News ข่าวสุขภาพ ข่าวโควิด บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
แพคเกจสุขภาพ
ตำแหน่งงาน น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com
การนำยาขึ้นเครื่องบิน ไปต่างประเทศ ข้อกำหนดสายการบินต่างๆ HealthServ.net
การนำยาขึ้นเครื่องบิน ไปต่างประเทศ ข้อกำหนดสายการบินต่างๆ HealthServ.net

การพกยาไปต่างประเทศ อาจจะมีขั้นตอนในการติดต่อกับทางสถานฑูตประเทศนั้นๆ ที่แตกต่างกันออกไป เราจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาหาข้อมูลที่เหมาะสมเพื่อทำการสอบถามชนิดของยาที่สามารถนำเข้าได้และยาที่ถูกต้องห้าม เนื่องจากแต่ละตัวยานั้นจะมีวิธีการนำเข้าที่แตกต่างกันออกไป วันนี้เรามีข้อมูลมาบอกเล่าให้คุณทราบ


การพกยาไปต่างประเทศ


ยาที่อนุญาตให้พกติดตัวไปได้ จะต้องนำยาที่อยู่ในแพ็คเกจลักษณะที่ถูกต้องไป หากแกะแยกออกเป็นแผง หรือแยกเป็นเม็ดแล้ว ผู้ตรวจอ่านไม่ทราบว่ายาชนิดนั้นคืออะไร อาจทำให้ไม่สามารถนำเข้าไปได้
 
ยาที่ถูกห้ามนำเข้าประเทศนั้น ๆ หากเราจำเป็นต้องใช้ยาที่เป็นยาต้องห้ามแล้ว ปรึกษาคุณหมอก็ไม่มียาตัวไหนที่สามารถแทนได้ วิธีการ คือ ให้กรอกแบบฟอร์มขออนุญาตการนำยาเข้าประเทศนั้น และสิ่งที่จำเป็นอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือ เอกสารการรับรองแพทย์ หากเรามีโรคประจำตัว ยาที่รักษาไม่ใช่ยาสามัญทั่วไป เราควรให้แพทย์เขียนระบุว่า เราเป็นโรคอะไร และจำเป็นต้องใช้ยาอะไรบ้าง

 
แต่สำหรับผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัวอาจสงสัยว่า แล้วยาสามัญประจำบ้านชนิดใดบ้างที่เราจะสามารถนำติดตัวไป และควรจะพกไป เผื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินได้บ้าง ยาเหล่านั้น คือ
 
  • พาราเซตามอล ลดไข้ แก้ปวด
  • ยาแก้เมารถ เมาเรือ
  • ยาแก้แพ้
  • ยาลดกรด แก้ท้องอืด แก้ปวดท้อง
  • เกลือแร่ แก้ท้องเสีย
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ

ดังนั้น ผู้ที่มีโรคประจำตัว หากรู้ตัวว่าต้องเดินทางไกล ให้ทุกท่านเตรียมตัวในการพกยาไปให้ดี สำหรับผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว ยาสามัญทั่วไปก็จำเป็นเช่นกัน เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้ไม่วิตกกังวลในการหายามารักษาไม่ทัน

Ramachannel
ภญ.ปานฝัน เลาะวิธี งานเภสัชกรรม ฝ่ายสนับสนุนทางการแพทย์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

มาตรการเรื่องของเหลวและการตรวจค้น ท่าอากาศไทย

มาตรการเรื่องของเหลวและการตรวจค้น ท่าอากาศไทย การนำยาขึ้นเครื่องบิน ไปต่างประเทศ ข้อกำหนดสายการบินต่างๆ
มาตรการเรื่องของเหลวและการตรวจค้น ท่าอากาศไทย การนำยาขึ้นเครื่องบิน ไปต่างประเทศ ข้อกำหนดสายการบินต่างๆ
บ.ท่าอากาศไทย ไม่ได้กำหนดเฉพาะเจาะจงในการให้หรือห้ามนำยาขึ้นเครื่อง แต่จะกำหนดในมาตรการเรื่องของเหลวแทน ซึ่งโดยหลัก คือ ของเหลว เจล สเปรย์ วัตถุหรือสารอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันที่มีขนาดบรรจุเกินกว่า 100 มิลลิลิตร (ที่ไม่ใช่วัตถุอันตราย) ใส่ในกระเป๋าสัมภาระที่จะบรรทุกไปใต้ท้องเครื่องบิน ไม่อนุญาตให้นำติดตัวขึ้นเครื่องบิน  [source]

มาตรการเรื่องของเหลว เจล สเปรย์ หรือวัตถุและสารอื่น ๆ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน (Liquids, Aerosols and Gels : LAGs)

เป็นขั้นตอนการตรวจค้นสำหรับผู้โดยสาร และเจ้าหน้าที่ประจำอากาศยานที่เดินทางไปกับอากาศยานในทุกเที่ยวบินที่ทำการบินออกจากทุกท่าอากาศยานของ ทอท. รวมทั้งเจ้าหน้าที่และบุคคลที่ได้รับสิทธิในการเข้า-ออกพื้นที่หวงห้ามหลังจุดตรวจค้น ณ ทุกท่าอากาศยานของ ทอท. โดยไม่ใช้ปฏิบัติสำหรับของเหลว เจล สเปรย์ (LAGs) หรือวัตถุและสารอื่น ๆ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ประเภทยาและนม หรืออาหารสำหรับเด็กทารก ซึ่งอนุญาตให้นำขึ้นในห้องโดยสารอากาศยานได้ในปริมาณที่เหมาะสม
 
ขั้นตอนการปฏิบัติ
 
1. กรณี LAGs ที่เป็นสัมภาระส่วนตัว
 
1.1 ต้องบรรจุในภาชนะที่มีกำหนดปริมาณความจุไม่เกิน 100 มิลลิลิตร (กรณีภาชนะที่มีกำหนดปริมาณความจุเกิน 100 มิลลิลิตร แต่มี LAGs บรรจุอยู่ถึงแม้ว่าจะไม่เกิน 100 มิลลิลิตร จะไม่อนุญาตให้นำขึ้นในห้องโดยสารอากาศยาน)
 
1.2 ภาชนะที่บรรจุ LAGs ตามข้อ 2.1.1 ต้องถูกใส่รวมในถุงพลาสติกใส (Transparent Re-Sealable Plastic Bag) รวมกันแล้วไม่เกิน 1,000 มิลลิลิตร (หรือปริมาณที่เทียบเท่าในหน่วยวัดปริมาณอื่น) และปิดผนึกปากถุงให้เรียบร้อย โดยอนุญาตให้ผู้โดยสาร 1 คน ต่อ 1 ถุง
 
1.3 ให้ผู้โดยสารแยกถุงพลาสติกใสตามข้อ 2.1.2 ออกจากกระเป๋า/สัมภาระอื่นๆ ที่จะนำขึ้นในห้องโดยสารอากาศยาน รวมทั้งเสื้อคลุม และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจค้นเป็นการเฉพาะ
 
 
ผู้โดยสารต้องเตรียมพร้อมเพื่อผ่านจุดตรวจค้นเพื่อการรักษาความปลอดภัย ดังนี้
 
1. นำของเหลว เจล และสเปรย์ หรือวัตถุและสารอื่นๆ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ที่บรรจุมาในภาชนะบรรจุขนาดเกินกว่า 100 มิลลิลิตรใส่ในสัมภาระบรรทุก (Checked Baggage) เพื่อทำการ Check-in เนื่องจากไม่อนุญาตให้นำติดตัวขึ้นบนอากาศยาน
 
2. หากต้องการนำ ของเหลว เจล และสเปรย์ฯ ติดตัวขึ้นบนอากาศยาน (Carry-on) ของเหลวฯ นั้นต้องมีขนาดบรรจุภัณฑ์ไม่เกิน 100 มิลลิลิตร นำใส่ไว้ในถุงพลาสติกใสแบบ Zip-lock ขนาด 20 x 20 ซม. (มีจัดเตรียมไว้ให้ที่โต๊ะบริการ บริเวณด้านหน้าเคาน์เตอร์ Check-in) ผู้โดยสาร 1 คน ต่อถุง Zip-lock 1 ถุง โดย
ปริมาณของเหลวฯ เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 1 ลิตร และนำผ่านเครื่อง X-Ray ซึ่งแยกจากสัมภาระติดตัวอื่น ๆ
 
 
ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2550 กรมการขนส่งทางอากาศได้ประกาศใช้ข้อกำหนดเกี่ยวกับการนำของเหลว เจล สเปรย์ หรือวัตถุ และสารอื่นๆ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกันติดตัวขึ้นเครื่องบินของผู้โดยสารทุกสัญชาติ โดยสัมภาระติดตัวที่เป็นของเหลวต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่ม อาหารกระป๋อง ช็อกโกแลต น้ำยาบ้วนปาก ครีมโกนหนวด สเปรย์จัดแต่งทรงผม น้ำหอม โคโลญจน์ ครีม ยาหม่อง ยาทาเล็บ เทียนไข ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง (เช่น ลิปกลอส มาสคารา ครีมรองพื้น ฯลฯ) และอื่นๆ ที่มีลักษณะเป็นของเหลว สามารถนำขึ้นเครื่องได้ โดยขนาดของแต่ละบรรจุภัณฑ์ต้องไม่เกิน 100 มิลลิลิตร (100 CC) ซึ่งของเหลวทั้งหมดต้องบรรจุภายในถุงพลาสติกใสขนาดไม่เกิน 20 x 20 เซนติเมตร ที่เปิดปิดผนึกได้ (หรือถุงซิปล็อค) โดยขนาดของถุงพลาสติกต้องมีความจุไม่เกิน 1 ลิตร และผู้โดยสาร 1 คน สามารถนำถุงพลาสติกใสขึ้นเครื่องได้คนละ 1 ใบ เท่านั้น สำหรับสินค้าที่เป็นของเหลวที่ซื้อภายในคิง เพาเวอร์ ดิวตี้ ฟรี สามารถซื้อได้ไม่จำกัดจำนวน ยกเว้นผู้โดยสารที่มีจุดหมายปลายทางไปยังประเทศที่มีข้อจำกัดเฉพาะ  [source]
 การนำยาขึ้นเครื่องบิน ไปต่างประเทศ ข้อกำหนดสายการบินต่างๆ
 การนำยาขึ้นเครื่องบิน ไปต่างประเทศ ข้อกำหนดสายการบินต่างๆ
น้ำยาล้างคอนแทคเลนส์จัดเป็นของเหลวประเภทยาถ้ามีขนาดไม่เกิน 100 ml สามารถนำขึ้นเครื่องบินได้ [Johnson & Johnson Vision]

ยาต้องห้าม ห้ามนำเข้าประเทศญี่ปุ่น

ยาต้องห้าม ห้ามนำเข้าประเทศญี่ปุ่น การนำยาขึ้นเครื่องบิน ไปต่างประเทศ ข้อกำหนดสายการบินต่างๆ
ยาต้องห้าม ห้ามนำเข้าประเทศญี่ปุ่น การนำยาขึ้นเครื่องบิน ไปต่างประเทศ ข้อกำหนดสายการบินต่างๆ
อย.ไทย ประกาศ "ระวังยาต้องห้าม ห้ามนำเข้าประเทศญี่ปุ่น" ดังนี้
1. TYLENOL COLD
2. NYQUIL
3. NYQUIL LIQUICAPS
4. ACTIFED
5. SUDAFED
6. ADVIL COLD & SINUS
7. DRISTAN COLD/ “NO DROWSINESS”
8. DRISTAN SINUS
9. DRIXORAL SINUS
10. VICKS INHALER (ยาพ่น)
11. LOMOTIL
 
โดยยาที่มีชื่อการค้าลำดับ ที่ 1-10 เป็นยาที่มีสาร ซูโดอีเฟดรีน (Pseudoephedrine) เป็นสารสำคัญ ใช้ในการใช้แก้ปวด ลดไข้ บรรเทาอาการไอ คัดจมูก แพ้อากาศ ลดน้ำมูก เป็นต้น
 
ส่วนยาในลำดับที่ 11 มีสารสำคัญที่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 (Atropine และ Diphenoxylate)ใช้ในการบรรเทาอาการท้องเสีย
 
*อ้างอิงรายชื่อยาจากเว็บไซต์สถานกงสุลใหญ่ญี่ปุ่นประจำนครซีแอทเทิล
 

เพื่อความสบายใจ การพกยาใดๆ เข้าประเทศญี่ปุ่นก็ควรมี
 
1. ใบสั่งแพทย์ต้องนำใบสั่งแพทย์นั้นติดตัวไปด้วยทุกครั้ง
2. ยาต้องอยู่ในแผงยา หรือบรรจุภัณฑ์ เพื่อแสดงรายละเอียดของยาแก่เจ้าหน้าที่
3. จำนวนของยาจำเป็นที่ติดตัวได้ต้องใช้ได้ไม่เกิน 30 วัน
4. ยาที่มีส่วนผสมของยาเสพติด ให้โทษที่ใช้ทางการแพทย์ต้องมีมาตรการควบคุมเป็นพิเศษ
5. ยากลุ่มยานอนหลับควรระวังในการพกพา 
[source]

สายการบิน Jetstar Airways

การพกพายารักษาโรคระหว่างการเดินทาง
 
  • สายการบิน แนะนำให้คุณรวบรวมอุปกรณ์การแพทย์ทั้งหมดที่จำเป็นไว้ในหีบห่อเดียวและใส่ไว้ในสัมภาระติดตัวของคุณ หรืออย่างน้อยที่สุดควรจัดเตรียมยาที่จำเป็นให้เพียงพอสำหรับหนึ่งสัปดาห์เป็นอย่างน้อย เพื่อให้คุณมียาที่จะสามารถใช้ได้หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่ทำให้สัมภาระเช็คอินของคุณพลัดหลงจากคุณ ณ จุดใดจุดหนึ่งระหว่างการเดินทาง
  • ยาดังกล่าวควรมีฉลากที่พิมพ์อย่างถูกต้องซึ่งระบุชื่อยาหรือชื่อผู้ผลิต หรือมีฉลากยาติดอยู่ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหรือเจ้าหน้าที่ศุลกากรอาจขอหลักฐานพิสูจน์ความจำเป็นที่ต้องใช้ยา
  • หากคุณจำเป็นต้องพกพาเข็มฉีดยาชนิดฉีดเข้าใต้ผิวหนัง (Hypodermic Needle) ขึ้นเครื่องบิน คุณต้องสำแดงอุปกรณ์ดังกล่าวที่จุดตรวจคัดกรอง และเตรียมเอกสารหรือสิ่งที่ใช้ยืนยันอาการเจ็บป่วยของคุณถ้าเป็นไปได้ [source]
  • หากคุณกำลังจะเดินทางพร้อมกับอุปกรณ์ให้ยา กรุณาเตรียมยาที่จำเป็นต่าง ๆ ให้เพียงพออย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ไว้ในสัมภาระติดตัวขึ้นเครื่องของคุณ เพื่อให้คุณยังสามารถใช้ยาได้ในกรณีสัมภาระเช็คอินเกิดพลัดหลงจากคุณ [source]
 

สายการบิน ANA

[ระหว่างประเทศ] ฉันสามารถนำยาขึ้นเครื่องได้หรือไม่ และสามารถนำยามาได้จำนวนเท่าไหร่  [source]
 
  • ท่านสามารถนำยาขึ้นเครื่องบินได้
  • สำหรับยานอกเหนือจากจำนวนที่ต้องใช้ระหว่างเที่ยวบิน เราขอแนะนำให้ท่านใส่ในสัมภาระโหลดใต้ท้องเครื่อง
  • เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการคัดกรองความปลอดภัยที่ราบรื่นยิ่งขึ้น โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่หากท่านมีเอกสารที่มีใบสั่งยาหรือใบรับรองแพทย์
  • หากท่านไม่มีเอกสารประกอบดังกล่าว โปรดแสดงสมุดบัญชียาหรือคู่มือการใช้ยาของคุณหรือแจ้งเจ้าหน้าที่
  • ยาและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์อื่นๆ ได้รับการยกเว้นจากข้อกำหนดของปริมาณของเหลว แต่ต้องผ่านการตรวจคัดกรองความปลอดภัย
  • ท่านสามารถพกยาที่จำเป็น (ยาหยอดตา ยาหยอดจมูก เป็นต้น) ขึ้นเครื่องบินได้โดยไม่ต้องใส่ในถุงพลาสติกใส
  • โปรดดูที่ สัมภาระที่ถูกจำกัด หน้าสัมภาระที่สามารถนำขึ้นเครื่องบินหรือเช็คอินได้ตามเงื่อนไขในรายการเครื่องสำอางหรือเภสัชภัณฑ์ที่ไม่มีสารกัมมันตรังสี (รวมถึงสเปรย์ฉีดผม) สำหรับปริมาณสุทธิต่อคนหรือภาชนะบรรจุ
 
[ระหว่างประเทศ] ของเหลวและสเปรย์ประเภทยาแก้คัน ยาฆ่าเชื้อ(Antiseptics) และอื่นๆ สามารถนำขึ้นเครื่องหรือใส่ในสัมภาระเช็คอินได้หรือไม่ [source]

สิ่งของต่อไปนี้จัดเป็นสิ่งของเครื่องใช้ในห้องน้ำและยาสามารถนำขึ้นเครื่องบินหรือเช็คอินได้หากเป็นไปตามเงื่อนไข
  • ยาแก้คัน (ของเหลว, สเปรย์), กันแมลง(ของเหลว, สเปรย์),
  • ยาทำให้ปราศจากเชื้อ – ยาฆ่าเชื้อ (Antiseptics) (ของเหลว, สเปรย์)
  • ยาแก้ปวด ต้านการอักเสบ (ของเหลว, สเปรย์)
 
เงื่อนไข
  • อนุญาต ถือขึ้นเครื่อง ได้  -  ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของเหลว เจล สเปรย์ (LAGs) ที่นำขึ้นเครื่อง
  • อนุญาต ให้ถือเช็คอิน ได้
  • ปริมาณต่อบรรจุภัณฑ์ เท่ากับหรือน้อยกว่า 0.5 ลิตร หรือ 0.5 กก. เท่ากับหรือน้อยกว่า
  • ปริมาณต่อบุคคล เท่ากับหรือน้อยกว่า 2 ลิตร หรือ 2 กก. - จำนวนข้างต้นต่อบุคคลเป็นจำนวนรวมทั้งหมดของสิ่งของเครื่องใช้ในห้องน้ำ ยาและสเปรย์
หัวฉีดสเปรย์จะต้องได้รับการป้องกันด้วยฝาปิดหรือวิธีการอื่นที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการปล่อยสารโดยไม่ได้ตั้งใจ
 
[หมายเหตุ] ยาฆ่าแมลงที่มีสารพิษจัดเป็นสินค้าอันตรายและไม่สามารถนำขึ้นเครื่องบินหรือเก็บในสัมภาระโหลดใต้ท้องเครื่องได้ตามกฎหมาย

ข่าว/บทความล่าสุด

เนื้อหามีผู้อ่านล่าสุด

ตรวจสอบรายชื่อแพทย์

ตรวจสอบรายชื่อแพทย์ เลขที่ใบอนุญาต สถานพยาบาล

ติดตามข้อมูลข่าวสาร บริการ ด้านสุขภาพในทุกมิติ
เพิ่มเราเป็นเพื่อนทาง @healthserv

เพิ่มเพื่อน @healthserv
เพิ่มเพื่อน @healthserv
https://lin.ee/WSunSYA

โปรดเข้าใจว่า HealthServ.net ไม่ได้เป็นสถานพยาบาล ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการวิชาชีพด้านแพทย์ใดๆ จึงไม่สามารถให้คำปรึกษาในด้านการแพทย์ การรักษาใดๆ ได้ในทุกๆ กรณี - HealthServ.net เป็นสื่อที่เสนอเนื้อหาด้านสุขภาพ ได้แก่ บทความ ข่าวสาร รวมถึง ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับแพคเกจ/บริการจาก รพ./สถานพยาบาล/ผู้ให้บริการต่างๆ ในประเทศไทย เท่านั้น รายละเอียดเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับบริการ-ราคา-เงื่อนไข-วิธีการบริการ โปรดสอบถามไปยังรพ./สถานพยาบาล/ผู้ให้บริการนั้นๆ โดยตรง