ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

50 ปี กทม.กับเป้าหมาย Green Bangkok 2030

50 ปี กทม.กับเป้าหมาย Green Bangkok 2030 HealthServ.net
50 ปี กทม.กับเป้าหมาย Green Bangkok 2030 ThumbMobile HealthServ.net

นับตั้งแต่ก่อตั้งหน่วยงาน กรุงเทพมหานคร จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2565) เป็นเวลาเกือบ 50 ปี ที่ผู้บริหาร ข้าราชการ และพนักงานทุกคน มุ่งมั่น ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ที่จะพัฒนากรุงเทพฯ อย่างไม่หยุดนิ่งเพื่อมุ่งสร้างมหานครที่มีความเป็นเลิศในทุกด้าน ทั้งในการเป็น "บ้าน" ที่สวยงามพรั่งพร้อม สะดวกสบาย ปลอดภัย น่าอยู่อาศัยเป็น "เมือง" เปี่ยมเสน่ห์ หลากสีสัน รุ่มรวยด้วยวัฒนธรรม ที่ผู้มาเยือนต่างประทับใจและอยากกลับมาอีกครั้ง เป็นจุดหมายปลายทางของผู้คนจากทั่วทุกมุมโลก และเป็น "มหานครเอก" ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีศักยภาพและความพร้อมทั้งในด้านการใช้ชีวิต การลงทุนทำธุรกิจ และการท่องเที่ยว มีขีดความสามารถที่แข่งขันกับนานาชาติได้ในเวทีระตับโลกและที่สำคัญที่สุด ตือ เป็นมหานครที่ไม่ว่าใครก็สามารถใช้ชีวิตอยู่ในมหานครแห่งนี้ได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข มีโอกาส มีความเสมอภาคและเท่าเทียม เป็น "มหานครน่าอยู่อย่างยั่งยืน" ที่ ทุกคนมีส่วนร่วมสร้างและดูแล เพราะที่นี่คือ "มหานครของทุกคน"

50 ปี กทม.กับเป้าหมาย Green Bangkok 2030 HealthServ
 
 
หนึ่งในดัชนีชี้วัด "ความน่าอยู่" ของเมืองและ "คุณภาพชีวิต" ของคนในเมือง คือ "การมีสิ่งแวดล้อมที่ดี" กรุงเทพมหานครจึงมุ่งมั่นเดินหน้าพัฒนากรุงเทพฯ ให้เป็น "มหานครแห่งสิ่งแวดล้อม" ด้วยการคืนธรรมชาติสู่วิถีเมือง สร้างเมืองสะอาด อากาศสดชื่น มีพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้คนกรุงเทพฯ มีวิถีชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ อยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ดี ทัศนียภาพที่สวยงาม ร่มรื่น เป็นระเบียบเรียบร้อยสะอาดตา น่าอยู่อาศัย น่าใช้ชีวิต ควบคู่ไปกับการรณรงค์ให้คนกรุงเทพฯ ร่วมมือร่วมใจกัน ลดภาวะโลกร้อน ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดการใช้พลังงาน ลดปริมาณขยะ ส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อร่วมกันผลักดันกรุงเทพฯ ให้เป็นมหานครสิ่งแวดล้อมดีอย่างยั่งยืน
 
 
50 ปี กทม.กับเป้าหมาย Green Bangkok 2030 HealthServ


 

เพิ่มพื้นที่สีเขียว เติมความสุดชื่นให้มหานคร

คนกรุงเทพฯ ก็ไม่ต่างจากคนในมหานครใหญ่ทั่วโลก คือ ต้องทำงานหนัก เคร่งเครียด จากภาระหน้าที่การงานและการใช้ชีวิต ต้องผจญกับมลภาวะ โอกาสที่จะได้สัมผัสหรือใกล้ชิดกับธรรมชาติก็มีน้อย กรุงเทพมหานครจึงพยายามเพิ่มเติมความสดชื่น คืนธรรมชาติสู่วิถีชีวิตคนกรุงเทพฯ ด้วยการเพิ่ม "พื้นที่สีเขียว" ให้ครอบคลุมทั่วถึงทุกมุมเมือง ตั้งแต่การสร้างสวนหย่อมขนาดเล็ก สวนป่า สวนสุขภาพชุมชนไปจนถึงสวนสาธารณะขนาดใหญ่ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ เช่น ริมสองฝั่งถนน ฟุตบาท เกาะกลางถนน บริเวณป้ายรถประจำทาง พื้นที่ใต้แนวรถไฟฟ้า ฯลฯ ซึ่งไม่เพียงเพิ่มความร่มน มีชีวิตชีวา สร้างความน่าอยู่ให้แก่เมืองเท่านั้น แต่ยังสร้างทัศนียภาพที่สวยงาม และเพิ่ม "พื้นที่สำหรับทำกิจกรรม" ให้คนกรุงเทพฯ ได้มีมุมสงบสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ มีช่วงเวลาที่รื่นรมย์และผ่อนคลายเสริมพลังกาย เติมพลังใจ เพิ่มพลังชีวิต และเชื่อมกระชับความสัมพันธ์ของคนเมืองให้ยิ่งใกล้ชิดแนบแน่นขึ้นอีกด้วย 
 
และเพื่อให้การเพิ่มพื้นที่สีเขียวมีนโยบายและเป้าหมายที่ชัดเจน กรุงเทพมหานครจึงได้ริเริ่มโดรงการ Green Bangkok 2030 ขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2562 ซึ่งมีเป้าหมายหลักๆ คือ
 

"เป้าหมาย GREEN BANGKOK 2030" 

เป้าหมาย GREEN BANGKOK 2030

เพิ่มพื้นที่สีเขียว
ปี 2573 10 ตารางเมตร/คน
ปัจจุบัน 7.58 ตารางเมตร/คน
 
เพิ่มพื้นที่สาธารณะ เข้าถึงได้ภายใน 5 นาที หรือระยะ 400 เมตร
ปี 2573 มากกว่า 50%
ปัจจุบัน 13%
 
เพิ่มพื้นที่ร่มไม้ (Urban Tree Canopy) ต่อพื้นที่เมือง
ปี 2573 มากกว่า 30%
ปัจจุบัน 14%
 
  
ปัจจุบัน กรุงเทพมหานครมีสวนสาธารณะและพื้นที่สีเขียวอื่นๆ รวมกว่า 8,900 แห่ง คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 26,158 ไร่ แบ่งเป็น
 
สวนสาธารณะหลัก 39 แห่ง
 
สวนสาธารณะรอง 68 แห่ง
 
คิดเป็น 7.58 ตารางเมตร/คน
 
ซึ่งยังน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดให้แต่ละเมืองควรมีพื้นที่สีเขียวอย่างน้อย 9 ตารางเมตร/คน  
 
กรุงเทพมหานครจึงยังคงเดินหน้าเพิ่มพื้นที่สีเขียวอย่างต่อเนื่อง 

สวนสาธารณะหลักในกรุงเทพมหานคร LINK

สวนสาธารณะหลักในกรุงเทพมหานคร 50 ปี กทม.กับเป้าหมาย Green Bangkok 2030
สวนสาธารณะหลักในกรุงเทพมหานคร 50 ปี กทม.กับเป้าหมาย Green Bangkok 2030
 ปัจจุบันกรุงเทพมหานคร มีสวนสาธารณะหลัก 39 แห่ง และสวนสาธารณะรอง 68 แห่ง

โครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ ตามนโยบาย เพิ่มพื้นที่สีเขียว

โครงการและนโยบายสำคัญที่อยู่ระหว่างการดำเนินการและกำลังจะดำเนินการ
 
1. เพิ่มพื้นที่สาธารณะที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวกสบายด้วยการเดินภายใน 15 นาที หรือระยะประมาณ 800 เมตร กระจายอยู่ทั่วกรุงเทพฯ โดยไม่ต้องใช้พื้นที่มาก แต่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง 
 
2. จัดการดูแลต้นไม้อย่างถูกวิธีและเป็นระบบ โดยจัดหารุกขกรมืออาชีพดูแลต้นไม้ประจำเขต จัดทำทะเบียนต้นไม้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งสำรวจและประเมินสุขภาพต้นไม้เป็นประจำ เพื่อวางแผนดูแลต้นไม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
 
3. ปลูกต้นไม้ล้านต้น เสริมร่มเงา เพิ่มพื้นที่สีเขียว ลดฝุ่นและมลพิษ โดยประชาชนมีส่วนร่วม 

ทุกคนสามารถร่วมเพิ่มพื้นที่สีเขียวกับ กรุงเทพมหานครได้

1. ช่วยกันปลูกต้นไม้ในพื้นที่ของตน
2. ช่วยกันเป็นหูเป็นตาสอดส่องดูแลต้นไม้ในพื้นที่สาธารณะ
3. แนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับจัด ทำสวนสาธารณะให้แก่กรุงเทพมหานคร
4. หน่วยงานหรือประชาชนเจ้าของที่ หากมีพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ สามารถนำมาให้กรุงเทพมหานครพิจารณาความเหมาะสมเพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณะต่อไปได้ 

ดูแลควบคุมมลพิษเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนกรุงเทพ

มลภาวะทางอากาศและเสียงเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมสำคัญที่มหานครใหญ่ในหลายประเทศทั่วโลกต้องประสบ เช่นเดียวกับกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ การขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรม และการเพิ่มขึ้นของยานพาหนะ ซึ่งส่งผลให้เกิดมลพิษทางอากาตทั้งในรูปฝุ่นละออง เขม่าควันดำ ก๊าชพิษต่าง ๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5 ) ที่ล้วนแต่บั่นทอนสุขภาพกายสุขภาพจิตของคนกรุงเทพฯ มาช้านาน
 
 
ด้วยความมุ่งมั่นที่จะดูแลคนกรุงเทพฯให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุข กรุงเทพมหานครจึงได้ดำเนินมาตรการเพื่อควบคุมป้องกันและลดมลพิษทางอากาศและเสียงอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้กรุงเทพฯ มีคุณภาพอากาศและเสียงในระดับที่เหมาะสมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนกรุงเทพฯ ต่อไป 
  
โครงการและนโยบายสำคัญที่อยู่ระหว่างดำเนินการและกำลังจะดำเนินการ
 
ㆍจัดทีม "นักสืบฝุ่น" เพื่อศึกษาถึงต้นตอ ที่แท้จริงของ PM2.5 เพื่อนำไปเป็นข้อมูลสำหรับการแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด ทั้งในแง่การป้องกัน การปล่อยมลพิษ และในแง่การเอาผิดจากผู้ปล่อยมลพิษเกินค่ามาตรฐาน
 
ㆍ พัฒนาพื้นที่ปลอดฝุ่น (BKK Clean Air Area) ด้วยต้นไม้ สำหรับพื้นที่เปิดด้วยเครื่องฟอกอากาศ สำหรับพื้นที่ปิด
- พื้นที่เปิด โดย กรุงเทพมหานครจะปลูก (ปลูกเองและสนับสนุนให้เอกชนนำกล้าไม้ไปปลูก และบำรุงรักษาต้นไม่ที่ช่วยดักจับและกรองฝุ่นที่จะเข้ามาในพื้นที่
 
- พื้นที่ปิด สนับสนุนการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ โดยเฉพาะในสถานที่ที่มีกลุ่มเปราะบางและประชาชนหนาแน่น เช่น ห้องเรียน โรงพยาบาลรถสาธารณะ
 
ㆍ สนับสนุนให้เกิด Ecosystem ด้วยรถพลังงานไฟฟ้า การลดฝุ่น PM2.5 ในระยะยาว จำเป็นต้องลดมลพิษจากไอเสียที่ยานยนต์ปล่อยออกมา ซึ่งเป็นต้นตอของ PM2.5 เช่น อนุญาตให้เอกชนติดตั้งสถานีชาร์จและสลับแบตเตอรีรถจักรยานยนต์ในพื้นที่หน่วยงานกรุงเทพมหานคร เช่น สำนักงานเขต สวนสาธารณะ พื้นที่จอดแล้วจร ฯลฯ ประสานกับเอกชนในการผลักดันให้เกิดสถานีชาร์จและสลับแบตเตอรี่มากขึ้น

รินน้ำเสีย ไล่น้ำใส

เช่นเดียวกับ "มหานครใหญ่" ทั่วโลก กรุงเทพฯ เป็นศูนย์รวมความเจริญทุกด้านของประเทศ มีโรงงานอุตสาหกรรมผุดขึ้นมากมาย มีผู้คนอพยพเข้ามาอาศัยจำนวนมาก ซึ่งต่างก็มีกิจกรรมที่ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึง การเกิดน้ำเสีย ซึ่งที่ผ่านมากรุงเทพมหานครได้พยายามแก้ปัญหาน้ำเสียอย่างเป็นระบบมาอย่างต่อเนื่องด้วยการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียรวม เพื่อรวบรวมน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือนมาผ่านกระบวนการบำบัดให้ถูกสุขลักษณะ ก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ติดตามเฝ้าระวังคุณภาพน้ำตามแหล่งน้ำสาธารณะ ทั้งคลองสายหลักและแม่น้ำเจ้าพระยา ตรวจสอบน้ำทิ้งจากอาคารสถานประกอบการต่าง ๆ เพื่อให้สถานประกอบการบำบัดน้ำทิ้งให้ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้ภาครัฐ เอกชนและประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการบำบัดน้ำเสียและร่วมมือกันลดการใช้น้ำ ลดการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ไม่ทิ้งขยะลงแหล่งน้ำ เพื่อให้กรุงเทพฯ มีสายน้ำที่สดใสประชาชนได้อยู่ท่ามกลางสิ่งแวคล้อมที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน


แนวทางการบำบัดน้ำเสียในปัจจุบัน
 
ปัจจุบัน กรุงเทพฯ มีโรงควบคุมคุณภาพน้ำ หรือโรงบำบัดน้ำเสียครอบคลุมพื้นที่ 212.74 ตร.กม. จากพื้นที่ทั้งหมด 1,500 ตร.กม. บำบัดน้ำเสียได้ 1,112,000 ลบ.ม.ต่อวัน (หรือประมาณร้อยละ 45 ของน้ำเสียที่เกิดขึ้นทั้งหมด)
 
การเดินทางของน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดสู่โรงควบคุมคุณภาพน้ำ
  • กรุงเทพมหานคร รวบรวมน้ำเสียด้วยระบบท่อรวม โดยจะรวบรวมน้ำเสียจากชุมชนและแหล่งกำเนิดน้ำเสียอื่น ๆ ไปสู่บ่อรับน้ำเสียและไหลลงสู่ท่อรวบรวมน้ำเสียก่อนส่งไปที่โรงควบคุมคุณภาพน้ำส่วนกลางเพื่อบำบัดก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ
  • แหล่งกำเนิดน้ำเสีย พื้นที่ชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่เกษตรกรรม และอื่นๆ 
  • บ่อพักน้ำเสีย
  • ท่อรวบรวมน้ำเสีย รวบรวมน้ำเสียจากชุมชน
  • สถานีสูบน้ำเสียย่อย
  • โรงควบคุมคุณภาพน้ำส่วนกลาง 6 แห่งของกรุงเทพมหานคร
  • น้ำเสียเข้าระบบบำบัดน้ำเสีย โดยเข้าสู่กระบวนการบำบัดขั้นต้น ที่จะแยกกรวด หิน ดิน ทราย ของแข็งขนาดใหญ่ออกจากน้ำเสียก่อน 
 

โครงการก่อสร้างโรงควบคุมคุณภาพน้ำของกรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานครมุ่งมั่นที่จะคืนสายน้ำที่สะอาดสดใสให้แก่ประชาชนโดยมีโครงการที่จะสร้างโรงควบคุมคุณภาพน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ 27 เขตของกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว 8 แห่ง อยู่ระหว่างดำเนินการ 4 โครงการ และมีแผนระยะยาวที่จะก่อสร้างเพิ่มอีก 15 โครงการ ในอนาคต
 
ปัจจุบันบำบัดได้ 45% 
โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ บำบัดเพิ่ม 25%
โครงการที่อยู่ในแผนระยะยาว บำบัดเพิ่ม 20%
 
90% ของน้ำเสียในกรุงเทพฯ จะถูกบำบัด
 
โรงควบคุมคุณภาพน้ำ ที่เปิดบริการแล้ว 8 แห่ง ได้แก่
1.สี่พระยา 
2.รัตนโกสินทร์
3.ดินแดง
4.ช่องนนทรี
5.หนองแขม
6.ทุ่งครุ
7.จตุจักร
8.บางซื่อ
 
อยู่ระหว่างดำเนินการ 4 โครงการ
9.คลองเตย
10.ธนบุรีเหนือ
11.บึงหนองบอน
12.มีนบุรี
 
แผนระยะยาว 15 โครงการ
13.ธนบุรีใต้
14.สะพานสูง
15.วังทองหลาง
16.ดอนเมือง
17.ลาดพร้าว
18.จอมทอง
19.บางเขน
20.บึงกุ่ม
21.ห้วยขวาง
22.ลาดกระบัง 2
23.ลาดกระบัง 1 
24.หนองจอก 1
25.คลองสามวา
26.ลาดกระบัง 3
27.หนองจอก 2
 

โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ตามนโยบาย ควบคุมคุณภาพน้ำ

โครงการและนโยบายสำคัญที่อยู่ระหว่างดำเนินการและกำลังจะดำเนินการ
 
ㆍผลักดันโครงการติดตั้งระบบรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน (onsite) ขนาดเล็ก ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่ชุมชนขนาดเล็ก 10- 50 หลังคาเรือน โดยในระยะแรกจะมุ่งเน้นชุมชนริมคลองเป็นสำคัญ
 
ㆍ นำร่องปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียในตลาดให้ทันสมัยเป็นไปตามมาตรฐานด้วยการบำบัด 2 ขั้นตอน แบบ onsite treatment ก่อนปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำและท่อระบายน้ำสาธารณะ
 
ㆍ เร่งปรับปรุงท่อรวบรวมน้ำเสียที่มีอยู่แล้วให้เชื่อมต่อการรับน้ำเสียจากครัวเรือนและสถานประกอบการก่อนเข้าสู่ระบบได้อย่างสมบูรณ์
 
ㆍ เร่งทบทวนแผนก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียรวม 4 แห่ง พร้อมระบบท่อรวบรวมน้ำเสีย ได้แก่ โรงบำบัดน้ำเสียธนบุรี มีนบุรี หนองบอนและคลองเตย พร้อมทบทวนศึกษาถึงตำแหน่งที่ตั้ง และความเหมาะสมของโครงการ ขนาด ความจุ หรือประสิทธิภาพการบำบัดเพื่อให้สามารถรองรับการพัฒนาของเมืองที่อยู่อาศัย ตลอดจนกิจกรรมทางเศรษฐกิจของกรุงเทพหานครในอนาคตได้อย่างยั่งยืน ช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสุขภาวะของเมืองและประชาชน

บริหารจัดการขยะอย่างเป็นระบบ

ความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลาย และจำนวนประชากรที่มากที่สุด ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้กรุงเทพฯ กลายเป็นแหล่งผลิต "ขยะ" ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศโดยปัจจุบันมีปริมาณมูลฝอยที่กว่า 10,000 ตันต่อวัน (หรือเทียบเท่ารถสิบล้อ 400 คัน) คิดเป็นขยะมูลฝอยที่ต้องจัดเก็บประมาณ 3.6 ล้านตันต่อปี หรือประมาณ 20% ของปริมาณมูลฝอยทั้งประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งที่ผ่านมากรุงเทพมหานครได้มุ่งมั่นบริหารจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการบริหารจัดการขยะอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง
 
 
"ต้นทาง" เน้นการลดและควบคุมปริมาณขยะมูลฝอยที่แหล่งกำเนิด รวมถึงคัดแยกขยะและใช้ประโยชน์จากขยะ
ที่ต้นทาง
 
"กลางทาง" จัดรถเก็บขนมูลฝอยให้ทุกสำนักงานเขตเข้าบริการจัดเก็บขยะเพื่อนำเข้าสู่ระบบกำจัดอย่างทั่วถึงโดยส่วนใหญ่เป็นขยะทั่วไป และบางส่วนได้จัดเก็บแยกประเภทได้แก่ 1. ขยะทั่วไป 2. ขยะอินทรีย์ 3. ขยะอันตราย 4. ขยะติดเชื้อ พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาการทิ้งและการจัดเก็บที่แน่นอน
 
และ "ปลายทาง" ขยะที่จัดเก็บได้จาก 50 เขต จะถูกขนส่งไปยังศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช ตูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขม และศูนย์กำจัดมูลฝอยสายไหม โดยนำไปกำจัดด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับชนิดของขยะ

โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ นโยบายบริหารจัดการขยะ

โครงการและนโยบายสำคัญที่อยู่ระหว่างดำเนินการและกำลังจะดำเนินการ
 
ㆍ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บขยะด้วยการออกแบบ ศึกษาเก็บขนาดเล็ก ควบคู่กับอุปกรณ์และพัฒนาโมเดลรถจัดและรถช่วยลากขยะ เพื่อเข้าถึงตรอกซอกซอยขนาดเล็กและชุมชนริมคลองที่หลายแห่งมีความกว้างเพียงทางเดินเท้า และทางมอเตอร์ไซค์ผ่าน (กว้างน้อยกว่า 1-1.5 เมตร)
 
ㆍ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง ทั้งการคัดแยกอย่างถูกวิธีและการลดปริมาณขยะ (zero waste to landfill) โดยร่วมมือกับภาคีหน่วยงานที่ดำเนินการอยู่เดิมและสร้างภาคีเครือข่ายใหม่ให้มีจำนวนมากขึ้น ทั้งรูปแบบธนาคารขยะ ธุรกิจเพื่อสังคม ตลอดจนโครงการความร่วมมือระหว่างสมาคมผู้ประกอบการภาคเอกชนที่ให้ความสนใจและร่วมผลักดันแนวคิด Sustainable Development Growth (SDGs) และ BCG Bio-Circular-Green Economy)
 
 
การจัดการปัญหาขยะมูลฝอยไม่อาจสำเร็จได้ด้วยกำลังของกรุงเทพมหานครเพียงลำพัง จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ซึ่งจะช่วยให้การบริหารจัดการขยะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กรุงเทพมหานครจึงดำเนินการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ควบคู่ไปกับการสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะอย่างถูกวิธี นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้บุคลากรออกไปให้ความรู้แก่ประชาชนชนเพื่อให้เกิดความตระหนักรู้และสร้างจิตสำนึกรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวมในการดูแลรักษาความสะอาดการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองที่สวยงามและน่าอยู่ของทุกคน
 
กรุงเทพฯ ในวันนี้ ไม่ใช่แค่เมืองหลวงหรือศูนย์กลางความเจริญทุกด้านของประเทศเท่านั้น หากแต่คือ "หน้าตา" หรือ "ตัวแทนประเทศไทย" และที่สำคัญที่สุดคือเป็น "บ้านหลังใหญ่" ที่มีคนกว่า 10 ล้านคนอาศัยอยู่อาศัยร่วมกัน เราทุกคนจึงต้องร่วมมือร่วมใจกันดูแลบ้านหลังนี้ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม สะอาด สดใส มีสิ่งแวตล้อมดี เพื่อให้ที่นี่ เป็นบ้านที่ผู้อยู่สุขกายสบายใจ เป็นเมืองที่ผู้มาเยือนต่างประทับใจ เป็นมหานครที่เป็นหน้าเป็นตา และความภาคภูมิใจของประเทศไทยและได้รับการยอมรับในระตับนานาชาติทัดเทียมมหานครชั้นนำระดับโลก
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด