อนาคตพืชเศรษฐกิจใหม่กับอุตสาหกรรมแปรรูปกัญชาThe Future of Value Chain in Cannabis Industry
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรชีวภาพหลากหลายมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ความ
หลากหลายทาง ชีวภาพ (Biodiversity) หรือ ทรัพยากรชีวภาพ (Bio resource) เป็นฐานสำคัญของ
การเกษตร ยารักษาโรค และต่อเศรษฐกิจของประเทศ พืชกัญชา กัญชงก็ยังมีความสำคัญไม่แพ้กันด้วยกระแส
ความนิยมที่ปัจจุบันถือว่าเป็นพืชที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในวงการแพทย์ การใช้พืชกัญชาเพื่อเป็นส่วนประกอบ
ในอาหารและใช้ประกอบในตำรับยาไทยตามภูมิปัญญาชาวบ้านมาอย่างกว้างขวางและยาวนาน ดังจะเห็นจาก
มีการบันทึกในตำราพระโอสถ พระนารายณ์และตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ทางกรมการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือกได้คัดเลือก ตำรับยาที่มีกัญชาตามภูมิปัญญาไทยคำว่า Ganja สันนิษฐานว่ามาจากภาษา
Bengali ปรากฎในจารึกภาษาสันสกฤติของศาสนาฮินดู หมายความถึง Cannabis พืชล้มลุกให้ดอกในตระกูล
Cannabaceae (ประเภทเดียวกับปอ) ที่รู้จักแพร่หลายมี 2 สายพันธุ์ใกล้เคียงกันคือ กัญชง (Hemp –
Cannabis sativa L. subsp. Sativa) และกัญชา (Marijuana – Cannabis sativaforma indica)
กัญชา มีต้นกำเนิดแถบเอเชีย มีส่วนเส้นใยที่นำมาใช้ประโยชน์ ในขณะที่กิ่งก้าน ใบ และช่อดอก จะ
ถูกนำมาทำเป็นกัญชาแห้ง และสกัดเป็นนำมันเพราะเป็นพืชกลุ่มสมุนไพรเพื่อนำไปใช้ทางการแพทย์และ
ส่วนประกอบทางอาหารเฉพาะกลุ่มที่บริโภคกัญชา และในกลุ่มประเทศที่กฎหมายรองรับ ในกัญชาแต่ละสาย
พันธุ์จะมีส่วนประกอบทางเคมีต่างๆ กัน ซึ่งเภสัชศาสตร์ การแพทย์ การเกษตรและสาขาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ
การพัฒนา สารสกัดกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์นั น ส่วนกัญชงหรือเฮมพ์มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
Cannabis sativa L. subsp. Sativa Sativa เป็นสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับกัญชา แต่มีปริมาณของสาร THC
(Tetrahydrocannabinol) ค่อนข้างต่ำ ไม่เกิน 1% และมีสาร CBD (Cannabidiol) ในปริมาณที่สูง เส้นใย
ของกัญชงมีประโยชน์ในด้านต่างๆ มากมาย ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์กระดาษ, สิ่งทอ, พลาสติก, ผลิตภัณฑ์
ก่อสร้าง, เชื อเพลิง ส่วนเมล็ดกัญชงและสารสกัดกัญชงซึ่งถูกควบคุมภายใต้กฎหมายยาเสพติดประเภท 5 นั น
พบว่า มีรายงานวิจัยและมีการใช้ประโยชน์นำมันที่สกัดจากเมล็ดกัญชงในต่างประเทศ นำมันเมล็ดกัญชงมี
ปริมาณ THC น้อย แต่มีปริมาณโอเมก้า 3 และโปรตีนสูง จึงมีคุณค่าทางโภชนาการที่ช่วยบำรุงหัวใจ กระตุ้น
สมอง กระตุ้นระบบ ภูมิคุ้มกัน ลดความดันโลหิตและไขมันในเลือด ช่วยบำรุงผิวหนังและเส้นผม สามารถช่วย
ในการรักษาโรคข้ออักเสบ ปรับปรุงระบบย่อยอาหาร และช่วยรักษาโรคมะเร็ง สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อ
เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, นำมัน essential oil, ยา, อาหารและเครื่องสำอาง
ปัจจุบัน ตลาดกัญชาโลก มีแนวโน้มที่จะแทรกเข้าไปอยู่แทบทุกอุตสาหกรรมการบริโภค โดยคาดว่าตลาดกัญชาโลกทั งที่ถูกกฎหมาย และผิดกฎหมาย มีมูลค่าสูงถึง 150,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าตลาดที่ถูกกฎหมายจะเติบโตถึง 77 % ของตลาดทั้งหมดคาดการณ์ยอดขายในปี พ.ศ. 2568 จะอยู่ที่ประมาณ 166,000 ล้ำนเหรียญดอลลำร์สหรัฐ(ที่มำของข้อมูล:
radiostud) หากมีกฎหมายรองรับกัญชาและผลิตภัณฑ์
กัญชามากขึ น คาดว่าภายในปี พ.ศ. 2573 กัญชาจะเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันของผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นส่วนผสมที่ใช้งานได้ในอาหารเครื่องดื่มและความงามหรือเป็นตัวเสริมอารมณ์เพื่อสุขภาพ
สำหรับอุตสาหกรรมกัญชาในตลาดโลก พบว่า ประเทศแคนาดาเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศ G7 แห่งแรกที่ออกกฎหมายกัญชา จากรายงานที่จัดทำโดย Deloitte กัญชามียอดขายในแคนาดาในปี 2019 ประมาณ 7.17 พันล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ โดยนับรวมยอดขายที่ผิดกฎหมาย และถูกกฎหมาย และมียอดขายผลิตภัณฑ์กัญชาที่ถูกกฎหมายประมาณ 4.34 พันล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของยอดขายทั้งหมด
แคนาดามีการใช้กัญชาในปริมาณมาก และคาดว่ากัญชาจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในหมวดอาหารและ
เครื่องดื่ม ซึ่งจะเห็นผลิตภัณฑ์กัญชาที่กินได้ซึ่งรวมอยู่ใน Bill C-45 (พระราชบัญญัติกัญชา) ซึ่งเปิดโอกาส
สำหรับอาหารเพื่อสุขภาพและอาหารเสริม, ของว่าง, อาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน, ร้านอาหารและการ
ท่องเที่ยว รายงาน Deloitte เมื่อเร็วๆ นี พบว่าร้อยละ 58 ของผู้ใช้กัญชาในแคนาดา มีความตั งใจที่จะบริโภค
อาหารที่มีส่วนผสมของกัญชาที่ถูกกฎหมาย แต่แนวคิดด้านพัฒนากัญชาให้เป็นส่วนผสมในอาหารจะต้อง
ดำเนินการในปริมาณที่เหมาะสมและเพื่อป้องกันการบริโภคของเด็กและสัตว์ วิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ตลาด
สำหรับผลิตภัณฑ์กัญชาในแคนาดาจะต้องผ่านกฎหมาย 3 ด้านได้แก่ พระราชบัญญัติกัญชา พระราชบัญญัติ
ยาและสารควบคุม และพระราชบัญญัติอาหารและยา
หากประเทศไทยต้องการที่จะส่งเสริมนโยบายทางด้านกัญชาต้องทำการศึกษาแนวทางการพัฒนาและ
ส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปกัญชาและความเป็นไปได้ของสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการรองรับพืช
เศรษฐกิจใหม่ไม่ว่าจะเป็นด้านผลิตภัณฑ์ตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) ของกัญชา (cannabis) ตลอดจนสถานภาพการเพาะปลูกและอุตสาหกรรมการแปรรูปกัญชา ศึกษาสภาวะการผลิต การแข่งขัน การตลาด
แนวโน้มความต้องการผลิตภัณฑ์จากกัญชาทั งภายในและต่างประเทศในอนาคต รวมถึงกฎหมายกฎระเบียบ
นโยบาย และมาตรการสนับสนุน ข้อจำกัด สภาพปัญหา อุปสรรคในการพัฒนา รวมทั งฐานข้อมูลเชิงลึก
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์กัญชา จัดทำแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปกัญชาและกัญชงของไทยให้เอื อต่อการลงทุนและเติบโตอย่างยั่งยืน
ที่มาข้อมูล: https://radiostud.io/future-of-value-chain-in-the-cannabis-industry/
งานประชุมวิชาการ เรื่อง การวิจัยและพัฒนาสารสกัดกัญชาและกัญชงทางการแพทย์เพื่อการพัฒนาประเทศ
สถาบันอาหาร สิงหาคม 2562