- ไม่มีหลักฐานว่าสตรีตั้งครรภ์มีโอกาสติดเชื้อง่ายขึ้น
- อาการนำทางคลินิกในตรีตั้งครรภ์คล้ายคลึงกับคนทั่วไป
- อาการที่พบบ่อยที่สุดคือ ไข้ และ ไอ
- ยังไม่มีข้อมูลว่าสตรีตั้งครรภ์มีอาการรุนแรงกว่าคนทั่วไป
- ส่วนใหญ่คลอดโดยการผ่าตัดคลอด
- ยังไม่พบการติดต่อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ผ่านรก
- ไม่พบการเสียชีวิตของมารดาและทารกแรกเกิด
- การดูแลรักษาใช้แนวทางที่ปฏิบัติในโรค SARS และ MERS
- ไม่พบเชื้อในน้ำนม จากตัวอย่างที่สุ่มตรวจ
จึงอาจกล่าวได้ว่าในปัจจุบันยังมีข้อมูลไม่มากพอกี่ยวกับสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคโควิด-19 ซึ่งต้องมีการเก็บข้อมูลศึกษาเพิ่มเติม โดยเฉพาะผลของ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสตรีตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1 และ 2 รวมทั้งผลต่อทารกในครรภ์ ซึ่งคงต้องรอให้สตรีตั้งครรภ์กลุ่มนี้มีอายุครรภ์ครบกำเนิดหรือทยอยคลอดบุตรออกมาเสียก่อน
ข้อมูล ณ วันที่ 1 เมษายน 2563
ที่มา : รศ.นพ.สมชาย ธนวัฒนาเจริญ
/////////////
เพิ่มเติมจากกรมการแพทย์
โอกาสติดเชื้อ 2-5%
เกิดโอกาสคลอดก่อนกำหนด
ไม่มีรายงานการแท้งเอง
นพ.สมศักดิ์ อรรคศิลป์
กรมการแพทย์