สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ที่ได้มาตรฐานของประเทศไทย
"Organic Thailand's Brand" กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
คำจำกัดความของการเกษตรอินทรีย์
สำนักงาน มาตรฐานสนค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้คำจำกัดความของเกษตรอินทรีย์ไว้ว่า “เกษตร อินทรีย์ (Organic agriculture) หมายถึง ระบบการจัดการการผลิตด้านการเกษตรแบบ องค์รวม ที่เกื้อหนุนต่อระบบนิเวศรวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ วงจรชีวภาพโดยเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติหลีกเลี่ยงการใช้วัตถุดิบจากการ สังเคราะห์ และไม่ใช้พืชสัตว์ หรือจุลินทรีย์ ที่ได้มาจากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรม(genetic modification) หรือพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) มีการจัดการกับผลิตภัณฑ์โดยเน้นการแปรรูป ด้วยความระมัดระวัง เพื่อรักษาสภาพการเป็นเกษตรอินทรีย์และคุณภาพ ที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน”
การออกใบรับรองการผลิตพืชอินทรีย์
กรมวิชาการเกษตร ได้ออกใบรับรอง มาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ให้แก่เกษตรกร และผู้ผลิต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ตามมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ของประเทศไทย (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่18 เมษายน 2544) โดยเกษตรกรหรือผู้ผลิตจะต้องยื่นใบสมัครขอใบรับรองการผลิตพืชอินทรีย์ ที่
- โครงการเกษตรอินทรีย์ ตึกกสิกรรม ชั้น 2 กรมวิชาการเกษตร จตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์0-2579-7520 โทรสาร 0-2940-5472
- หน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะที่ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 - 8
หลัง จากนั้น ผู้ตรวจประเมิน (Inspector) ที่ได้รับมอบหมายจะออกไปตรวจสอบพื้นที่การผลิต แล้วรายงานให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบออกใบรับรองมาตรฐานปัจจัยการผลิต และผลิตพืชอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร เพื่อพิจารณาอนุมัติออกใบรับรองเป็นประกาศนียบัตร ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ(ถ้าร้องขอ) พร้อมกับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ Organic Thailand พิมพ์บน บรรจุภัณฑ์ เพื่อแสดงว่าเป็นผลิตภัณฑ์อินทรีย์ ใบรับรองมีอายุเพียง 1 ปี ดังนั้น จึงต้องยื่นใบสมัครขอต่ออายุทุกปี ในขณะนี้การขอรับรองการผลิตพืชอินทรีย์ จากกรมวิชาการเกษตรไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น
การตรวจสอบออกใบรับรองมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร
อันเนื่องมาจากการประกาศใช้มาตรฐานการผลิตพืช อินทรีย์ของประเทศไทย โดยกรมวิชาการเกษตร เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2544 โดยมีรายละเอียดตามหัวข้อต่าง ๆ รวมทั้งภาคผนวก เพื่อให้เกิดการผลิตพืชอินทรีย์ภายในประเทศเป็นไปตามมาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ และเพื่อให้เกิดความมั่นคงและมั่นใจในระบบการผลิต การตลาด และการบริโภค จึงจำเป็นต้องสร้างกฎเกณฑ์และ ระเบียบปฏิบัติให้มาตรฐานการผลิตมีระบบการ ตรวจสอบและออกใบรับรอง โดยรัฐมีหน้าควบคุม กำกับดูแล รวมทั้ง
กำหนดบทลงโทษ ซึ่งจักต้องประกาศเป็นกฎหมายในขั้นตอนต่อไป และเนื่องจากการผลิตอาหาร อินทรีย์ในประเทศยังอยู่ในระยะเริ่มต้น การดำเนินงานในทุกด้านที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าสู่ระบบสากล จึงต้องเร่งรีบดำเนินการให้ทันต่อสถานการณ์ความต้องการของตลาดโลก โดยเฉพาะ ผู้บริโภคในประเทศที่พัฒนาล้ำหน้า อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป รวมทั้งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีการคาด การณ์ว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า ตลาดการค้าอาหารอินทรีย์จะสูงขึ้นมากกว่าร้อยละสิบ คิดเป็นมูลค่ามากกว่าสองพันล้านดอลล่าสหรัฐ หรือ
ประมาณ 1 แสนล้านบาท ประเทศไทยในฐานะผู้ผลิตอาหารป้อนผลโลก จัดอยู่ในอันดับหกของโลก มีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่าสินค้าอาหารดังกล่าว โดยปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบ การผลิตอาหารอินทรีย์ได้โดยไม่ยาก และเพื่อให้การผลิตอาหารอินทรีย์เข้าสู่ระบบที่เป็นมาตรฐานสากล กรมวิชาการเกษตร ซึ่งมีหน้าที่ในการวิจัยและพัฒนาพืชจึงต้องเร่งรัดวาง แผนดำเนินงานการผลิตพืช (อาหาร) อินทรีย์ให้ทันต่อสถานการณ์ดังกล่าว เทคโนโลยีการผลิตพืชอินทรีย์ คือ งานหลักที่จักต้องวิจัยและพัฒนาโดยเร่งด่วน และในเวลาเดียวกัน ระบบการผลิตที่ได้มาตรฐานก็จักต้องมีการตรวจสอบและออกใบรับรองควบคู่ไปพร้อม กัน ระบบการตรวจสอบออกใบรับรองที่กรมวิชาการเกษตรกำลังดำเนินการอยู่ขณะนี้ เกิดจากการลอกเลียนแบบจากประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่เป็นมาตรฐานและดำเนิน กิจการมายาวนานเป็นที่เชื่อถือโดยทั่วโลก และได้มีการปรับปรุงแก้ไขกรรมวิธีบางประการเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตการเกษตรและวัฒนธรรมการผลิตของเกษตรกรในประเทศไทย ซึ่งสามารถดำเนินการให้ได้ระดับมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของประเทศทั่วโลกได้ โดยได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ใครหรือสถาบันใดคือผู้ตรวจสอบและ ออกใบรับรอง
ในสภาพความเป็นจริง คุณสมบัติสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้น ๆ คือ ใบรับรองของตัวมันเอง ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ได้สัมผัส พิสูจน์ และลิ้มลองอาหารอินทรีย์แต่ละยี่ห้อเป็นหลักประกันของความเชื่อถือ ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นต้องมีใบรับรองด้วยซ้ำไป แต่เนื่องจากมีความหลากหลายให้ผู้บริโภคจำต้องเลือกหาความมีมาตรฐานในคุณภาพ จึงเป็นเรื่องที่ต้องมีกฎ กติกา และจรรยาบรรณซึ่งจำต้องมี ผู้รักษากฎเกณฑ์ให้เป็นไปตามกติกาที่กำหนดไว้และกฎกติกาของแต่ละประเทศก็ ย่อมแตกต่างกันออกไป ดังนั้น ในวงการค้าตลาดโลก จึงต้องมีกฎกติกากลางที่ประเทศสมาชิกถึงยอมรับ เพื่อให้เกิดการซื้อ - ขายระหว่างกัน โดยกำหนดมาตรฐานสากลที่มีองค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การอาหารและเกษตร (FAO) ร่างเป็นมาตรฐานกลาง เช่น CODEX เพื่อถือใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ เป็นต้น อย่างไรก็ตามในแต่ละประเทศก็มีกฎหมายกำหนดมาตรฐานของเขาซึ่งแตกต่างกันไปในรายละเอียด อันเป็นส่วนสำคัญของแต่ละประเทศพึงระมัดระวังผลประโยชน์ของเขาเอง ดังนั้นต่อคำถามที่ว่าใครหรือสถาบันใด
คือผู้ตรวจสอบออกใบรับรองคำตอบ คือ
เป็นบุคคล หรือสถาบันใดก็ได้ที่ได้รับอนุญาต เป็นผู้ตรวจสอบ (Auditor) ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจากองค์กรแห่งรัฐ และ/หรือ องค์กรสากลที่ยอมรับในประเทศสมาชิก (Accreditation Body) จึงสามารถเป็นหน่วยงานรับรอง (Certified Body) ที่สามารถออกใบรับรองมาตรฐานแห่งรัฐ และ/หรือ องค์กรสากลนั้น ๆ ได้” ดังแผนภูมิประกอบ
จากแผนภูมิอันเป็นหลักการที่กำหนดไว้เป็นรูปแบบนี้ ในปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการอย่างไร คำตอบคือ รัฐบาลมีประกาศใช้มาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2544 อันเป็นมาตรฐานที่จักต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดตามสภาวะความ เหมาะสม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเอื้อให้มีการค้าพืชอินทรีย์ทั้งภายในและต่างประเทศอย่างสูงสุดขณะนี้อยู่ใน ระหว่างการเจรจาทั้งทวิภาคี และพหุภาคีกับประเทศผู้นำเข้าพืชอินทรีย์จากประเทศไทย เพื่อให้ได้รับการยอมรับมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ของเราฉบับนี้ ในขณะเดียวกันระบบการผลิต การตรวจสอบและการออกใบรับรองพืชอินทรีย์ภายในประเทศกำลังอยู่ในระหว่าง ดำเนินงานอย่างรีบเร่ง และให้เป็นระบบตามหลักการกล่าวคือ
- การสร้างผู้ตรวจสอบ ออกประกาศให้ผู้มีคุณสมบัติตามที่รัฐ หรือองค์กรสากลทั่วไปกำหนด เข้ารับการอบรม และสอบผ่านมาตรฐาน เพื่อเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ที่ได้รับการรับรอง ขณะนี้รัฐโดยกรมวิชาการเกษตรกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการ ในขณะเดียวกันสำหรับผู้สนใจเป็นผู้ตรวจสอบสามารถติดต่อองค์กรสากลอื่นได้โดย ทั่วไป
- หน่วยงานออกใบรับรอง ขณะนี้รัฐบาลยังอยู่ในระยะเริ่มต้น ได้มอบหมายให้กรมวิชาการเกษตร ดำเนินงานควบคุม กำกับดูแล และออกใบรับรองมาตรฐานอินทรีย์แห่งประเทศไทย เป็นการนำร่องและเมื่อเข้าสู่ระบบดีแล้ว จึงเปิดสู่สาธารณะเพื่อช่วยกันดำเนินงาน ส่วนหน่วยงานใบรับรองที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน(Accreditation) จากองค์กรสากลใด ๆ จะช่วยผลักดันให้มีการส่งออกสินค้าพืชอินทรีย์ย่อมเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศ ชาติเป็นอย่างยิ่ง รัฐควรให้การสนับสนุนและร่วมมือการทำงาน
- แนวทางปฏิบัติ / คู่มือการตรวจสอบ ในปัจจุบัน กรมวิชาการเกษตรได้ศึกษารูปแบบการปฏิบัติงาน การตรวจสอบพืช / ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ ทั้งในภาคสนาม และโรงงาน จากหน่วยงานที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจากประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรปและประเทศญี่ปุ่น และนำมาปรับปรุงเป็นแผนปฏิบัติที่สอดคล้องต่อการปฏิบัติของเกษตรกรไทย
แนวทางการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบ
- ผู้ตรวจสอบจักต้องมีความเข้าใจโดย ละเอียดในปรัชญาและความหมายของเกษตรอินทรีย์ (กล่าวโดยรวมแห่งการเป็นอาหารอินทรีย์ซึ่งไม่เฉพาะพืช)
- มาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ของประเทศผู้ นำเข้าจากประเทศไทย และโดยเฉพาะมาตรฐานของประเทศไทยเอง
- รายละเอียดเอกสารทุกชนิดที่เกี่ยวข้อง และเน้นรายละเอียดแบบฟอร์ม ใบสมัคร บันทึกการผลิต และรายงานการตรวจฟาร์ม / โรงงาน (ดูรายละเอียดในภาคผนวก)
- การตรวจเยี่ยมฟาร์ม / โรงงาน ในปีแรกต้องกระทำไม่ต่ำกว่าปีละ 2-3 ครั้ง ปีถัดไป 1-2 ครั้ง
- ผู้ตรวจสอบเป็นผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญต่อ คณะกรรมการออกใบรับรอง
- ค่าใช้จ่าย / ค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานตลอดจนความรับผิดชอบในหน้าที่ และข้อผิดพลาดอันส่งผลกระทบต่อการับรองจะมีการกำหนดเป็นระเบียบ โดยกฎหมายแห่งรัฐ
กระบวนการออก ใบรับรองพืชอินทรีย์ โดยกรมวิชาการเกษตร
- กรมวิชาการเกษตรประกาศให้ผู้ผลิตขอใบสมัครพร้อมให้คำแนะ นำ
- ผู้สมัครยื่นแบบฟอร์มการสมัครพร้อมรายละเอียด
- กรมวิชาการเกษตร โดยคณะอนุกรรมการตรวจสอบออกออกใบรับรองมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ ประเมินค่าใช้จ่าย
- เมื่อผู้ผลิตตกลงในเรื่องค่าใช้จ่าย คณะอนุกรรมการฯ จะมอบเอกสารดำเนินงานพร้อมชี้แจงรายละเอียด
- เอกสารที่ผ่านการกรอกข้อมูลโดยสมบูรณ์จะได้รับการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่คณะ อนุกรรมการฯ หากมีข้อแก้ไขปรับปรุงจะต้องมีการดำเนินการจนถูกต้องสมบูรณ์
- ทำสัญญาตามข้อตกลง และนัดหมายวันเวลาผู้ตรวจสอบเข้าตรวจแปลง / โรงงานกำหนดค่าใช้จ่ายการตรวจครั้งที่ 1
- ก่อนทำการตรวจสอบแปลง / โรงงาน ผู้ตรวจจะเปิดการฝึกอบรมแก่ผู้ปฏิบัติงานในแปลง / โรงงาน ในรายละเอียดการผลิต / วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว และการบรรจุตามมาตรฐานของประเทศไทย การตรวจสอบจะกระทำในสถานที่โดยละเอียด ตลอดรวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานตามจุดต่าง ๆ ในระบบ
- ผู้ตรวจสอบจัดทำรายงาน
- รายงานจะถูกส่งเข้าสู่การพิจารณาโดยคณะอนุกรรมการฯ สำเนารายงาน 1 ชุด ส่งให้ผู้ผลิต อีก 1 ชุด ส่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- เมื่อรายงานผ่านการตรวจสอบและได้รับอนุมัติโดยคณะอนุกรรมการฯ ผู้ผลิตได้รับใบรับรองพร้อมสัญลักษณ์ (LOGO) แห่งประเทศไทย โดยผู้ตรวจสอบจะเข้าตรวจเยี่ยมแปลง / โรงงาน เป็นครั้งที่ 2 เพื่อสรุปผล แจ้งผลการอนุมัติพร้อมมอบใบรับรองและสัญลักษณ์แจ้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ทั้งหมด (ครั้งที่ 2)
- ผู้ผลิตจักต้องยื่นรายงาน จำนวนการผลิต การติดสลากพร้อมสัญลักษณ์ พร้อมใบยืนยันจากลูกค้าทุกรายต่อกรมวิชาการเกษตรทุก 3 เดือน
- การรับรองจะมีอายุ 1 ปี และจักทำการตรวจสอบยืนยันซ้ำตามระบบเดิม ซึ่งจะมีการบันทึกการอนุมัติในแต่ละปี ในทำนองเดียวกันหน่วยงานออกใบ รับรองอื่น (นอกจากกรม วิชาการเกษตรซึ่งจะเกิดขึ้นในอนาคต) ก็จะได้รับการตรวจสอบและรับรองจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นระบบเช่นเดียว กันนี้
หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเกษตร อินทรีย์
1.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์นับ เป็นหน่วยงานหลักของการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ตามนโยบายของรัฐบาลและแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 ดังกล่าวข้างต้น
หน่วยงานภายในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ มีหน้าที่รับผิดชอบต่อการพัฒนาเกษตรอินทรีย์โดยตรงได้แก่
- สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- กรมส่งเสริมการเกษตร
- กรมวิชาการเกษตร
- กรมพัฒนาที่ดิน
- กรมประมง
- กรมปศุสัตว์
- สำนักงานมาตรฐาน สินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
และมีหน่วยงานที่สนับสนุนได้แก่
- กรมส่งเสริมสหกรณ์
- กรมชลประทาน
- สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรม
- สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
1.1 สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์
กองนโยบายเทคโนโลยีการเกษตร และเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในด้านนโยบายและแผนการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนซึ่ง รวมถึงการเกษตรอินทรีย์ (กลุ่มเกษตรกรรมยั่งยืน โทร. 0-2282-1124)
1.2 กรมส่งเสริมการเกษตร
ภายในกรมส่งเสริมการเกษตร มีหน่วยราชการที่ทำงานการพัฒนาการเกษตรอินทรีย์โดยตรง ได้แก่ กลุ่มงานพัฒนาเกษตรอินทรีย์ สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร
(โทร. 0-2955-1515) นอกจากนี้ในกรมส่งเสริมการเกษตรมีหน่วยงานที่จะสนับสนุนการเกษตรอินทรีย์ได้ อย่างมากคือ ส่วนบริหาร
ศัตรูพืช สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรซึ่งศูนย์บริหารศัตรูพืช จำนวน 9 ศูนย์ ดังนี้
ศูนย์บริหารศัตรูพืชที่ 1 จังหวัดชัยนาท
ศูนย์บริหารศัตรูพืชที่ 2 จังหวัดสุพรรณบุรี
ศูนย์บริหารศัตรูพืชที่ 3 จังหวัดชลบุรี
ศูนย์บริหารศัตรูพืชที่ 4 จังหวัดขอนแก่น
ศูนย์บริหารศัตรูพืชที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา
ศูนย์บริหารศัตรูพืชที่ 6 จังหวัดสงขลา
ศูนย์บริหารศัตรูพืชที่ 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ศูนย์บริหารศัตรูพืชที่ 8 จังหวัดเชียงใหม่
ศูนย์บริหารศัตรูพืชที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก
ศูนย์บริหารศัตรูพืชเหล่านี้ จะมีบทบาทอย่างมากในการสนับสนุนการดำเนินงาน เกษตรอินทรีย์ของจังหวัดต่างๆ โดยเฉพาะในด้านของการอารักขาพืชด้วยชีววิธี ศูนย์เหล่านี้ จะให้ความรู้แก่เกษตรกรในด้านการใช้แมลงและสิ่งมีชีวิต ต่างๆ เช่นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช รวมทั้งมีหน้าที่ในการผลิตและขยาย
พันธุ์สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เพื่อให้เกษตรกรนำไปใช้ในการอารักขาพืช ด้วยชีววิธี อันจะเป็นการช่วยให้เกษตรอินทรีย์มีความสำเร็จได้มาก
1.3 กรมวิชาการเกษตร
โครงการเกษตรอินทรีย์ และสถาบันพืชอินทรีย์ เป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นเป็นการภายใน เพื่อเป็นแกนในการดำเนินงานด้านเกษตรอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร โดยอยู่
ภายใต้การกำกับดูแล ของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการผลิตพืช มีภารกิจหลัก 2 ด้านดังนี้
1.3.1 การตรวจสอบและออกใบรับรองการผลิตพืชอินทรีย์
กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เริ่มให้การรับรองการผลิตพืชอินทรีย์ เมื่อปี พ.ศ. 2545 ตามมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ของประเทศไทย (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2544) โดยเกษตรกรหรือผู้ผลิต จะต้องยื่นใบสมัครขอใบรับรองการผลิตพืชอินทรีย์ ที่โครงการเกษตรอินทรีย์ ตึกกสิกรรม ชั้น 2 กรมวิชาการเกษตร จตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 0-2579-7520 โทรสาร 0-2940-5472 หรือหน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค หลังจากนั้นผู้ตรวจสอบจะออกไปตรวจสอบพื้นที่การผลิต แล้วรายงานให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบออกใบรับรองมาตรฐานปัจจัยการผลิตและผลผลิตพืชอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร เพื่อพิจารณาอนุมัติออกใบรับรองเป็นประกาศนียบัตรทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ พร้อมกับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ Organic Thailand พิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ เพื่อแสดงว่าเป็นผลิตภัณฑ์อินทรีย์ใบรับรองมีอายุเพียง 1 ปี ดังนั้นจึงต้องยื่นใบสมัครขอต่ออายุทุกปี ในขณะนี้การขอรับรองการผลิตพืชอินทรีย์ จากกรมวิชาการเกษตร ไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย หรือค่าธรรมเนียมใดๆ ทั้งสิ้น
ตั้งแต่ปี 2545 จนถึง ณ วันที่ กันยายน 2549 ออกใบรับรองการผลิตพืชอินทรีย์และปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกร / ผู้ผลิต จำนวนรวมทั้งสิ้น 2,209 ราย พื้นที่การผลิต 41,253 ไร่ แบ่งเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
1. ข้าวหอมมะลิ 68%
2 ผัก 12%
3. ผลไม้ 8%
4. สมุนไพร ชาและพืชอื่นๆ 28%
1.3.2 การฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี
ให้บริการในการเป็นวิทยากร และให้คำปรึกษาในการจัดหลักสูตรการฝึกอบรมเกษตรอินทรีย์ และหลักสูตรการตรวจรับรองพืชอินทรีย์
1.4 กรมพัฒนาที่ดิน
เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ การวิจัย พัฒนา ส่งเสริม และขยายผลการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพทดแทนปุ๋ยเคมีและสารเคมี ทั้งยังเป็นหน่วยงานผลิตผลิตภัณฑ์ 9 สิ่งมหัศจรรย์ ที่เป็นผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพซึ่งประกอบด้วย พืชปุ๋ยสดเพื่อการปรับปรุงบำรุง หญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ ปุ๋ยหมักสูตร พด.1 ปุ๋ยอินทรีย์น้ำสูตร พด.2 จุลินทรีย์ป้องกันโรครากและโคนเน่าของพืชสูตร พด.3 สารปรับปรุงบำรุงดินสูตร พด.4 สารกำจัดวัชพืชสูตร พด.5 สารบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็นสูตร พด.6 และ
สารป้องกันแมลงศัตรูพืชสูตร พด.7 นอกจากนี้ยังรับผิดชอบการรับรองมาตรฐานสินค้าประเภทปัจจัยการผลิตทางการ เกษตรจำนวน 11 ชนิด ได้แก่จุลินทรีย์สำหรับทำปุ๋ยหมัก จุลินทรีย์สำหรับทำปุ๋ยอินทรีย์ จุลินทรียป้องกันโรครากและโคนเน่าของพืช ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ยิบซั่ม ปูนมาร์ล หินปูนบด โดโลไมท์ ปูนขาว สารสกัดอินทรีย์ ทั้งนี้ให้ติดต่อ ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน กรมพัฒนาที่ดิน โทร. / โทรสาร 0-2579-0679 E-mail:ord-4@ldd.go.th หรือที่สำนักงานพัฒนา
ที่ดินเขต สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดที่อยู่ใกล้บ้านทั่วประเทศ
1.5 สำนักมาตรฐานสินค้าเกษตร และอาหารแห่งชาติ
เป็นหน่วยงานระดับกรมที่ได้ มีจากการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2545 มีภารกิจเป็นหน่วยงานกลางเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าเกษตร สินค้าแปรรูป และอาหารของประเทศโดยการ
กำหนดมาตรฐานและการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร สินค้าแปรรูป และอาหารทั้งแต่ระดับไร่นาจนถึงผู้บริโภค การเจรจาเพื่อแก้ปัญหาการค้าเชิงเทคนิค หน่วยงานนี้ได้เป็น
ผู้กำหนดมาตรฐานระบบการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั้งพืช สัตว์และประมง เป็นมาตรฐานเกษตรอินทรีย์กลางของประเทศ
2. กระทรวงศึกษาธิการ
2.1 กรมการศึกษานอกโรงเรียน*
2.2 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์*
2.3 มหาวิทยาลัยแม่โจ้*
2.4 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์*
2.5 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์*
3. กระทรวงมหาดไทย
3.1 ผู้ ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์
3.2 ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
4. กระทรวงกลาโหม
ข้อมูลรายละเอียดในการติดต่อ ประสานงานของกระทรวงกลาโหม
1. ศูนย์ฝึกอบรม ค่ายพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด 45000 โทร. 0-9969-4101
2. ศูนย์ฝึกอบรม กรมทหารราบที่ 6 (กองอำนวยการป่าดงนาทามอันเนื่องมาจากพระราชดำริ) อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 34190 โดยผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 6 โทร. 0-4532-3417 โทรสาร 0-4532-3417
5. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.1 องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้*
6. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ได้จัดตั้ง “โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ขึ้นอย่างไม่เป็นทางการเมื่อเดือน มีนาคม 2542 ได้จัดอบรมให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ.ทั่วประเทศ และขยายผลไปยังหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ มูลนิธิ วัดวาอาราม โรงเรียน และชุมชนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง จนถึงปี 2546 จึงได้จัดตั้งโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นโครงการอย่างเป็นทางการ โดยมีแนวทางในการดำเนินงาน เพื่อดำเนินการเกษตรธรรมชาติ ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว เรื่อง
“เศรษฐกิจพอเพียง” ด้วยการส่งเสริมใน 4 เรื่อง ได้แก่
1. การเพาะปลูก
2. การเลี้ยงสัตว์น้ำ
3. การปศุสัตว์
4. การรักษาสิ่งแวดล้อม
โดยการดำเนินการดังกล่าว กฟผ. ใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพเป็นตัวช่วย สามารถลดต้นทุนการผลิตพืช ผล และอาหารปลอดภัย ซึ่งนับเป็นเกษตรทางเลือก(Alternative Agriculture) อีกทางหนึ่ง
โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่เลขที่ 53 หมู่ 2 ถนนจรัญสนิทวงศ์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี 11130 โทร. 0-2436-3780-89 โทรสาร 0-2436-3787
หมายเหตุ * หมายถึงเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการเรื่องเกษตรอินทรีย์ แต่ยังขาดข้อมูลรายละเอียดในการติดต่อประสานงาน
======================================
หน่วยงานภาคเอกชนที่ดำเนินการ เกษตรอินทรีย์
เป็นที่ยอมรับกันว่า หน่วยงานภาคเอชนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน และชนบทรวมทั้งองค์กรทางศาสนา ได้มีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาเกษตรอินทรีย์
ทั้งการค้นคว้าหาความรู้ และประสบการณ์ด้วยตนเอง และจากองค์กรการเกษตรต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ หน่วยงานที่ยังดำเนินการพัฒนาเกษตรอินทรีย์มีดังนี้
1. เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นจากการรวมตัวของหน่วยงานนอกภาครัฐ(เอ็น จี โอ) ที่ทำงานทางด้านการเกษตรกรรมทางเลือกที่มีหลักการ พัฒนาการเกษตร ที่เป็น ทางเลือกให้แก่เกษตรกรที่ต้องรับภาระหนี้สินที่เกิดขึ้น จากการทำการเกษตร แบบปฏิวัติเขียวที่ได้ทำมาในช่วง 30-50 ปี ที่ผ่านมา เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกนับ เป็นกลุ่มบุคคลที่ได้ยืนหยัดและประกาศให้ประชาชนได้ทราบและเข้าใจหลักการ เกษตรกรรมที่ไม่ต้องพึ่งพาการใช้สารเคมีและปัจจัยการผลิตที่ต้องนำเข้าจากต่าง ประเทศ และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ด้วยการพัฒนาร่วมกับเกษตรกรที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นปราชญ์ ชาวบ้าน ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาไดดำเนินการจัดทำโครงการนำร่องเกษตรกรรมยั่งยืนทั่วประเทศ โดยได้รับงบประมาณจากรัฐบาลในการดำเนินงานประมาณ 600 ล้านบาท สถานที่ติดต่อ สำนักงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ซอยงามวงศ์วาน 27 (ซอยย่อยที่ 7) ถนนงามวงศ์วาน โทร. 0-2580-2035
2. เครือข่ายชุมชนอโศก
กลุ่มนี้นับเป็นกลุ่มที่เข็มแข็ง และมีพลังมาก เป็นผู้ปฏิบัติธรรม รับประทานอาหารมังสวิรัติ บริโภคพืชผัก และอาหารที่ไม่มีสารตกค้าง และ โดย ที่เป็นกลุ่มบุคคล ที่มีแนวทางการดำรงชีพที่ยึดหลักการพึ่งตนเอง แสวงหาความรู้ในทุกๆ ด้าน เพื่อการประกอบอาชีพที่สุจริตไม่เบียดเบียนผู้อื่น รวมทั้งสัตว์ สิ่ง มีชีวิต และสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ได้เริ่มศึกษาด้วยการทดลองปฏิบัติการเกษตรแบบธรรมชาติมาประมาณ 20 ปีเศษ จนมีความชำนาญ สามารถถ่ายทอด ความ รู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ให้แก่เกษตรกร นักพัฒนาชนบทกลุ่มต่างๆ ที่สนใจไปดูงานฝึกอบรมในปัจจุบันญาติธรรมเหล่านี้ได้ออกไปตั้งกลุ่มทั่วทุก ภาคของประเทศ จำนวน ประมาณ 40 กลุ่ม มีจำนวนสมาชิกที่ทำเกษตรอินทรีย์จำนวน 5,200 คน ทุกกลุ่มจะทำการเกษตรอินทรีย์เพื่อการพึ่งตนเองในด้านอาหาร ที่ปราศจาก การปน เปื้อนของสารพิษ นอกจากนี้ยังได้เผยแพร่ความรู้ และประสบการณ์เกษตรอินทรีย์แบบธรรมชาติทาง สื่อสารมวลชนหลายประเภท เช่น วิทยุ วารสาร สิ่งพิมพ์ รวม ทั้งการจัดทำวีดีทัศน์ วีซีดี จำนวนมาก โดยมีสมณะเสียงศีล ชาตวโร (โทร. 0-1835-6108) เป็นแกนในการดำเนินงานที่เข็มแข็ง จนได้รับการยกย่องจากกระทรวง ศึกษาธิการให้เป็นครูภูมิปัญญาไทยด้านการเกษตร
ในบรรดากลุ่ม เครือข่ายชุมชนอโศกที่ได้ตั้งหน่วยการผลิตเกษตรไร้สารพิษ ซึ่งถือว่าเป็น เกษตรอินทรีย์ เรียกชื่อเครือ ข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย(คกร.) ในปี 2535 พลตรีจำลอง ศรีเมือง ซึ่งเป็นแกนสำคัญของเครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทยคนหนึ่ง ได้ตั้ง มูลนิธิพลตรีจำลอง ศรีเมือง นับเป็นบุคคลแรกที่ประกาศต่อสาธารณะว่าจะทำเกษตรธรรมชาติ และได้บุกเบิกและริเริ่มจัดทำ “โครงการเกษตรอยู่รอด” ที่กิ่งอำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี ในพื้นที่ประมาณ 270ไร่ โดยจัดให้เกษตรกรที่สมัครใจในการดำรงชีพด้วยการเกษตรแบบธรรมชาติ รายละ 10ไร่ ไม่มีการใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิด ใช้หลักการพึ่งพาตนเอง ปลูกพืชหลากหลายทุกอย่างที่ใช้เพื่อการบริโภค และเพื่อขายเป็นผลผลิตไร้สารพิษ ในเครือข่ายร้านมังสวิรัติในกรุงเทพฯ นับเป็นการที่ทำให้สังคมได้เริ่มมีความตระหนักถึงประโยชน์ของการกสิกรรมแบบธรรมชาติที่สามารถผลิตผลที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคอย่างมาก ถึงแม้ใน ขณะนั้นคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยยังมีความไม่มั่นใจว่าการทำการเกษตรแบบธรรมชาติ จะเป็น
ไปได้ในทางปฏิบัติก็ตาม แต่เนื่องจากการริเริ่มของญาติธรรมของชุมชนอโศกโดยการนำของพลตรีจำลอง ศรีเมือง ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ให้การยอมรับในความซื่อสัตย์สุจริตมีส่วนทำให้ประชาชนเริ่มสนใจการเกษตรในแนวทางของธรรมชาติมากขึ้นตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งของการศึกษาดูงานที่จะได้เรียนรู้จากการ ปฏิบัติจริง อันจะเป็นประโยชน์ต่อการที่จะได้เข้าใจการปฏิบัติเกษตรอินทรีย์อย่างดีและได้ผล คกร. มีหน่วยงานที่เป็นผู้ประสานงาน ซึ่งจะหาข้อมูลของกลุ่มต่างๆ ซึ่งมีกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของ
ประเทศดังนี้คือ
กรุงเทพฯ
เลขที่ 58/1 ถนนเสรีไทย คันนายาว กรุงเทพฯ 10230
มีนายธำรง แสงสุริยจันทร์ เป็นผู้ประสานงาน โทร. 0-1441-0938, 0-2906-0160-5
อุบลราชธานี : ศูนย์ฝึกอบรมกสิกรรมไร้สารพิษ ชุมชนราชธานีอโศก
หมู่ที่ 10 ต. บุ่งไหม อ. วารินทร์ชำราบ จ.อุบลราชธานี 34190
มีผู้ติดต่อประสานงานคือ
นายราเมศ -เขียวเขตรวิทย์ โทร. 0-4524-7222
นางสาวดินนา โคตรบุญอารยะ โทร. 0-1528-2399
นายร้อยแจ้ง จนดีจริง โทร. 0-967-2363
1. มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เป็นองค์กรที่ให้การฝึกอบรมในเรื่องกสิกรรมธรรมชาติ ให้แก่เกษตรกรและผู้ สนใจ มีนายวิวัฒน์ ศัลยกำธร เป็นผู้อำนวยการ โทรศัพท์
0-1735-1403 องค์กรนี้ได้มี บทบาทในการผลักดันให้เกษตรอินทรีย์ และเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราช ดำริ ขยายตัวอย่างมากโดยเฉพาะในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา มีศูนย์ฝึกอบรมอยู่ที่บ้านมาบ เอื้อง ตำบลหนองบอนแดง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี โทรศัพท์ 0-3844-9009
2. สำนักงานมาตรฐาน เกษตรอินทรีย์ (มกท.)
สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2538 ในฐานะองค์กรอิสระ เพื่อทำหน้าที่ในการให้บริการรับรอง มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย โดยได้จัดทำมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ขึ้นในปี 2541และได้เริ่มดำเนินการเป็นองค์กรที่ให้การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เป็นแห่งแรกในประเทศไทย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของ มกท. เป็นมาตรฐานที่ได้รับการรับรองจากองค์การสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์ระหว่าง ประเทศ (International Federation of Organic Agriculture Movement ชื่อย่อ IFOAM) นอกจากนี้ยังได้รับการยอมรับจากหน่วยงานรับรองคุณภาพ เกษตรอินทรีย์ของหลายประเทศในยุโรป เช่น KRAV ของสวีเดน BIOSWISS ประเทศสวิส และBLIK ประเทศเบลเยี่ยม มกท. บริหารงานในรูปของคณะกรรมการโดยมี นางนารถฤดี นาครวาจา เป็นผู้จัดการ โทรศัพท์ 0-1889-3660 , 0-2580-0934
===========================
องค์กรเกษตรอินทรีย์ในต่างประเทศ
ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America :U.S.A)
ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์อาหารอินทรีย์ (Organic Food Production Act – OFPA) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ.1990) และมีการแก้ไขในปี พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996)
ตลาด รวมกลุ่มประเทศยุโรป (European Unity : EU.)
ได้มีการรวบรวมข้อกำหนดของผลิตผลเกษตรอินทรีย์ไว้ในข้อกำหนดของสภาตลาดร่วม ยุโรป (EEC No.2092 / 91) และฉบับแก้ไข ข้อกำหนดส่วนใหญ่ให้คำแนะนำ ในการนำเข้าอาหารอินทรีย์ที่ผลิตจากประเทศ อื่นๆ ภายใต้มาตรฐานการผลิต และมาตรการการ
ตรวจสอบที่เหมือนกันทุกประการ
ประเทศญี่ปุ่น (Japan)
รัฐบาลญี่ปุ่น ได้ประกาศใช้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2544 โดยอ้างอิงกฎหมายมาตรฐานเกษตรญี่ปุ่น (Japan Agriculture Standard-JAS)
ประเทศไทย (Thailand)
ได้มีการกำหนดใช้มาตรฐานการ ผลิตพืชอินทรีย์ หลังจากผ่านการปรับปรุงแก้ไขครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2543 โดย
คณะทำงานเฉพาะกิจปรับปรุงมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ของประเทศไทย และผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารงานวิจัยและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ กรมวิชาการ-
เกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movement - IFOAM)
ได้จัดทำ เกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ สำหรับตรวจสอบรับรองเกษตรอินทรีย์ เป็นที่ยอมรับในกลุ่มประเทศยุโรป โดยมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบรับรอง คือ IOAS
สมาคมดินแห่งสหราชอาณาจักร (Soil Association) UK.
เป็น องค์กรที่ให้ความสำคัญต่อเกษตรอินทรีย์ มีประวัติความเป็นมายาวนาน ได้พัฒนามาตรฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในสหราชอาณาจักร
องค์กรเครือข่าย (Pesticide Network Action : PNA)
เป็น องค์กรเครือข่ายของสหราชอาณาจักร และประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่กำลังปฏิบัติการเคลื่อนไหว ซึ่งจะทำให้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากลเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ