20 มกราคม 65 ศบค.เปิดแนวทาง การบริหารจัดการวัคซีนโควิด 19 เดือนกุมภาพันธ์ 2565
จำแนกเป็น 4 แผนงาน ดังนี้
1. แผนบริการฉีดวัคซีนในกลุ่มเด็กอายุ 5-11 ปี
- แผนการจัดสรรวัคซีน
- แผนการฉีดวัคซีน Pfizer ผ่านระบบสถานศึกษา
2. แผนการรณรงค์เร่งรัดการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโควิด 19 ในจังหวัดพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยวและพื้นที่ระบาดเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และเปิดการเดินทาง
- แผนการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น
3. แผนการส่งคืนวัคซีนแลกเปลี่ยนคืนต่างประเทศ
- ส่งคืนประเทศสิงคโปร์ และภูฏาน
4. แผนการบริจาควัคซีนแก่ต่างประเทศ
(กระทรวงการต่างประเทศนำเสนอรายละเอียดเพิ่มเติม)
- ประเทศเพื่อนบ้านและประเทศในทวีปแอฟริกา ผ่านโครงการ African Vaccine Association Trust (AVAT) หรือองค์การอนามัยโลก
- ดำเนินการร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ
การปรับฐานประชากรการรับวัคซีน
การปรับฐานประชากรสำหรับกำกับติดตามการได้รับวัคซีนของประเทศไทย
ความเป็นมา
- ประชากรมีการเกิด เคลื่อนย้าย และเสียชีวิต ในระหว่างปี
- มีมาตรการจำกัดการเดินทาง และมีชาวต่างชาติเดินทางกลับประเทศ
- เพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริงและเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับติดตามการให้บริการวัคซีน
ขั้นตอนดำเนินการ
1. ทบทวนฐานข้อมูล
จำนวนประชากรจากแหล่งต่างๆ ดังนี้ เช่น
- ฐานประชากรตามประกาศสำนักทะเบียนกลาง กระทรวงมหาดไทย จำนวนประชากร 66.17 ล้านคน
- ฐานประชากรตามสิทธิการรักษาจากข้อมูลจังหวัด จำนวนประชากร 60.66 ล้านคน
- ฐานประชากรไทยตามสิทธิการรักษาจากข้อมูล สปสช. จำนวนประชากร 66.78 ล้านคน ร่วมกับ ฐานประชากรต่างชาติตามสิทธิการรักษาจากพื้นที่ จำนวนประชากร 1.8 ล้ถ้านคน รวมจำนวนประชากไทยและต่างชาติตามสิทธิการรักษา 68.60 ล้านคน
2.เปรียบเทียบฐานข้อมูล
จากแหล่งต่างๆ ให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริง
3. สรุปฐานข้อมูลที่เลือกใช้
ได้แก่ ฐานประชากรไทยและต่างชาติตามสิทธิการรักษา จำนวนประชากร 68.60 ล้านคน โดยมีเหตุผล ดังนี้
- เป็นฐานจำนวนประชากรที่ใกล้เคียงกับฐานประชากรตามประกาศสำนักทะเบียนกลาง กระทรวงมหาดไทย
- สะท้อยถึงแหล่งที่อาศัยอย์จริงของประชากร
4. จัดทำฐานข้อมูลรวม
โดยใช้ฐานประชากรไทยและต่างชาติตามสิทธิการรักษา (68.60 ล้านคน) รวมกับ การสำรวจจำนวนประชากรที่
ไม่มีสิทธิการรักษาทั้งที่มีสัญชาติไทยและไม่มีสัญชาติไทยจากแต่ละจังหวัด (0.96 ล้านคน) รวมเป็น 69.60 ล้านคน