ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

มะเร็งสมอง มะเร็งจากภาวะแพร่กระจายของมะเร็งชนิดอื่นๆ

มะเร็งสมอง มะเร็งจากภาวะแพร่กระจายของมะเร็งชนิดอื่นๆ Thumb HealthServ.net
มะเร็งสมอง มะเร็งจากภาวะแพร่กระจายของมะเร็งชนิดอื่นๆ ThumbMobile HealthServ.net

มะเร็งระยะแพร่กระจายไปที่สมองสามารถเกิดได้จากมะเร็งต้นกำเนิดเกือบทุกชนิด แต่ชนิดที่พบได้บ่อย ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งไต และมะเร็งผิวหนังชนิด malignant melanoma โดยมากกว่าครึ่งของผู้ที่มะเร็งระยะ แพร่กระจายมายังสมองจะมีก้อนเนื้องอกมากกว่า 1 ก้อน


 
เซลล์มะเร็งเดินทางมาที่สมองได้อย่างไร
เซลล์มะเร็งสามารถเดินทางจากตำแหน่งต้นกำเนิด ผ่านทางกระแสเลือดและระบบน้ำเหลือง ทำให้เกิดมะเร็งแพร่กระจายไปได้ ทั่วร่างกายรวมถึงสมอง
 

อาการแสดง
อาการของมะเร็งระยะแพร่กระจายไปที่สมองขึ้นอยู่กับตำแหน่งและขนาดของก้อน ดังนี้

- ปวดศีรษะ เนื่องจากก้อนเนื้องอกทำให้มีความดันในกะโหลกสูงขึ้นและกดเบียดเนื้อสมองข้างเคียง โดยอาการปวดมักจะ รุนแรงในช่วงเช้าและมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆในแต่ละวัน มักพบร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน

- การชัก เกิดจากการที่เนื้องอกไปรบกวนการนำกระแสประสาทในสมอง อาจพบได้ทั้งการชักบางส่วน เช่น กล้ามเนื้อเต้น กระตุก รับกลิ่นหรือรสผิดปกติ การพูดผิดปกติ การชา หรือชักทั่วทั้งตัวจนผู้ป่วยหมดสติ

- มีปัญหาในการพูด ความเข้าใจในการสื่อสาร การมองเห็น การอ่อนแรงหรือชาตามส่วนต่างๆ ของร่างกายเกิดจากการที่ ก้อนไปกดเบียดตำแหน่งที่ควบคุมการทำงานต่างๆในสมอง

- การเคลื่อนไหวผิดปกติ เกิดจากก้อนเนื้องอกไปรบกวนการส่งสัญญาณประสาทในการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ
 
ผู้ป่วยบางคนอาจไม่พบอาการต่างๆ ดังกล่าว แต่ตรวจพบมะเร็งได้โดยบังเอิญระหว่างการตรวจต่างๆ หรือระหว่างการ  ตรวจหาภาวะแพร่กระจายของมะเร็งชนิดอื่นๆ
 
 
มะเร็งสมอง มะเร็งจากภาวะแพร่กระจายของมะเร็งชนิดอื่นๆ HealthServ
 การวินิจฉัย
โดยปกติแพทย์จะใช้ประวัติ การตรวจร่างกายทางระบบประสาทและการทำภาคสะท้อนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อ วินิจฉัยมะเร็งระยะแพร่กระจายไปที่สมองและหาตำแหน่งของสมองที่ผิดปกติ
 
การรักษา
วิธีการรักษาต่างๆ ได้แก่ การผ่าตัด การฉายรังสี และการใช้เคมีบำบัด โดยอาจใช้วิธีเดียวหรือหลายวิธีร่วมกัน การพิจารณาทางเลือกในการรักษามะเร็งระยะแพร่กระจายไปที่สมองขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ จำนวนก้อนเนื้องอกตำแหน่ง ในสมอง ความเจ็บป่วยทางร่างกายอื่นๆ และระดับความแข็งแรงโดยรวมของผู้ป่วย

ที่มา : สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด