ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สธ.รายงานตัวเลขอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2567

สธ.รายงานตัวเลขอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2567 Thumb HealthServ.net
สธ.รายงานตัวเลขอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2567 ThumbMobile HealthServ.net

กระทรวงสาธารณสุขและกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานจำนวนอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2567 และพบว่าอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเหตุหลักคือ ดื่มแล้วขับ และขับรถเร็ว

2 มกราคม 2567  กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2567 ว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบาย “ดื่มไม่ขับ ขับไม่ดื่ม” (Drink Don’t Drive) ที่มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเกิดการรับรู้ เกิดการเฝ้าระวังด้วย 3 ด่าน คือ ด่านตนเอง ด่านครอบครัว และด่านชุมชน การบังคับใช้กฎหมาย พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตั้งแต่ทั้งการตรวจร้านค้า การห้ามจำหน่ายในสถานที่ห้ามจำหน่าย และการขายให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี รวมทั้งการบังคับใช้กฎหมายจากเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างเคร่งครัด ตั้งแต่การตั้งด่านตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ การตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในผู้ขับขี่เมื่อเกิดอุบัติเหตุ มีการตรวจวัด ซึ่งจากการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นผลให้สถิติการเกิดอุบัติเหตุจากดื่มแล้วขับลดลง เกิดความสูญเสียน้อยลง แต่ยังมีเรื่องน่ากังวลที่พบว่ามีเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี ดื่มแอลกอฮอล์แล้วขับรถจนบาดเจ็บ ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งจะมีการสืบกลับไปยังร้านค้าที่จำหน่ายเพื่อดำเนินคดี
 

รายงานบาดเจ็บและเสียชีวิต


         จากรายงานการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจรในช่วงเทศกาลปีใหม่ของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน รายวันดังนี้


         วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ข้อมูลสะสม 29-30 ธันวาคม 2566 พบจำนวนอุบัติเหตุรวม 724 ครั้ง บาดเจ็บรวม 739 ราย และเสียชีวิตรวม 71 ราย สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่ ได้แก่ ขับรถเร็ว (36.74%)  ดื่มแล้วขับ (22.79%)  และตัดหน้ากระชั้นชิด (19.06%) ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดคือรถจักรยานยนต์ (85.62%)


       วันที่ 1 มกราคม 2567 เกิดอุบัติเหตุ 419 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 62 ราย บาดเจ็บ 422 ราย


       รวม 4 วัน  (29 ธันวาคม 2566 - 1 มกราคม 2567)  สรุปเหตุการณ์ดังนี้
  • เกิดอุบัติเหตุสะสม 1,570 ครั้ง
  • มีผู้เสียชีวิต 190 ราย
  • มีผู้บาดเจ็บ 1,574 ราย
  • จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ กาญจนบุรี (57 ครั้ง) 
  • จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด คือ กรุงเทพมหานคร (13 ราย) 
  • จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บ (Admit) สูงสุด คือ กาญจนบุรี (56 คน)   
  • สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุมาจาก
    การขับรถเร็วเกินกำหนด 37.52 %
    ดื่มแล้วขับ 27.64 %
    ทัศนวิสัยไม่ดี 17.13 %
  • จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข พบมีผู้ขับขี่ที่อายุต่ำกว่า 20 ปี ดื่มสุรา 339 คน คิดเป็นร้อยละ 13.28 ของผู้ขับขี่อายุต่ำกว่า 20 ปี ที่เกิดอุบัติเหตุทั้งหมด 

     
 

เจาะเลือดตรวจแอลกอฮอล์


     นอกจากนี้ ดำเนินการเจาะเลือดตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ขับขี่ที่เกิดอุบัติเหตุทางถนนและบาดเจ็บรุนแรงหรือเสียชีวิต หากผู้ขับขี่ไม่สามารถตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ด้วยวิธีเป่าทางลมหายใจได้ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2567 ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2566–1 มกราคม 2567 ได้มีการเจาะเลือดตรวจระดับแอลกอฮอล์ของผู้ขับขี่ที่เกิดอุบัติเหตุตามการร้องขอของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในกรณีที่ไม่สามารถเป่าลมหายใจผ่านเครื่องตรวจได้ ทั้งหมด 661 ราย เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี 108 ราย พบปริมาณแอลกอฮอล์เกินกฎหมายกำหนด 98 ราย เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี 9 ราย 
 
 
 
           นายแพทย์ธงชัยกล่าวต่อว่า สำหรับการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับเครือข่าย ด้านการแพทย์ฉุกเฉินเตรียมความพร้อมรองรับ ทั้งทางบก น้ำ และอากาศ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ ซึ่งมีการออกหน่วยปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน 5,839 ครั้ง และในส่วนของโรงพยาบาลเตรียมความพร้อมบริการ 24 ชั่วโมง โดยผู้ป่วยวิกฤต ฉุกเฉินเข้ารับการรักษาไม่เสียค่าใช้จ่ายใน 72 ชั่วโมงแรก และในช่วงนี้จนถึงวันที่ 4 มกราคม 2567 เป็นช่วงที่ประชาชนเดินทางกลับจากภูมิลำเนาหรือสถานที่ท่องเที่ยว หลังจากการเฉลิมฉลองหรือท่องเที่ยวอาจมีความเหนื่อยล้า แนะนำให้มีการเตรียมความพร้อมของยานพาหนะ รวมถึงผู้ขับขี่ควรมีการเตรียมความพร้อมของร่างกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ปฏิบัติตามกฎจราจร ขอให้สวมหมวกนิรภัย หรือคาดเข็มขัดนิรภัย ทุกครั้งที่มีการเดินทางทั้งใกล้และไกล เพื่อความปลอดภัยของประชาชน เมื่อขับรถติดต่อกันเป็นเวลานานสามารถพักรถได้ที่จุดบริการประชาชน จุดพักรถตลอดเส้นทาง หากมีการดื่มสุราของมึนเมา หรือใช้ยาที่มีฤทธิ์ง่วงซึม ควรงดการขับขี่เด็ดขาด ตามนโยบาย “ดื่มไม่ขับ ขับไม่ดื่ม” (Drink Don’t Drive)  หากประชาชนพบผู้บาดเจ็บจากการจราจร หรือเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถโทรขอความช่วยเหลือได้ที่ 1669 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ขอขอบคุณและขอส่งกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับที่เสียสละเวลา มาทำงานในช่วงวันหยุดอย่างแข็งขัน
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด