ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

น้ำหนักตัวทุกกิโลที่เพิ่มขึ้นเป็นเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคโควิดที่รุนแรง - นพ.โอภาส พุทธเจริญ

น้ำหนักตัวทุกกิโลที่เพิ่มขึ้นเป็นเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคโควิดที่รุนแรง - นพ.โอภาส พุทธเจริญ Thumb HealthServ.net
น้ำหนักตัวทุกกิโลที่เพิ่มขึ้นเป็นเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคโควิดที่รุนแรง - นพ.โอภาส พุทธเจริญ ThumbMobile HealthServ.net

น้ำหนักตัวทุกกิโลที่เพิ่มขึ้นเป็นเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคโควิดที่รุนแรง - นพ.โอภาส พุทธเจริญ

น้ำหนักตัวทุกกิโลที่เพิ่มขึ้นเป็นเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคโควิดที่รุนแรง - นพ.โอภาส พุทธเจริญ HealthServ

น้ำหนักตัวทุกกิโลที่เพิ่มขึ้นเป็นเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคโควิดที่รุนแรง

      ปัจจัยที่คนมักจะนึกถึงว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโควิดที่รุนแรงคือ สูงอายุ มีโรคประจำตัว แต่ที่น้ำหนักเกินก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคที่รุนแรง มีการศึกษาพบว่าอัตราการนอนโรงพยาบาลสูงขึ้นตามน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น เหตุที่คนอ้วนอาจมีโอกาสที่เกิดโรคที่รุนแรงกว่าเป็นจากปอดทีทำงานลดลง ภูมิคุ้มกัน T cell ทำงานน้อยกว่าปกติ เกิดลิ่มเลือดในปอดได้ง่ายขึ้น หรือบางคนเป็นเบาหวาน ปัจจัยทั้งหมดเพิ่มความรุนแรงของโรค ดังนั้นแม้ว่าจะอายุน้อยๆ ถ้าอ้วนก็มีโอกาสเกิดโรคที่รุนแรงเสียชีวิตจากโควิดได้เท่าคนอายุมาก
 
    ในกราฟเป็นรูปจากการศึกษาวารสาร PNAS ผู้ป่วยในประเทศอังกฤษที่พบว่าอัตราการนอนโรงพยาบาลในผู้ที่ติดเชื้อโควิดสูงขึ้นตามดัชนีมวลกาย ถ้าดัชนีมวลกายมากกว่า 35 อัตราการนอนโรงพยาบาลสูงกว่าคนปกติเกือบสองเท่า
 
     คนไข้โควิดรายหนึ่งที่มีอาการหนักส่งมารักษาต่อเป็นปอดอักเสบรุนแรง อาการของปอดอักเสบเกิดขึ้นเร็วมาก ทั้งที่ได้ยาต้านไวรัสตั้งแต่เนิ่นๆ สุดท้ายก็ต้องใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องพยุงการทำงานของปอดและหัวใจเนื่องจากปอดอักเสบรุนแรงแทบจะไม่ทำงานเลย
 
เอกสารอ้างอิง
PNAS: https://www.pnas.org/content/117/35/21011
Photo : Science Mag

 
Opass Putcharoen
5/1/2564

นพ.โอภาส พุทธเจริญ 
หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก 
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ดัชนีมวลกาย สำคัญอย่างไร
อ.ดร.พญ.ถิรจิต บุญแสน
 
การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย นอกจากเราได้ทราบถึงรูปร่างและสัดส่วนแล้ว ยังทำให้เราทราบถึงความเสี่ยงการเกิดโรคต่าง ๆ ได้จริงหรือ แล้วค่าดัชนีมวลกายเป็นตัวบ่งชี้อะไรได้บ้าง จะมาไขคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้
 
  • ค่าดัชนีมวลกาย Body Mass Index หรือเรียกย่อ ๆ ว่า BMI คือ ตัวชี้วัดมาตรฐานเพื่อประเมินสภาวะของร่างกายว่า มีความสมดุลของน้ำหนักตัวต่อส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่
  • ค่า BMI สามารถใช้เป็นเครื่องมือคัดกรองเพื่อระบุผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรือภาวะอ้วนและผู้ที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานในผู้ใหญ่ที่อายุ 20 ปีขึ้นไป
  • ค่า BMI คำนวณจาก ค่าของน้ำหนักตัวหน่วยเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงหน่วยเป็นเมตร ยกกำลัง 2 และแสดงในหน่วย กก./ม2
 
ดัชนีมวลกาย (BMI)   =   น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร)2

โดยสามารถแปลผลค่า BMI ได้ดังนี้
  • ค่า BMI < 18.5              แสดงถึง            อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักน้อยหรือผอม
  • ค่า BMI 18.5 – 22.90     แสดงถึง            อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ค่า BMI 23 – 24.90        แสดงถึง            น้ำหนักเกิน
  • ค่า BMI 25 – 29.90        แสดงถึง            โรคอ้วนระดับที่ 1
  • ค่า BMI 30 ขึ้นไป            แสดงถึง            โรคอ้วนระดับที่ 2
ในกรณีที่มีค่าดัชนีมวลกายสูง และถูกวินิจฉัยว่ามีภาวะน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ก็อาจทำให้เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพมากมาย ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง ระดับโคเลสเตอรอลและระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี โรคข้อเข่าเสื่อม ภาวะการหยุดหายใจขณะหลับหรือปัญหาในการหายใจ และโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ
 
อย่างไรก็ตาม การแปลผลค่า BMI ในนักกีฬา นักเพาะกายที่มีมวลกล้ามเนื้อสูง หรือผู้ป่วยโรคตับ ไต ที่มีภาวะบวมน้ำ อาจมีค่า BMI สูงได้โดยที่ไม่ได้มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วนได้
 
เมื่อทราบผลค่าดัชนีมวลกายแล้ว ต้องปฏิบัติตัวเองเพื่อให้ห่างไกลโรค ดังนี้
  1. เลือกการบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม โดยเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ โดยเฉพาะธัญพืช ผัก และผลไม้ ไม่ควรรับประทานอาหารมื้อหลักเกินวันละ 3 มื้อ และเลือกรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ หลีกเลี่ยงหรือลดการรับประทานอาหารมื้อหนักที่ต้องรับประทานมาก ๆ เช่น อาหารบุฟเฟ่ต์ อาหารที่มีไขมันหรือน้ำตาลสูง ของมัน ของทอด เนื้อสัตว์ติดมัน และเลือกดื่มน้ำเปล่าหรือ  นมไขมันต่ำแทนน้ำหวาน น้ำอัดลม และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  2. การออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายด้วยกิจกรรมที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายอย่างน้อย 150 – 300 นาที / สัปดาห์ ด้วยการเดิน วิ่ง เต้นแอโรบิก ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ การออกกำลังกายเฉพาะส่วน อย่างการใช้เครื่องออกกำลังกาย การยกน้ำหนักหรือออกกำลังกายแบบผสมผสานกันหลายประเภท การออกกำลังกายไม่ได้จำกัดแต่เพียงในโรงยิม เพราะสามารถเปลี่ยนกิจกรรมที่ทำในชีวิตประจำวันให้เป็นการออกกำลังกายไปในขณะเดียวกันได้ด้วย เช่น การทำงานบ้านด้วยตัวเอง ลดการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกลง เดินให้มากขึ้น

 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด