ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ป่วยฉุกเฉินโทรแจ้งสายด่วน 1669 (สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ)

ป่วยฉุกเฉินโทรแจ้งสายด่วน 1669 (สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ) Thumb HealthServ.net
ป่วยฉุกเฉินโทรแจ้งสายด่วน 1669 (สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ) ThumbMobile HealthServ.net

6 อาการฉุกเฉินวิกฤต
หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม
เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัด มีเสียงดัง
แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด แบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
มีอาการอื่นร่วม ที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และ ระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต

ป่วยฉุกเฉินโทรแจ้งสายด่วน 1669 (สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ) HealthServ
ข้อควรรู้ก่อนโทรแจ้งสายด่วน 1669  นั้น 
มีหลักสำคัญอยู่  9 ข้อ คือ
  1. เมื่อพบเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินให้ตั้งสติและโทรแจ้งสายด่วน 1669 
     
  2. ให้ข้อมูลว่าเกิดเหตุอะไรมีผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บในลักษณะใด 
     
  3. บอกสถานที่เกิดเหตุเส้นทางจุดเกิดเหตุให้ชัดเจน 
     
  4. บอกเพศ ช่วงอายุ อาการจำนวนผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ 
     
  5. บอกระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย 
     
  6. บอกความเสี่ยงที่อาจเกิดซ้ำ เช่นอยู่กลางถนนหรือรถติดแก๊ส 
     
  7. บอกชื่อผู้แจ้งเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ 
     
  8. ช่วยเหลือเบื้องต้นตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่  
     
  9. รอทีมกู้ชีพมารับผู้ป่วยเพื่อนำส่งโรงพยาบาล
ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ฉุกเฉิน สิ่งสำคัญที่สุด คือระบบของการให้การช่วยเหลือในเบื้องต้น ที่จะต้องมีกระบวนการที่ทำให้เจ้าหน้าที่รับเหตุสามารถประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนให้การช่วยเหลือได้ ด้วยเพราะเจ้าหน้าที่รับแจ้งเหตุไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุ และอาจไม่สามารถประเมินอาการของผู้ป่วยได้ การแจ้งข้อมูลเบื้องต้นของท่านๆ คือการช่วยเหลือขั้นแรกที่สำคัญ ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยฉุกเฉินมีโอกาสรอดและปลอดภัยมากขึ้น !!!!
ป่วยฉุกเฉินโทรแจ้งสายด่วน 1669 (สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ) HealthServ
สพฉ. แนะข้อควรรู้ก่อนโทรแจ้งสายด่วน 1669

สพฉ. แนะข้อควรรู้ก่อนโทรแจ้งสายด่วน 1669  เผยผู้โทรแจ้งต้องตั้ง ย้ำเป็นสายด่วนที่ให้บริการเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตินอกสถานพยาบาล  สายด่วน 1669  เป็นสายด่วนฉุกเฉินที่หลายๆ คนคุ้นเคย  หากมีอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินขึ้นมา  ก็สามารถโทรแจ้งได้ทันที  ซึ่งตามหลักของการทำงานของสายด่วน 1669 นั้นเมื่อมีประชาชนโทรเข้ามาเพื่อ  เจ้าหน้าที่จะประเมินอาการว่า เข้าข่ายอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือไม่   เข้าข่ายอาการแบบไหน ก่อนส่งทีมผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินเข้าช่วยเหลือ  ซึ่งปกติแล้วจะแบ่งระดับความฉุกเฉินออกเป็น 5 ระดับ 
 
  1. ระดับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (สีแดง)  
  2. ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน (สีเหลือง)  
  3. ผู้ป่วยฉุกเฉิน ไม่รุนแรง (สีเขียว)  
  4. ผู้ป่วยทั่วไป (สีขาว)  
  5. ผู้รับบริการสาธารณสุขอื่นๆ (สีดำ) 
 
         เมื่อประเมินว่าเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ก็จะส่งทีมไปรับผู้ป่วย และส่งต่อไปรักษาในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุด ให้ทันท่วงทีต่อการรักษาชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉิน  เพราะหากส่งผู้ป่วยถึงมือแพทย์ช้าก็จะทำให้เสี่ยงต่อชีวิต โดยเมื่อเจ้าหน้าที่ส่งผู้ป่วยฉุกเฉินถึงโรงพยาบาลแล้วก็เป็นหน้าที่ของโรงพยาบาลนั้นๆ ที่จะทำการรักษาจนพ้นวิกฤตแล้วจึงจะพิจารณาส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยมีสิทธิหรือมีประวัติในการรักษา 
 
 
ป่วยฉุกเฉินโทรแจ้งสายด่วน 1669 (สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ) HealthServ
การให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินผ่านสายด่วน 1669 เป็นสายด่วนที่ให้บริการเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตินอกสถานพยาบาล  แต่หากผู้ป่วยฉุกเฉินมีอาการเกิดขึ้นในสถานพยาบาล ตามหลักการแล้ว ก็ต้องเข้าสู่ระบบของสถานพยาบาลนั้นๆ ที่ต้องให้การดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐานวิชาชีพ  แต่ถ้าเกินขีดความสามารถ สถานพยาบาลนั้นๆ ก็จะต้องมีการประเมินส่งต่อผู้ป่วย 

 
อยากให้ประชาชนเข้าใจการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ต้องทำการซักถามประวัติอย่างละเอียด เพื่อประเมินอาการผู้ป่วยอย่างถูกต้องเหมาะสม  และบางกรณีอาจไม่สามารถส่งทีมเข้าช่วยเหลือได้เสมอไป เพราะบางครั้งไม่ใช่เหตุฉุกเฉินจริงๆ แต่เจ้าหน้าที่อาจให้คำแนะนำให้ไปรับบริการอื่นๆ ได้  ขอย้ำว่าสายด่วน 1669 เป็นสายด่วนแห่งชีวิต ดังนั้นผู้โทรแจ้งต้องมีเหตุฉุกเฉินจริงๆ และที่สำคัญไม่ควรโทรเล่น เพราะอาจตัดโอกาสผู้ป่วยฉุกเฉินรายอื่นได้
 

UCEP เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ โทร 1669

 

6 อาการฉุกเฉินวิกฤต

6 อาการฉุกเฉินวิกฤต
  1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
  2. ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม
  3. เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
  4. หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัด มีเสียงดัง
  5. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด แบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
  6. มีอาการอื่นร่วม ที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และ ระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
 
1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
2. ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม
3. เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
4. หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัด มีเสียงดัง
5. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด แบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
6. มีอาการอื่นร่วม ที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และ ระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
 
แนวทางปฏิบัติงานของรถ EMS ช่วงสถานการณ์ Covid-19

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด