ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ผู้ติดเชื้อโควิด-19/ตรวจ ATK เป็นบวกใน จ.เชียงใหม่ ติดต่อศูนย์ประสานงาน ATK เชียงใหม่

ผู้ติดเชื้อโควิด-19/ตรวจ ATK เป็นบวกใน จ.เชียงใหม่ ติดต่อศูนย์ประสานงาน ATK เชียงใหม่ Thumb HealthServ.net
ผู้ติดเชื้อโควิด-19/ตรวจ ATK เป็นบวกใน จ.เชียงใหม่ ติดต่อศูนย์ประสานงาน ATK เชียงใหม่ ThumbMobile HealthServ.net

ศูนย์ประสานงาน ATK เชียงใหม่ จะมีเจ้าหน้าที่จะประสานและจับคู่กับสถานพยาบาล เพื่อรักษาตามระบบการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่บ้านต่อไป
ผู้ติดเชื้อโควิด-19 จะได้รับการดูแลจากสถานพยาบาล รับยาต้านไวรัสฟาวิพิราเวียร์ และยาพื้นฐานอื่นๆ พร้อมกับประสานส่งต่อโรงพยาบาลหากมีอาการรุนแรงขึ้น

ผู้ติดเชื้อโควิด-19/ตรวจ ATK เป็นบวกใน จ.เชียงใหม่ ติดต่อศูนย์ประสานงาน ATK เชียงใหม่ HealthServ
ผู้ติดเชื้อโควิด-19 จ.เชียงใหม่ที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบการรักษา
 
สามารถติดต่อได้ที่
? โทร.สายด่วน สปสช.1330 กด 14 ตลอด 24 ชั่วโมง
 
? ศูนย์ประสานงาน ATK เชียงใหม่
โทร.0654724315 , 0654724316 , 0654724317 ทุกวัน เวลา 08.30-20.00 น.


เจ้าหน้าที่จะประสานและจับคู่กับสถานพยาบาลเพื่อรักษาตามระบบการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่บ้านต่อไปผู้ติดเชื้อโควิด-19 จะได้รับการดูแลจากสถานพยาบาลรับยาต้านไวรัสฟาวิพิราเวียร์ และยาพื้นฐานอื่นๆ พร้อมกับประสานส่งต่อโรงพยาบาลหากมีอาการรุนแรงขึ้น

 
ผู้ที่เข้าเกณฑ์การทำ Home Isolation
  • ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการเล็กน้อยหรือไม่มีอาการ
  • อายุน้อยกว่า 75 ปี
  • มีสุขภาพแข็งแรง อาจมีโรคร่วมที่ควบคุมได้ (ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์)


ลักษณะที่พักอาศัยที่เหมาะสมกับการทำ Home Isolation
  • ผู้ติดเชื้อโควิดต้องอยู่ในที่พักอาศัยตลอดเวลา ไม่ให้ออกจากที่พัก
  • มีห้องนอนส่วนตัว หรือมีบริวณกว้างพอที่จะอยู่ห่างจากคนอื่นๆในบ้าน อากาศถ่ายเทได้ดี
  • มีผู้จัดหาอาหาร ของใช้ส่วนตัว โดยไม่ต้องออกจากที่พัก
  • สามารถติดต่อและเดินทางมาโรงพยาบาลได้สะดวก
 
อัพเดต แนวทางการแยกกักตัวที่บ้าน "Home Isolation" รับ Omicron ‼️
(ฉบับปรับปรุง 4 มกราคม 2564) - รพ.นครพิงค์
 
      ในช่วงปลายปี 2564 ต่อเนื่องจนถึงต้นปี 2565 ประเทศไทยพบการระบาดของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron เป็นวงกว้าง โดยพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ เป็นผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงหรือไม่มีอาการ ซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หรืออยู่ในโรงพยาบาลเพียงระยะสั้นๆ แล้วสามารถกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านหรือศูนย์แยกโรคต่างๆได้ ดังนั้นการทำ Home Isolation จึงน่าจะเป็นหนึ่งในแนวทางหลักในการดูแลผู้ป่วยโควิดระลอกนี้
 
     กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้มีการปรับปรุงแนวทางการแยกกักตัวที่บ้าน Home Isolation ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยมีรายละเอียดดังนี้
 
    จากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่า ผู้ป่วยโควิด-19 จะเริ่มแพร่เชื้อก่อนมีอาการ 2-3 วัน ไปจนถึงสิ้นสุดสัปดาห์แรกของการป่วย แม้ในผู้ป่วยที่มีอาการน้อยหรืออาการดีขึ้นแล้ว ก็ยังสามารถพบเชื้อไวรัสได้ในสารคัดหลั่ง เป็นระยะเวลาประมาณ 10 วันหลังจากเริ่มป่วย ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรแยกกักตัวจากผู้อื่นอย่างน้อย 10 วัน นับตั้งแต่วันที่เริ่มป่วยหรือตรวจพบเชื้อ หากครบ 10 วันแล้วยังมีอาการก็ควรกักตัวต่อ จนกว่าอาการจะหายไม่น้อยกว่า 24 ชม. เพื่อลดโอกาสแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่น หลังจากกักตัวครบก็ยังคงต้องใส่หน้ากากอนามัยและปฏิบัติตามมาตรการ New normal ต่อไป 
 
     ⭐ผู้ที่เข้าเกณฑ์การแยกกักตัวที่บ้าน
   - เป็นผู้ติดเชื้อโควิดที่มีอาการไม่รุนแรงหรือไม่มีอาการ
   - มีสุขภาพแข็งแรง อาจมีโรคร่วม ที่รักษาและควบคุมได้ ตามดุลยพินิจของแพทย์
   - อายุน้อยกว่า 75 ปี
   - ยินยอมแยกกักตัวในที่พักของตัวเอง 
 
     ⭐ลักษณะบ้านพักที่เหมาะสม
   - ผู้ป่วยโควิดต้องอยู่ในที่พักอาศัยตลอดระยะเวลา โดยไม่ให้ออกจากที่พัก
   - มีห้องนอนส่วนตัว หรือมีพื้นที่กว้างพอ ให้นอนห่างจากผู้อื่น เปิดประตูหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเท
   - มีผู้จัดหาอาหารและของใช้ที่จำเป็นโดยผู้ป่วยไม่ต้องออกมาจัดหาเอง
   - ผู้อยู่อาศัยร่วมบ้าน สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำเรื่องสุขอนามัย และการแยกจากผู้ป่วยได้
   - สามารถติดต่อกับโรงพยาบาลและสามารถเดินทางมาโรงพยาบาลได้สะดวก 
 
     ⭐ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยในการแยกกักตัวที่บ้าน
   - ไม่ให้บุคคลอื่นมาเยี่ยมที่บ้านและงดออกจากบ้าน
   - อยู่ในห้องส่วนตัวตลอดเวลา หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับบุคคลอื่นในบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง หากยังมีอาการไอ,จาม ให้ใส่หน้ากากอนามัย(ไม่แนะนำหน้ากากผ้า)แม้ขณะที่อยู่ในห้องส่วนตัว
   - หากจำเป็นต้องใกล้ชิดผู้อื่น ให้ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาและเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร หรือประมาณ 1 ช่วงแขน หากไอจาม ไม่ควรอยู่ใกล้ผู้อื่น หรือต้องเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร
   - การไอ,จามขณะสวมหน้ากากอนามัย ไม่ต้องเอามือปิดปาก ไม่ถอดหน้ากากอนามัยออก หากไอจามขณะไม่ใส่หน้ากากอนามัย ให้ใช้ต้นแขนด้านในปิดปากปิดจมูก
   - ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์หรือสบู่เป็นประจำ
   - มารดาสามารถให้นมบุตรได้ แต่ต้องใส่หน้ากากอนามัยและล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
   - ใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่น หากจำเป็นต้องใช้ร่วมกับผู้อื่น ให้ใช้เป็นคนสุดท้าย ปิดฝาชักโครกก่อนกดน้ำ และทำความสะอาดห้องน้ำและสุขภัณฑ์ด้วย น้ำยาฟอกผ้าขาว 5% โซเดียมไฮโปคลอไรท์ เช่น ไฮเตอร์,คลอรอกซ์ โดยใช้น้ำยาฟอกผ้าขาว 1 ส่วนต่อน้ำ 99 ส่วน หากใช้น้ำยาฟอกผ้าขาวชนิด 0.5% ให้ใช้น้ำยาฟอกผ้าขาว 1 ส่วนต่อน้ำ 9 ส่วน
   - แยกของใช้ส่วนตัวกับผู้อื่น เช่น จาน ช้อน ส้อม แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์
   - ไม่รับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
   - ซักเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูเตียง ได้ตามปกติ
   - ทิ้งหน้ากากอนามัยและขยะปนเปื้อนสารคัดหลั่ง ในถุงขยะแยก ปิดปากถุงให้มิดชิด 
 
     ⭐คำแนะนำเพิ่มเติม
   - เมื่อท่านทราบผลการตรวจว่าติดเชื้อโควิด จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อท่าน หรือ โทร 1330 กด 14 เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษา
   - ท่านจะได้รับการติดตามอาการจาก บุคคลากรทางการแพทย์ 
   - สังเกตุอาการตนเอง วัดไข้ และออกซิเจนปลายนิ้วทุกวัน
   - หากมีอาการแย่ลง เช่น ไข้สูงกว่า 39°C หอบเหนื่อย ค่าออกซิเจนปลายนิ้วต่ำกว่า 94% ให้รีบติดต่อเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลที่ดูแลท่านอยู่
   - เมื่อต้องเดินทางไปรพ.ให้ใช้รถยนต์ส่วนตัวหรือรถรพ.มารับ ไม่ใช้รถสาธารณะ ขณะโดยสารให้ทุกคนใส่หน้ากากอนามัย และเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท 
 
     ⭐ เกณฑ์การส่งตัวผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาล
     - เมื่อมีอาการไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส ระยะเวลานานกว่า 24 ชั่วโมง
      -หายใจเร็วกว่า 25 ครั้ง ต่อนาทีในผู้ใหญ่
      - Oxygen Saturation < 94%
      - โรคประจำตัวที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือจำเป็นต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ตามดุลยพินิจของแพทย์
ผู้ติดเชื้อโควิด-19/ตรวจ ATK เป็นบวกใน จ.เชียงใหม่ ติดต่อศูนย์ประสานงาน ATK เชียงใหม่ HealthServ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด