ประกาศจุดยืน เรื่อง การให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ในประเทศไทย
Position Statement for Assisted Reproductive Technology in Thailand
ในปัจจุบันนี้การใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ในการรักษาภาวะมีบุตรยาก มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นทั้งในประเทศไทยและนานาชาติ องค์กรอนามัยโลกจัตภาวะมีบุตรยากเป็นโรค และ International Committee for Monitoring Assisted Reproductive Technology (CMART) ให้ความสำคัญและตระหนักถึง ความสำเร็จ ความปลอดภัยของสตรีที่มีบุตรยากและบุตรที่เกิดจากการรักษา รวมทั้งการเข้าถึงบริการของสามีภริยาที่มีบุตรยาก ประเทศไทยมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 ในการกำกับดูแลการให้บริการด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ในประเทศไทย ดังนั้นเพื่อให้การให้บริการด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ในประเทศไทย เกิตประสิทธิภาพสูงสุด มีความปลอดภัย ลตภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงผลกระทบทางด้านสังคม จริยธรรม และกฎหมาย รวมทั้งงบประมาณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ในฐานะองค์กรหลักในการกำกับดูแลด้านวิชาการและมาตรฐานวิชาชีพสาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ขอประกาศจุดยืนเกี่ยวกับการให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ในประเทศไทยดังต่อไปนี้
- การให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ควรทำเฉพาะในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เท่านั้น ได้แก่ ภาวะมีบุตรยาก การที่เคยมีการตั้งครรภ์ที่สิ้นสุดลโดยไม่ได้บุตรเลย หรือ การแท้งเป็นอาจิณ เป็นต้น
- ประชาชนควรทราบว่าการรับบริกรเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์โดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เพิ่มความเสี่ยงจากการกระตุ้นรังไข่ การเก็บไข่ และ การย้ายฝากตัวอ่อน โดยมีความรุนแรงหลายระดับทั้งต่อสตรีที่มีบุตรยาก สตรีที่บริจาคไข่ สตรีที่ตั้งครรภ์และทารกที่เกิดจากการรักษา มากกว่าการตั้งครรภ์เองตามธรรมชาติ
- การรับบริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์โดยคาดหวังให้มีการตั้งครรภ์แฝดเป็นการเพิ่มความเสี่ยงสูงต่อสตรีที่ตั้งครรภ์และทารก
- การเลือกเพศบุตร การรับจ้างบริจาคไข่หรืออสุจิหรือตัวอ่อน การรับจ้างตั้งครรภ์แทนมีความผิดตามกฎหมายและมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพ
- การตรวจวินิฉัยทางพันธุกรรมก่อนการฝังตัวในตัวอ่อนควรทำตามที่กฎหมายกำหนด
- ก่อนการให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ สามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายที่มีบุตรยากทุกราย ควรได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนและเหมาะสม เกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงของการรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ จนเข้าใจดีและลงนามยินยอมรับการรักษา
- สามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายที่มีบุตรยากทุกราย ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ควรสามารถเข้าถึงสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองโดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
ประกาศ ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำธร พฤกษานานนท์
ประธานคณะอนุกรรมการเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
พลอากาศโทนายแพทย์ การุณ เก่งสกุล
ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย
ประกาศจุดยืนของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่องการตั้งครรภ์แทน
จุดยืน (Position statement) ของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่ประเทศไทย เรื่อง การตั้งครรภ์แทน (Surrogacy) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "การอุ้มบุญ"
- กระบวนการตั้ครรภ์แทน ต้องปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดจากเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 เท่านั้น
- การตั้งครรภ์แทน ต้องทำเรื่องขออนุญาตต่อคณะกรรมการคุ้มครองเด็กที่เกิดจากเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ (กคทพ.) ซึ่งมีปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน นายกแพทยสภาเป็นรองประธานและ อธิบดีกรมสนับสนุนการบริการสุขภาพ (สบส.) เป็นเลขานุการ
- การฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ เช่น การรับจ้างตั้ครรภ์แทน การตั้งครรภ์แทนโดยมิใช่ญาติโดยสายโลหิต การซื้อขายอสุจิ หรือ ไข่ หรือ ตัวอ่อน มีความผิดอาญา ถึงขั้นจำคุก ทั้งแพทย์ผู้ให้บริการ ผู้จ้างวาน ผู้โฆษณา และผู้รับจ้างอุ้มบุญ
- ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ขอย้ำเตือนให้สมาชิกสูตินรีแพทย์ผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการักษาพยาบาลด้านการตั้งครรภ์แทน ปฏิบัติตามพระรชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดจากเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ และตามข้อบังคับ แพทยสภาว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยเคร่งครัด
- แพทย์ผู้ต้องคดีอาญาในคดีให้การบริการเพื่อการตั้งครรภ์แทนอย่างผิดกฎหมาย อาจได้รับผลต่อเนื่องถึงการถูกระงับใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมอย่างถาวร
- ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบการสถานพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ และประชาชนผู้ต้องการรับบริการ ผู้ทำการโษณา หรือผู้คิดจะรับจ้างตั้งครรภ์แทนทุกท่าน ควรศึกษารายละเอียดในพระราชบัญญัติคุ้ครองเด็กที่เกิดจากกดโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์นี้โดยละเอียด เพราะท่านอาจทำผิดกฎหมายอาญาได้โตยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
- ราชวิทยลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย มีนโยบายในกาควบคุมดูแลสถาบันฝีกอบรม และตัวแพทย์ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ในมนุษย์ ทั้งด้านวิชาการและด้านจริยธรรมอย่างเคร่งครัด
- ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่ประเทศไทย ยินดีให้ความร่วมมือทุกด้านอย่างเต็มที่กับคณะกรรมการคุ้มครองเด็กที่เกิดจากเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ และ แพทยสภา เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อประชาชนตามข้อบังคับของกฎหมาย และเพื่อจริยธรรมอันดีงามของการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
- ประเทศต่าง ๆ มีกฎหมายเรื่องการตั้งครรภ์แทนต่างกัน ประเทศที่ห้ามการตั้งครรภ์แทนมักมีบทลงโทษรุนแรงถึงขั้นจำคุก
ประกาศ ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
พลอากาศโทนายแพทย์ การุณ เก่งสกุล
ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย