14 ประเด็นสุขภาพโดดเด่น
- โควิด-19 กับการทำงานที่บ้าน (work from home) และผลกระทบ
- ปลดล็อกกัญชา กัญชง และพืชกระท่อม: เงื่อนไข และผลต่อเศรษฐกิจชุมชน
- โฆษณาอาหารเสริมเกินจริง: ควรแก้ปัญหาอย่่างไร?
- แรงงานข้ามชาติในยุคโควิด-19: ก้าวข้ามการแยกเขาแยกเรา สู่ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา
- โรงงานหมิงตี้ระเบิด บทเรียนภัยพิบัติจากโรงงานสารเคมี
- เกษตรอัจฉริยะ (smart farming) และอนาคตเกษตรไทย
- ไทยกับ RCEP และ CPTPP: ผลกระทบและข้อระวัง
- การเมืองบนถนนกับหนทางออก
- น้ำท่วมซ้ำซาก ผลกระทบและการปรับตัว
- SAVEบางกลอย กับประเด็นเรื่องสิทธิทำกินของกลุ่มชาติพันธุ์
- ไทยมุ่งพัฒนา การแพทย์จีโนมิกส์ รักษา 5 กลุ่มโรค
- ไทยมุ่งพัฒนาวัคซีนโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง
- ผลักดันนโยบายภาษีเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมน้ำตาล
- ไทยผลิตยาเลิกบุหรี่จาก เมล็ดจามจุรีสีทอง
แต่ละประเด็นมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
1.โควิด-19 กับการทำงานที่บ้าน (work from home) และผลกระทบ
แม้ว่าการทำงานที่บ้านจะส่งผลดีหลายประการ เช่น ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน แต่ก็อาจส่งผลกระทบด้านสุขภาวะต่อคนจำนวนไม่น้อย โดนเฉพาะความเครียดและภาวะซึมเศร้า
2. ปลดล็อกกัญชา กัญชง และพืชกระท่อม: เงื่อนไข และผลต่อเศรษฐกิจชุมชน
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กัญชา กัญชง และกระท่อม ถูกจัดเป็นยาเสพติดให้โทษ แต่ในช่วงปี 2563-2564 คนไทยได้ทำความรู้จักมักคุ้นกับพืช 3 ชนิดนี้มากขึ้น ด้วยเหตุผลทางการแพทย์ และทางเศษฐกิจโดยมีการทยอนปลดล็อคบางส่วนของพืชทั้ง 3 ชนิด จนเกิดเป็นยารักษาโรค ผลิตภัณฑ์ต่างๆ หรือแม้แต่อาหารและ เครื่องดื่ม ทำให้ประชาชนบางส่วนมีอาชีพและเข้าถึงโอกาสทางรายได้เพิ่มขึ้น
3.โฆษณาอาหารเสริมเกินจริง: ควรแก้ปัญหาอย่างไร?
4.แรงงานข้ามชาติในยุคโควิด-19: ก้าวข้ามการแยกเขาแยกเรา สู่ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 นี้ ไทยปฏิบัติต่อคนไทยและชาวต่างชาติแตกต่างกัน ซึ่งการกระทำเช่นนี้ในที่สุดได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพคนไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะโรคระบาดไม่ได้สนในเรื่องสัญชาติหรือเชื้อชาติ มนุษย์ทุกคนมีสิทธิติดโรคระบาดทั้งสิ้น
5.โรงงานหมิงตี้ระเบิด บทเรียนภัยพิบัติจากโรงงานสารเคมี
การระเบิดของโรงงาน บจก.หมิงตี้ฯ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สนของรัฐ เอกชน และประชาชนเป็นจำนวนมาก อีกทั้งสร้างผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเป็นวงกว้าง กลุ่มควันสีดำขนาดใหญ่ปกคลุมทั่วบริเวณ จนสามารถมองเห็นไกลออกไปหลายสิบกิโลเมตร
6.เกษตรอัจฉริยะ (smart farming) และอนาคตเกษตรไทย
smart farming ยังคงกระจุกตัวอยู่ในพืชมูลค่าสูงและมีเกษตรกรที่เป็น smart farmer ไม่มาก คำถามสำคัญคือทำอย่างไรที่จะให้เกษตรกรที่ผลิตพืชมูลค่าต่ำ (ข้าว ยาง มันสำปะหลัง และอ้อย) ซึ่งเป็นพืชหลักของประเทศ หันมาใช้ความรู้เข้มข้น เพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และลดความเสี่ยง และเกษตรกรสามารถพัฒนาตนเองให้เป็น smart farmer ได้
7.ไทยกับ RCEP และ CPTPP: ผลกระทบและข้อระวัง
การที่ประเทศไทยจะเข้าร่วมความตกลงการค้าระหว่างประเทศใดๆ จำเป็นต้องศึกษาและประเมินผลกระทบอย่างรอบด้าน ไม่เพียงในเรื่องการค้า การลงทุน และห่วงโซ่อุปทาน แต่ยังรวมถึง ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางยา ระบบสุขภาพ และการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
8.การเมืองบนถนนกับหนทางออก
แม้ว่าการระบาดของโควิด-19 จะทำให้การชุมนุมทางการเมืองต้องหยุดพักไประยะหนึ่งตั้งแต่ช่วงปลายปี 2563 แต่ในปี 2564 ก็ได้เกิดม็อบการเมืองบ่อยครั้ง และมีการใช้ความรุนแรงระหว่างรัฐกับผู้ชุมนุมเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยมีการตอบโต้กันทั้งสองฝ่าย อีกทั้งมีการดำเนินคดีกับแกนนำม็อบและผู้ชุมนุมจำนวนมาก
9.น้ำท่วมซ้ำซาก ผลกระทบและการปรับตัว
การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในพื้นที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางในการพัฒนาและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการก้าวไปสู่การยกระดับวิถีชีวิตใหม่ที่ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนในอนาคต
10.#SAVEบางกลอย กับประเด็นเรื่องสิทธิทำกินของกลุ่มชาติพันธุ์
ความขัดแย้งในพื้นที่บางกลอยในผืนป่าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เป็นภาพสะท้อนปัญหาในเรื่องสิทธิที่ดินทำกินของกลุ่มชาติพันธุ์ในหลายพื้นที่ในประเทศไทย ไม่ใช่เพียงชาวกะเหรี่ยงที่บางกลอยเท่านั้น
11.ไทยมุ่งพัฒนา การแพทย์จีโนมิกส์ รักษา 5 กลุ่มโรค
การแพทย์จีโนมิกส์ หรือ การแพทย์แม่นยำ เป็นแนวทางการดูแลผู้ป่วย โดยประยุกต์ใช้ข้อมูลด้านพันธุกรรม สภาพแวดล้อม และวิถีชีวิตที่จำเพาะต่อผู้ป่วยแต่ละคนมาประกอบการวินิจฉัย และเลือกการรักษาที่ตรงจุดและเหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละราย เพื่อการรักษาโรคบางชนิด เช่น มะเร็ง วัณโรค โรคหายาก เป้นต้น โดยการแพทย์จีโนมิกส์ จะเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น การตรวจยีนมะเร็งบางชนิดเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็ง ตรวจยืนแพ้ยาเพื่อลดการแพ้ยารุนแรง ในอนาคตคาดการแพทย์แขนงนี้จะมีบทบาทสูงมากขึ้นในการสาธารณสุขของไทย และใช้ดูแลสุขภาพประชาชนตั้งแต่ตั้งครรภ์ เป็นทารก เติบโต กระทั่งเสียชีวิต
ปัจจุบัน ไทยมุ่งพัฒนาวิจัยด้านแพทย์จีโนมิกส์ใน 5 กลุ่มโรค ได้แก่ กลุ่มโรคมะเร็ง โรคหายาก โรคติดเชื้อ โรคไม่ติดต่อ และกลุ่มผู้ป่วยแพ้ยา
12.ไทยมุ่งพัฒนาวัคซีนโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันไทยเป็นฐานการผลิตวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าที่สำคัญแห่งหนึ่งในเอเซีย จากโรงงานสยามไบโอไซเอนซ์ นอกจากนี้หลายหน่วยงานได้มุ่งพัฒนาวิจัยวัคซีนโควิด-19 ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ อาทิ วัคซีนชนิดโปรตีนซับยูนิท บ.ใบยา ไฟโตฟาร์ม ร่วมกับคณะเภสัชฯ จุฬาฯ วัคซีน mRNA ของศูนย์วิจัยวัคซีนคณะแพทย์ฯ จุฬาฯ วัคซีนโควิด-19 HXP-CPOVac ขององค์การเภสัชกรรม วัคซีนโควิเจน ชนิด DNA ของบ. BioNet-Asia จำกัด
เนื่องจากโควิด-19 มีการกลายพันธู์ตลอดเวลา การพัฒนาวัคซีนให้ครอบคลุมสายพันธุ์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นสิ่งจำเป้น ซึ่งประเทศไทย ก็ได้ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาวัคซีนเพื่อตอบโจทย์ดังกล่าวด้วยเช่นกัน
13.ผลักดันนโยบายภาษีเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมน้ำตาล
เป็นนโยบายที่ทำให้กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้รับรางวัล United Nations Inter-Agency Task Force (UNIATF Award) on the Prevention and Control of Non-communicable Diseases ของสหประชาชาติ ในการประชุมครั้งที่ 76 ปี 2564 โดยรางวัลนี้จะมอบให้แก่องค์กรที่มีผลงานโดดเด่นด้านการควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจากทั่วโลก ที่ผลักดันนโยบาย ขับเคลื่อน ควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรับ ตามกรอบ SDGs โดยรางวัลที่กรมอนามัย ได้รับ ในหมวดภาครัฐด้านสาธารณสุข จากการผลักดันนโยบายภาษีเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล ลดการบริโภคน้ำตาลในประชากรไทย โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ด้านผลการดำเนินนโยบาย และเป็นผู้นำในการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง ผลจากนโยบาย คือการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตของเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล 3 ประเด็น ได้แก่
1. ในภาพรวม ราคาเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ที่ผลิตในประเทศ และนำเข้า มีราคาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.7 และ 18.1 ตามลำดับ
2. เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง มีสัดส่วนลดลง โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมากกว่า 10 กรัม แต่ไม่เกิน 14 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร มีสัดส่วนลดลงมากที่สุด
3. สัดส่วนรายได้จากภาษีเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบต่อรายได้ภาษีสรรพสามิตทั้งหมด 14.ไทยผลิตยาเลิกบุหรี่จาก เมล็ดจามจุรีสีทอง
ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการวิจัยเพื่อพัฒนายาเลิกบุหรี่ที่ชื่อ "ไซทิซีน (cytisine)" เป็นสารสกัดธรรมชาติ จาก เมล็ดจามจุรีสีทอง มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการถอนนิโคติด ทำให้ผ่อนคลายไม่หงุดหงิดในขณะที่เข้าสู่กระบวนการเลิกบุหรี่ โดยความร่วมมือของคณะแพทยศาสตร์ มศว. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) สสส. และองค์การเภสัชกรรม โดยยาชนิดนี้ใช้มาก่อนหน้านี้แล้วในยุโรป ถือเป็นยาเลิกบุหรี่ที่มีประสิทธิภาพดีและปลอดภัย ที่องค์การอนามัยโลกให้การรับรองและสนับสนุน ในประเทศไทย ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับบริการ เมื่อได้รับผลวิจัยที่สมบูรณ์แล้ว อภ.จะทำการขึ้นทะเบียนยากับสำนักงาน อย. และผลักดันให้เข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติต่อไป