การบริการ คลินิกเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
1.ตรวจวันทำการ จันทร์-ศุกร์ ยกเว้น วันหยุดนักขัตฤกษ์
2.ตรวจหาเชื้อ COVID-19 รอบเวลา 9.30 น. (RT-PCR และ ATi
รอบเวลา 13.30 น. (เฉพาะ ATK)
3.นัดล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน (โทรเวลาทำการ 08.30-15.00)
เบอร์โทร 080-9129195 (ติดต่อในวันเวลาราชการเท่านั้น)
คลินิกเวชศาสตร์การเดินทางและการท่องเที่ยว มีหลักในการดำเนินงานดังนี้
1.ให้คำแนะนำและประเมินความเสี่ยง ก่อน ระหว่าง และหลังการเดินทาง
2.สื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชน
3.เฝ้าระวังทางระบาดวิทยาและการสอบสวนโรคด้านเวชศาสตร์การเดินทางและการท่องเที่ยว
4.พัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเดินทาง
5.พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านเวชศาสตร์การเดินทางและการท่องเที่ยว
6.พัฒนาเครือข่ายประสานงานการร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ทั้งด้านวิชาการ การป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพให้กับนักท่องเที่ยวและนักเดินทางระหว่างประเทศ
7.การวิจัย
8.การประเมินผลคลินิกเวชศาสตร์การเดินทางและการท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐานตามแนวทางกรมควบคุมโรค
เปิดคลินิกเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว หาดใหญ่ วันที่ 25 ธค 2558
เปิดคลินิกเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว หาดใหญ่ วันที่ 25 ธค 2558
สคร.12 สงขลา เปิดคลินิกเวชศาสตร์การเดินทางและการท่องเที่ยว ที่ ศูนย์หาดใหญ่นวรัตน์ แห่งแรกของภาคใต้
วันนี้ 25 ธันวาคม 2558 ที่หน่วยกามโรคและโรคเอดส์ที่ 12.1หาดใหญ่ (ศูนย์หาดใหญ่นวรัตน์) ดร.นพ.สุวิช ธรรมปาโล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา นายแพทย์ภูโมกข์ อัมพวา หัวหน้าศูนย์หาดใหญ่นวรัตน์ ร่วมเปิดคลินิกเวชศาสตร์การเดินทางและการท่องเที่ยว (Travel Medicine Clinic) ที่หน่วยกามโรคและโรคเอดส์ที่ 12.1 หาดใหญ่ (หน่วยหาดใหญ่นวรัตน์) ซึ่งถือเป็นคลินิกเวชศาสตร์ฯ แห่งแรกในภาคใต้
ดร.นพ.สุวิช กล่าวว่า ปัจจุบันผู้เดินทางท่องเที่ยวและเดินทางระหว่างประเทศมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและภาวะสุขภาพของผู้เดินทาง เช่น โรคติดต่อที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ปัญหาด้านสุขอนามัย สุขภาพประจำตัวของผู้เดินทาง และ อุบัติเหตุต่างๆ จากข้อมูลขององค์การท่องเที่ยวโลกแห่งประชาชาติ คาดการณ์ว่าอีก5 ปีข้างหน้า (พ.ศ.2563) จะมีนักท่องเที่ยวที่เดินทางระหว่างประเทศกว่า 1,600 ล้านคน สำหรับประเทศไทยหากมีการเติบโตของนักท่องเที่ยวตามคาดการณ์จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 41.5 ล้านคน
นอกจากนี้ ข้อมูลจากการสำรวจสุขภาพในกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปในประเทศกำลังพัฒนา พบว่ามีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร และอุบัติเหตุ ซึ่งโรคดังกล่าวเป็นโรคและภัยสุขภาพที่สามารถบริหารจัดการและป้องกันได้
คำแนะนำสำหรับผู้เดินทางท่องเที่ยวและผู้เดินทางระหว่างประเทศผู้เดินทางควรมีการวางแผน รับคำแนะนำรวมถึงทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและภัยอันตรายที่อยู่ปลายทาง และเตรียมตัวให้พร้อมทั้งด้านร่างกาย อุปกรณ์ส่วนตัวและยารักษาโรคจะทำให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคหรือภัยอันตรายลดน้อยลง อย่างไรก็ตามการเตรียมตัวแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับระยะเวลาเดินทาง จุดมุ่งหมาย จำนวนคนที่เดินทางไปด้วย ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญ ซึ่งแพทย์จะใช้ในการประกอบพิจารณาเพื่อแนะนำการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคและภัยสุขภาพให้ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรคโทร 1422
http://stihatyai.blogspot.com/