กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เผยแพร่แนวทางการจัดตั้ง “คลินิกรักษาผู้ป่วย Long COVID” โดยแบ่งแนวทางการจัดการออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่
1. การให้บริการ
- บริการ ดูแลผู้ป่วย COVID-19 ที่พ้นระยะเฉียบพลันและยังคงมีอาการผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย ครอบคลุมการให้คำปรึกษา การตรวจประเมิน การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือตรวจพิเศษ การวินิจฉัย การดูแลรักษา ติดตามอาการ และการส่งต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (กรณีจำเป็น)
- รูปแบบ บริการผู้ป่วยนอก (นัดหมายการรับบริการ/ ให้บริการผ่านระบบการแพทย์ทางไกลหรือโทรเวช) ทั้งคลินิก Long COVID และ/หรือ คลินิกเสมือนจริง (Virtual clinic)
- สถานที่ จัดตั้งในสถานพยาบาลทุกระดับ โดยเฉพาะระดับปฐมภูมิเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้สะดวก
- วันเวลา ในเวลาราชการ (อาจดำเนินการเฉพาะวันโดยเน้นระบบการนัดหมายล่วงหน้า)
2. บุคลากรที่ให้บริการ
บุคลากรที่ปฏิบัติงานในคลินิก Long COVID สามารถปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติที่กรมการแพทย์เสนอ
1) คลินิก Long COVID ระดับปฐมภูมิได้แก่ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป/แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข หรือนักวิชาชีพอื่นๆ เช่น นักกายภาพบำบัด เป็นต้น
2) คลินิก Long COVID ระดับทุติยภูมิได้แก่ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป/แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
อายุรแพทย์แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาชีพอื่นๆ
เช่น นักกายภาพบำบัด นักโภชนบำบัด เป็นต้น
3) คลินิก Long COVID ระดับตติยภูมิได้แก่ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป/แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
อายุรแพทย์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และแพทย์ฉเพาะทางสาขาต่างๆ เพื่อรับปรึกษา เช่น
จิตแพทย์ อายุรแพทย์ระบบทางเดินหายใจ อายุรแพทย์ระบบประสาท เป็นต้น พยาบาลวิชาชีพ
นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาชีพอื่นๆ เช่น นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักโภชน
บำบัด เป็นต้น
หมายเหตุ : ควรมีระบบการสื่อสารและการเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
(อสม.) เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการของผู้ป่วย
3. ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง
- สามารถเชื่อมโยงกับระบบข้อมูลผู้ป่วยของสถานพยาบาลหลัก และฐานข้อมูลตามสิทธิ
การรักษาพยาบาล มีฐานข้อมูลที่จำเป็นและส่งต่อข้อมูลได้กรณีต้องส่งตัวเพื่อรับการรักษาเพิ่มเติม หรือส่งประมวลผลข้อมูลการวินิจฉัย การดูแลรักษาไปยังฐานข้อมูลกลางของกระทรวง สาธารณสุข - สามารถดำเนินการให้บริการผ่านระบบการแพทย์ทางไกล หรือโทรเวชได้ - ช่องทางการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับบุคลากรประจำคลินิก Long COVID - มีระบบการป้องกันความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน
4. การเข้าถึงระบบ/ผลิตภัณฑ์/บริการ
- จัดระบบให้คำแนะนำผู้ป่วย COVID-19 ก่อนจำหน่ายในทุกรูปแบบการรักษาพยาบาลให้ สามารถเข้าถึงช่องทางการให้ความรู้เรื่อง Long COVID - จัดระบบการนัดหมายผู้ป่วย COVID-19 เพื่อติดตามอาการ
5. ระบบการเงินการคลัง
- สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิของผู้ป่วยได้ - งบดำเนินการคลินิก Long COVID ทั้งรูปแบบคลินิกผู้ป่วยนอกปกติ และคลินิกเสมือนจริง (Virtual clinic)
6. ภาวะผู้นำการอภิบาล
มีการมอบนโยบายการปฏิบัติ ระบบการสนับสนุน กำกับ ติดตามและประเมินผลอย่างมี ประสิทธิภาพ
ในส่วนของรูปแบบ คลินิกจะให้บริการแบบผู้ป่วยนอก ผ่านการนัดหมายการรับบริการหรือให้บริการผ่านระบบพบแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ทั้งคลินิก Long COVID และคลินิกเสมือนจริง (Virtual clinic) โดยสถานที่และวันเวลานั้น ใช้การจัดตั้งในสถานพยาบาลทุกระดับ โดยเฉพาะหน่วยบริการระดับปฐมภูมิเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้สะดวกรวดเร็ว ซึ่งจะเปิด-ปิด ตามเวลาราชการ หรืออาจดำเนินการเฉพาะวันโดยเน้นระบบการนัดหมายล่วงหน้า