ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สธ.จับตา 13 จังหวัด อัตราติดเชื้อยังสูง เฝ้าติดตามแนวโน้มผู้ติดเชื้อหลังลอยกระทง

สธ.จับตา 13 จังหวัด อัตราติดเชื้อยังสูง เฝ้าติดตามแนวโน้มผู้ติดเชื้อหลังลอยกระทง Thumb HealthServ.net
สธ.จับตา 13 จังหวัด อัตราติดเชื้อยังสูง เฝ้าติดตามแนวโน้มผู้ติดเชื้อหลังลอยกระทง ThumbMobile HealthServ.net

เร่งสำรวจความเห็นประชาชนที่ไม่ยอมฉีดวัคซีนโควิด 19 ในทุกพื้นที่ เพื่อปรับกลยุทธ์-จูงใจ วางเป้าหมายฉีดครบ 100 ล้านโดส เดินหน้าเปิดประเทศปลอดภัย

สธ.จับตา 13 จังหวัด อัตราติดเชื้อยังสูง เฝ้าติดตามแนวโน้มผู้ติดเชื้อหลังลอยกระทง HealthServ
 กระทรวงสาธารณสุขกำชับทุกพื้นที่เร่งสำรวจความคิดเห็นประชาชนที่ไม่ยอมฉีดวัคซีนโควิด 19 เพื่อนำมาปรับกลยุทธ์จูงใจให้เข้ารับวัคซีนเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย 100 ล้านโดส เดินหน้าเปิดประเทศปลอดภัย เผยแนวโน้มสถานการณ์เริ่มคงที่ ป่วยหนักลดลง ยังต้องเฝ้าระวังคลัสเตอร์ต่าง ๆ และกลุ่มเสี่ยงต่อเนื่องถึงสิ้นปี

 
          นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์โควิด 19 ขณะนี้มีแนวโน้มผู้ติดเชื้อยืนยันคงที่ ขณะที่ผู้ป่วยอาการหนักลดลง ผู้เสียชีวิตยังอยู่ในหลักสิบราย โดยจังหวัดที่มีแนวโน้มต้องจับตามองเป็นพิเศษมี 13 จังหวัด แบ่งเป็น

1.ติดเชื้อเฉลี่ยเกิน 100 รายต่อวัน และผลตรวจ ATK มากกว่า 5% มี 5 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ตรัง สุราษฎร์ธานี กระบี่ และนครศรีธรรมราช

2.ติดเชื้อรายวันเฉลี่ยเกิน 100 รายต่อวัน และผลตรวจ ATK พบน้อยกว่า 5% มี 3 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น สระแก้ว และนครราชสีมา 

3.ติดเชื้อเฉลี่ย 50-100 รายต่อวัน มี 5 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี อุบลราชธานี อุดรธานี กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์
 
 

ปัจจัยเสี่ยงการแพร่ระบาดและเฝ้าระวัง

ช่วงเวลาขณะนี้ (พ.ย.64) มีปัจจัยเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 พิจารณาใน 2 ระดับ คือระดับใหญ่ภาพรวมของประเทศ และระดับรองคือชุมชนและบุคคล

ในระดับภาพรวมของประเทศ มี 4 ปัจจัย ที่เป็นความเสี่ยง คือ การเปิดประเทศ การเปิดเรียน การผ่อนคลายให้กิน-ดื่มในร้านอาหารได้ และการรวมตัวทำกิจกรรมต่างๆ 


ในระดับรองลงมา ปัจจัยการติดเชื้อในช่วงนี้ส่วนใหญ่มาจากในชุมชน ครอบครัว กิจกรรมเสี่ยง ได้แก่ งานศพ งานบุญ งานเลี้ยงสังสรรค์ และสถานที่เสี่ยง ได้แก่ ตลาด แคมป์คนงาน โรงงาน เรือนจำ โรงเรียน ซึ่งหลายจังหวัดพบเป็นคลัสเตอร์ ในสถานที่มีแรงงานต่างด้าว

สิ่งสำคัญ คือการต้องเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว และจับตาดูแนวโน้มผู้ติดเชื้อหลังงานลอยกระทง จนถึงเดือนธันวาคม เนื่องจากเป็นช่วงไฮซีซั่นมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะจากยุโรปซึ่งพบการติดเชื้อสูงขึ้น
 
  

มาตรการเชิงรุก

เพื่อให้พร้อมกับการเตรียมการเปิดประเทศ กระทรวงสาธารณสุขได้มอบหมายให้ทุกจังหวัด จัดทำแผนปฏิบัติการเน้นกำกับติดตามมาตรการ VUCA คือ

V: Vaccine นำประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะในกลุ่ม 608 โดยจัดบริการทั้งในและนอกสถานพยาบาล ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ จัดลงทะเบียน แรงงานต่างด้าวในชุมชน รวมถึงให้ อสม.ช่วยค้นหาเชิงรุก 

U: Universal Prevention ป้องกันตัวเองตลอดเวลา

C : Covid Free Setting สถานที่บริการมีความพร้อม ผู้ให้บริการฉีดวัคซีนครบ

A: ATK  เฝ้าระวังและตรวจหาเชื้อในกลุ่มเสี่ยง รวมถึงเฝ้าระวังชุมชนหนาแน่น และมีแรงงานต่างด้าว


นอกจากนี้ให้ทุกพื้นที่ช่วยสำรวจรวบรวมประเด็น เหตุผลที่คนไม่ยอมฉีดวัคซีน เพื่อนำมาปรับกลยุทธ์ อบรมทีมเชิงรุกในการให้ข้อมูลจูงใจให้เข้ารับวัคซีนให้เป็นไปตามเป้าหมาย 100 ล้านโดส



ภาพ ไทยพีบีเอส

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด