ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

CDC สหรัฐยืนยันแล้วว่าโรคโควิด-19 แพร่ระบาดแบบ airborne (ลอยไปในอากาศ) ได้ การระบายอากาศ จึงเป็นเรื่องสำคัญ

CDC สหรัฐยืนยันแล้วว่าโรคโควิด-19 แพร่ระบาดแบบ airborne (ลอยไปในอากาศ) ได้ การระบายอากาศ จึงเป็นเรื่องสำคัญ Thumb HealthServ.net
CDC สหรัฐยืนยันแล้วว่าโรคโควิด-19 แพร่ระบาดแบบ airborne (ลอยไปในอากาศ) ได้ การระบายอากาศ จึงเป็นเรื่องสำคัญ ThumbMobile HealthServ.net

CDC สหรัฐยืนยันแล้วว่าโรคโควิด-19 แพร่ระบาดแบบ airborne (ลอยไปในอากาศ) ได้ การระบายอากาศ (ventilation) จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำ ไม่แพ้เรื่องการใส่หน้ากากอนามัยและรักษาระยะห่าง

CDC สหรัฐยืนยันแล้วว่าโรคโควิด-19 แพร่ระบาดแบบ airborne (ลอยไปในอากาศ) ได้ การระบายอากาศ จึงเป็นเรื่องสำคัญ HealthServ
ข้อมูลจากเพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ โดย รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ให้คำข้อมูลและคำอธิบายในประเด็นที่ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคระบาด (CDC) ของสหรัฐ ได้

คำอธิบายเรื่องที่ "ศูนย์ CDC ของอเมริการะบุว่าเชื้อโรค covid-19 เป็นแบบ airborne"  และ "แนวทางปฏิบัติตน เมื่ออยู่ในอาคารปิด" หลังจากนี้ครับ

อย่างที่เกริ่นไปว่า มีข่าวใหม่ข่าวใหญ่ที่ศูนย์ควบคุมโรคประเทศสหรัฐอเมริกาหรือ US  CDC ได้ออกมายืนยันอย่างเป็นทางการแล้วว่า โรค COVID-19 นั้นแพร่ระบาดแบบ airborne (ลอยไปในอากาศ) ได้ 

โพสต์นี้จะเขียนสรุปข่าวที่ได้รับมา ว่าเป็นเช่นไรกันแน่ และแนวทางในการปฏิบัติตนของเรา เพื่อให้เหมาะสมกับการรับมือรูปแบบการกระจายเชื้อโรคนี้ โดยเฉพาะเมื่อเราต้องอยู่ในสังคมร่วมกัน 
 
สรุปสั้นๆ ก่อนว่า เราต้องเปลี่ยนความเชื่อที่บอกว่า
"เชื้อไวรัสกระจายไปกับหยดน้ำลาย (droplet) และจะตกพื้นในระยะประมาณแค่ 1.5 เมตร ระหว่างคนสองคน" 
 
กลายเป็นว่า
สามารถติดโรคได้แม้ในระยะที่ไกลกว่านั้น ถ้าอยู่ในช่วงเวลาที่นานขึ้น  เพราะมันถูกทำให้อยู่ในรูปของละอองลอย (aerosol) แขวนลอยในอากาศ 
 
จึงทำให้เราต้องเน้นเรื่อง "การระบายอากาศ (ventilation)" เป็นเรื่องใหญ่ ไม่แพ้เรื่องที่ใส่หน้ากากอนามัย เลยครับ 
 
-------
 
(สรุปจากรายงานข่าว)
 
1. ศูนย์ US CDC ได้ทบทวนรูปแบบของการแพร่กระจายเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในเอกสาร guideline ล่าสุดเกี่ยวกับโรค COVID-19 อย่างเป็นทางการว่า ให้รวมไปถึงความเป็นไปได้ที่ไวรัสจะกระจายแบบ airborne ไปในอากาศ 
  • ปกติแล้ว คนเราจะปล่อยสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจ (ผ่านการหายใจออก ไม่ว่าจะเป็นการหายใจเบาๆ การพูดคุย ร้องเพลง  ออกกำลังกาย ไอ หรือจาม) ออกมาในรูปของหยดน้ำลาย (droplet) ขนาดต่างๆ ซึ่งหยดน้ำลายนี้จะพาเชื้อไวรัส ไปแพร่กระจายโรคได้ 
  • สารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจนี้ จะไปตกลงบนพื้นผิวใกล้เคียง หรือสามารถล่องลอยอยู่ในอากาศได้
  • หยดน้ำลายที่มีขนาดใหญ่ อาจรออยู่ในอากาศแค่ไม่นาน ประมาณไม่กี่วินาทีหรือไม่กี่นาที ... แต่ถ้าเป็นพวกอนุภาคละอองลอย (aerosol particle) ที่มีขนาดเล็กจะสามารถแขวนลอยอยู่ในอากาศได้นานหลายนาทีจนถึงหลายชั่วโมง
     
2. guideline ใหม่ของศูนย์ US CDC เน้นเตือนเรื่องการอยู่ในอาคาร (indoor) เป็นเวลานาน และทำให้รับเชื้อไวรัสสะสมเข้าไป จนเป็นโรคได้
  • ปกติแล้วการได้รับเชื้อไวรัสจนทำให้เป็นโรค covid-19 จากการหายใจเอาเชื้อเข้าไป ในระยะที่ห่างกว่า 6 ฟุต (ประมาณ 1 เมตรครึ่ง) นั้น ไม่ค่อยน่าจะเป็นไปได้
  • แต่ถ้ามีผู้ติดเชื้อ หายใจเอาไวรัสออกมาในพื้นที่ปิดในอาคาร (indoor) ระยะเวลานาน ก็จะทำให้เชื้อสะสมเข้มข้นอยู่ในอากาศ แล้วทำให้คนอื่นที่แม้จะอยู่ในระยะห่างเกิน 6 ฟุตจากคนนั้น ก็ติดโรคได้  !!
     
3. คำแนะนำที่ปรับปรุงใหม่นี้ เป็นผลตามมาจากการรายงานในวารสารวิจัยทางการแพทย์ชื่อดัง   the Lancet ที่เคลมว่า มีหลักฐานอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง พิสูจน์ว่า ส่วนใหญ่แล้ว เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 แพร่ผ่านไปทางอากาศ
  • ผลการวิเคราะห์โดยคณะผู้เชี่ยวชาญ 6 ท่าน จากประเทศสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และแคนาดา  ระบุว่า มาตรการทางสาธารณสุขที่ผ่านมานั้น ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของการมองว่า โดยมากแล้ว ไวรัสสามารถแพร่ผ่านไปทางอากาศ (มากกว่าการแพร่ระบาดทางละอองน้ำลายเสียอีก) จึงทำให้ประชาชนไม่ได้รับการปกป้องเพียงพอ และเชื้อไวรัสยังแพร่ระบาดได้อยู่ 
  • พวกเขาเสนอว่า เป็นเรื่องเร่งด่วนที่องค์การอนามัยโลกและหน่วยงานทางสาธารณสุขประเทศต่างๆ ก็ต้องเอาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ด้านการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสนี้ ไปปฏิบัติใช้  เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคผ่านทางอากาศ
4. Dr. Anthony Fauci หมอใหญ่ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ NBC ในรายการ Meet the Press ถึงแนวทางปฏิบัติตนเรื่องโรคโควิด 19 ตาม guideline ใหม่ของ CDC
  • จริงๆ แล้ว ทางศูนย์ CDC ได้เคยระบุถึงความเสี่ยงในการจะเกิดการแพร่ระบาดในทางอากาศของโรคโควิด มาตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้วแล้ว แต่ยังไม่ได้เป็นประเด็นมากนัก จนกระทั่งช่วงนี้ที่คนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตในอาคาร สำนักงาน หรือโรงเรียน อีกครั้ง จึงจำเป็นที่จะต้องเน้นถึงมาตรการความปลอดภัยใหม่ ที่เราควรจะทำตาม
  • เมื่อเราทราบแล้วว่าเชื้อไวรัสสามารถจะไปได้ไกลเกินระยะไม่กี่ฟุตเหมือนอย่างที่เคยเชื่อกัน ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างนึงก็คือ การปรับอากาศอย่างเหมาะสม แล้วตามมาด้วยการใส่หน้ากากอนามัย
  • CDC ระบุว่า เราสามารถติดเชื้อโรคโควิดได้แม้จะอยู่ในระยะที่ห่างกัน ถ้าอยู่ด้วยกันเป็นระยะเวลานานในพื้นที่ปิด ตั้งแต่ 15 นาทีขึ้นไป / ไวรัสสามารถแขวนลอยอยู่ในอากาศ และทำให้คนที่เดินเข้าไปในนั้นติดโรคได้ (แม้ว่าผู้ติดเชื้อจะออกจากห้องแล้วก็ตาม) /  หรือในสถานการณ์ที่ผู้คนมาตะโกน ร้องเพลง  ออกกำลัง หายใจกันอย่างหนัก ก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่เชื้อโรคได้ 
     
ดังนั้น Dr. Fauci จึงแนะนำเรื่องการอยู่ร่วมกันในห้อง ในอาคาร หรือในพื้นที่ปิด ไว้ว่า
 
4.1 ต้องมีระบบการถ่ายเทอากาศที่ดี ....
การระบายอากาศที่เพียงพอสามารถลดความเข้มข้นของเชื้อไวรัสลงได้  ต้องมั่นใจว่าระบบปรับอากาศที่ใช้อยู่นั้น  มีการหมุนเวียนระหว่างอากาศจากภายนอกและอากาศภายใน อย่างเหมาะสมด้วย
4.2 แนะนำให้ใช้วิธีเปลี่ยนกะการทำงานกัน
รวมทั้งการประชุมแบบ outdoor นอกอาคาร
4.3 เปิดหน้าต่างและประตู เพื่อให้อากาศภายนอกแลกเปลี่ยนเข้ามาข้างในพื้นที่ทำงาน 
4.4 ติดตั้งพัดลมและเครื่องฟอกอากาศ ที่มีแผ่นกรองระดับ high-efficiency particulate air (“HEPA” เฮปป้า ) เพื่อช่วยกรองทำความสะอาดอากาศ ในพื้นที่ที่มีผู้คนอยู่หนาแน่น 
4.5 ถ้าเป็นไปได้ควรใช้บันได ดีกว่าใช้ลิฟท์ ซึ่งมักจะมีคนอยู่แออัด 
4.6 ถ้าในพื้นที่ปิดในอาคารนั้น มีคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ก็ต้องกำหนดให้มั่นใจว่า ได้ใส่หน้ากากอนามัยกัน เมื่ออยู่ในอาคาร 
(ทางศูนย์ CDC ยังคงแนะนำให้ใส่หน้ากากอนามัยทุกคน แม้ว่าจะได้รับการฉีดวัคซีนแล้วก็ตาม เมื่ออยู่ในอาคาร ... แต่สามารถออกไปทำกิจกรรม ออกกำลังกาย หรือชุมนุมเป็นกลุ่มเล็กๆ กลางแจ้ง ได้โดยไม่ต้องใส่หน้ากาก ถ้าฉีดวัคซีนครบโดสเรียบร้อยแล้ว) 

เพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์
11 พค 64
อ่านเพิ่มเติม

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด