานกายภาพบำบัด
แบ่งออกเป็น งานในคลินิกตรวจโรคทั่วไป และ งานอนามัยชุมชน
เวลาทำการคลินิก ตรวจโรคทั่วไป
วันพุธ และศุกร์ : 8.00 – 16.00 น.
วันจันทร์ อังคาร และพฤหัสบดี : 13.00 – 16.00 น.
เวลาออกเยี่ยมในชุมชน
วันจันทร์ อังคาร และพฤหัสบดี : 9.00 – 12.00 น.
โรคหรือความผิดปกติที่สามารถส่งปรึกษานักกายภาพบำบัดได้ มีดังนี้
- ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น ปวดหลัง ปวดเข่า ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ข้อเท้าพลิก ไหล่ติด นิ้วล็อค และอื่นๆ
- ระบบประสาท เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต พาร์กินสัน กล้ามเนื้ออ่อนแรง และอื่นๆ
- ระบบหัวใจ ปอด และอื่นๆ เช่น หอบเหนื่อย ไอมีเสมหะ ผู้ป่วยหลังผ่าตัด
สอบถามข้อมูลได้ที่ 02-587-0618 ต่อ 4101
ขั้นตอนการให้บริการกายภาพบำบัดในคลินิกตรวจโรคทั่วไปและโรคความดันโลหิต มีดังนี้
- เขียนประวัติในแบบฟอร์มผู้ป่วย (กรณีผู้ป่วยใหม่)
- หยิบบัตรคิวพร้อมบัตรศูนย์ฯ 3 บางซื่อ โดยแนบบัตรประชาชน
- ติดต่อพยาบาลเพื่อคัดกรองอาการ และรับใบคัดกรองอาการ
- คัดกรองชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ซักประวัติอาการก่อนเข้าพบแพทย์
- ลงบันทึกอาการในระบบ HCIS
- รอเข้าพบแพทย์
- พบแพทย์
- ลงบันทึกผลการวินิจฉัย
พบนักกายภาพบำบัด มีขั้นตอน ดังต่อไปนี้
- ซักประวัติ
- ตรวจประเมิน
- วางแผนการรักษา
- รักษา
- ให้ความรู้
- Home program
- ตรวจประเมินซ้ำ
- นัดทำกายภาพบำบัดต่อ/กลับไปฝึกปฏิบัติตามคำแนะนำที่บ้าน
หมายเหตุ ส่งปรึกษาแพทย์ในกรณี
- ครบการรักษา 10 ครั้ง หรือตามแพทย์สั่ง / อาการดีขึ้น / ปรึกษาแพทย์พิจารณาจบโปรแกรม (Discharge from REHAB program)
- อาการไม่ดีขึ้น มีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ผู้ป่วยมีอาการซับซ้อน / มีความเสี่ยงในการรักษาทางกายภาพบำบัด
- หรือปรึกษาแพทย์เพื่อ พิจารณาหยุดการรักษาทางกายภาพบำบัด / เปลี่ยนไปรักษาด้วยวิธีอื่น / พิจารณาส่งต่อโรงพยาบาล
ขั้นตอนการให้บริการกายภาพบำบัดในชุมชน มีดังนี้
- รับการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาล คนในชุมชน อสส. หรือจากทีมเยี่ยมบ้านที่ลงสำรวจในชุมชน กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วยที่เป็นโรคหรือความผิดปกติที่ควรได้รับคำปรึกษาจากนักกายภาพบำบัด
- วางแผนการลงเยี่ยมบ้านกับทีมเยี่ยมบ้าน และโทรนัดผู้ป่วย/ญาติ เพื่อกำหนดวันลงเยี่ยม ให้บริการกายภาพบำบัดที่บ้านโดยลงเยี่ยมผู้ป่วยร่วมกับทีมสหวิชาชีพ
- นักกายภาพบำบัดมีบทบาทต่อผู้ป่วยในการส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูโรค/ความผิดปกติ ของผู้ป่วย ร่วมกับให้คำแนะนำและให้ความรู้ผู้ดูแลผู้ป่วย
- นักกายภาพบำบัดเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน อย่างน้อยเดือนละครั้ง หรือได้รับบริการภายใน 90 วัน เพื่อประเมินสภาวะผู้ป่วย ร่วมกับปรึกษาแนวทางการเยี่ยมหรือส่งต่อผู้ป่วยกับทีมสหวิชาชีพต่อไป
- การส่งต่อ เพื่อปรึกษาแพทย์ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการซับซ้อน หรืองส่งพบนักสังคมสงเคราะห์เพื่อแนะนำขึ้นทะเบียนผู้พิการในกรณีที่ความพิการหลงเหลือ
- *งานอื่นๆด้านชุมชน เช่น สอนออกกำลังกายแบบกลุ่ม ให้ความรู้และคำปรึกษากับผู้ป่วยเป็นรายคน/กลุ่ม ออกหน่วยคัดกรองสุขภาพโดยให้ความรู้ด้านการออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพ
คลินิกวัคซีนสัตว์เลี้ยง
ให้บริการทุกวันศุกร์
เวลา 13. 00 – 15.30 น. ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
ติดต่อ อาคาร 4 ชั้น 1
ขั้นตอนการรับบริการ
- นำสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข และแมว
- หยิบบัตรคิว
- ซักประวัติสัตว์เลี้ยง
- ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า
- ให้ความรู้โรคพิษสุนัขบ้าแก่ผู้ดูแลสัตว์เลี้ยง
- กลับบ้าน
สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน
### ปิดให้บริการ
เนื่องจากจะมีการก่อสร้างอาคารใหม่ ###จะแจ้งให้ทราบหากเปิดดำเนินการอีกครั้ง