ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สมุนไพร 3 ชนิด คือ กระเทียม ขิง กะเพรา

มารู้จักสมุนไพรคู่สังคมวัฒนธรรมและครัวไทยมานับนาน 3 ชนิด คือ กระเทียม ขิง และ กะเพรา

กระเทียม

ชื่อทั่วไป :กระเทียม
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Allium sativum Linn
วงศ์ : Alliaceae
ลักษณะของพืช:กระเทียมเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นใต้ดิน เรียกว่าหัว หัวมีกลีบย่อยหลายกลีบ ติดกันแน่น เนื้อสีขาว มีกลิ่นฉุนเฉพาะบางครั้ง ใน1หัวมีกลีบเดียว เรียกว่า กระเทียมโทน หัวค่อนข้างกลม ใบยาว แบน ปลายแหลม ภายในกลวง ดอกสีขาวอมเหลืองหรืออมชมพูม่วง ผลมีขนาดเล็ก
การปลูก:ใช้หัวปลูกกระเทียมชอบอากาศเย็น และดินร่วนซุย ปลูกได้ดีทางภาคเหนือของประเทศไทย นิยมแยกแปลงใช้หัวฝังดินเล็กน้อย เหมาะที่จะปลูกต้นฤดูหนาว
ส่วนที่ใช้เป็นยา :หัวใต้ดิน
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา :เก็บในช่วงที่หัวแก่อายุ100วันขึ้นไป
รสและสรรพคุณยาไทย :รสเผ็ดร้อน ใช้เป็นยาขับลมในลำไส้แก้กลากเกลื้อน แก้ไอ ขับเสมหะช่วยย่อยอาหาร
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ :สารเคมีในหัวกระเทียมคือน้ำมันหอมระเหยโดยทั่วไปมีน้ำมันหอมระเหยประมาณหก0.6-1มีสารเคมีที่มีกัมมะถันเป็นองค์ประกอบหลายชนิดตัวสำคัญคือ ‘อัลลิซิน’เป็นน้ำมันไม่มีสี ละลายน้ำได้ ในแอลกอฮอล์เบนซีน และอีเทอร์ ถ้ากลั่นโดยใช้ความร้อนโดยตรง จะถูกทำลาย‘อัลลิซิน’มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อราหลายชนิดด้วยกัน
วิธีใช้ :กระเทียมเป็นยารักษาอาการ ดังนี้ อาการท้องอืด ท้องเฟ้อแน่น จุกเสียด รับประทานกระเทียม สดๆ ครั้งละประมาณ5-7กลีบ หลังอาหารหรือรักษากลากเกลื้อน ฝานหัวกระเทียมเอามาถูเบาๆ


ขิง

ชื่อทั่วไป:ขิง
ชื่อทางวิทยาศาสตร์:Zingiber officinale Rosc
วงศ์:Zingiberaceae
ลักษณะของพืช:ขิงเป็นพืชล้มลุกมีแล่งใต้ดินแง่งจะแตกแขนงงอกมาคล้ายนิ้วมือ เนื้อในสีเหลืองแกมเขียว ลำต้นที่อยู่เหนือดินงอกจากแง่งตั้งตรง2-3ศอก ใบสีเขียว เรียวแคบ ปลายใบแหลม ดอกเป็นช่อขนาดเล็ก ก้านดอกสั้น ดอกสีเหลือง และจะบานจากโคนไปหาปลาย
การปลูก:ขิงชอบดินเหนียวปนทราย พื้นดินอุดมสมบูรณ์แต่ระบายน้ำได้ดี เวลาปลูกควรพรวนดินยกร่อง ใช้แง่งวางให้ด้านที่แตกหน่อตั้งขึ้น กบดินแล้วใช้ฟางคุมตลอด ถ้าต้องการให้ขิงแข็งแรง ต้องกลบโคนเมื่ออายุได้2-3เดือน ในช่วงมีฝนตกมากๆระวังโรคเน่าจากเชื้อรา
ส่วนที่ใช้เป็นยา:เหง้าแก่สด
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา:เก็บเกี่ยวในช่วงอายุ 11-12เดือน
รสและสรรพคุณยาไทย:รสเผ็ดร้อนหวานแก้ลมจุกเสียด แก้เสมหะ บำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียนอาเจียน
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์:เหง้าขิงมีน้ำมันหอมระเหย ประมาณร้อยละ0.2-3ทั้งนี้ ปริมาณเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับวิธีการปลูกและช่วงเวลาเก็บในน้ำมันมีสารเคมีหลายชนิดด้วยกันที่สำคัญมี Zingiberine , Zingiberol , Citral , Zingirolเป็นต้นนอกจากน้ำมันหอมระเหยยังมีสารที่ชื่อOleo-resinอยู่ในปริมาณสูง เป็นสารที่ทำให้ขิงมีรสเผ็ดและกลิ่นหอม
วิธีใช้:เหง้าขิงใช้เป็นยารักษาอาการต่างๆ ได้ดังนี้ อาการท้องเสีย ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด และอาการคลื่นไส้อาเจียน เนื่องจากธาตุไม่ปกติ เมารถเมาเรือ โดยใช้เหง้าแก่สดเท่าหัวแม่มือ (ประมาณ5กรัม) ทุบให้แตกต้มเอาน้ำมาดื่มได้ อาการไอ มีเสมหะให้ฝนเหง้าขิงกับน้ำมะนาว หรือใช้เหง้าสดโขลก ผสมกับน้ำเล็กน้อย คั้นเอาน้ำและใส่เกลือลงไปเล็กน้อย ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ


กะเพรา

ชื่อทั่วไป :กะเพรา
ชื่อทางวิทยาศาสตร์:Ocimun sanctum Linn
วงศ์: Labiatae
ลักษณะของพืชเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก โคนต้นที่แก่จะเป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นและใบมีขนอ่อนใบมีกลิ่นหอมฉุน รูปร่างรี ปลายใบและโคนใบแหลมมน หรือเล็กน้อย ขอบใบหยัก ดอกใบหยัก ดอกออกเป็นช่อ ดอกย้อยออกนอกแกนกลาง เป็นชั้นๆ กะเพราปลูกเป็นพืชสวนครัว มีทั้งกะเพราขาวและกะเพราแดง
การปลูก :นิยมปลูกโดยการเพาะเมล็ดมากกว่าอย่างอื่น กะเพราชอบดินร่วนซุย ปลูกขึ้นง่ายในดินแทบทุกชนิด จะใช้เมล็ดโรยลงพื้นดิน หรือแปลงที่จะปลูกก็ได้ทั้งนั้น ควรปลูกในหน้าฝน
ส่วนที่ใช้เป็นยาใบสดหรือใบแห้ง
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา:เก็บใบที่สมบูรณ์เต็มที่ ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป
รสและสรรพคุณยาไทย :รสเผ็ดร้อน แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น จุกเสียดแน่นท้อง ใช้แต่กลิ่นรสได้ดี
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ :ใบกะเพรามีสารสำคัญก็คือน้ำมันหอมระเหยประมาณร้อยละ0.35ประกอบด้วยสารเคมี หลายชนิดด้วยกัน เช่น Atigenin , Ocimol , Phenols, Chavibetol , Linaloolฯล ใบกะเพรามีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และช่วยขับลม
วิธีใช้ :ใบกะเพราะแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียดและปวดท้อง โดยใช้ใบและยอดกะเพราะ 1กำมือ ต้มเอาน้ำดื่ม หรือเอามาปรุงอาหารรับประทานก็ได้

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด