ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการรู้คิดในการทำงานของสมองหลายๆ ด้านซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการทำงานและการประกอบกิจวัตรประจำวัน ภาวะนี้ทำให้เกิดผลกระทบต่อทั้งตัวผู้ป่วยเอง และผู้ดูแลในครอบครัวโดยส่งผลกระทบทั้งต่อด้านทางกาย ทางจิตใจ อารมณ์และ เศรษฐานะ
ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมอาจจะมิได้มีเพียงอาการหลงลืม แต่ยังมีปัญหาในการเข้าใจ ภาษา การเรียนรู้ การคำนวณ และวิจารณญาณอีกด้วย บุคคลภาพและพฤติกรรมของบุคคลดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน
สาเหตุของภาวะสมองเสื่อม
สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการโรคสมองเสื่อม ได้แก่ โรคทางระบบประสาทเสื่อมรวมถึงโรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคฮันติงตัน โรคหลอดเลือดสมอง ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม ความผิดปกติของหลอดเลือดส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือดในสมอง การได้รับบาดเจ็บทางสมองเกิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การหกล้ม การถูกกระทบกระแทกต่าง ๆ การติดเชื้อของกลางระบบประสาท รวมถึงเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคเอชไอวี (HIV) การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการใช้ยาบางชนิดเป็นเวลานาน เป็นต้น
โรคสมองเสื่อมแบ่งออกเป็นสามประเภทหลัก ดังนี้
• โรคอัลไซเมอร์ (AD) เป็นโรคสมองเสี่อมประเภทที่พบได้บ่อยที่สุด
สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ยังไม่เป็นที่ทราบกันและการเสื่อมจะลุกลามไปเรื่อยๆ
• โรคสมองเสื่อมอันมีสาเหตุจากสมองขาดเลือดเริ่มต้นมาจากโรคหลอดเลือดสมอง
• ปัญหาที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสมอง การเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้โดยเฉียบพลันและรวดเร็ว
ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจำนวน 20% จัดอยู่ในประเภทนี้
• โรคสมองเสื่อมประเภทอื่นอาจมีสาเหตุมาจากความซึมเศร้า การได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ การขาดไทรอยด์ และยาเป็นพิษ ในกรณีเหล่านี้ ผู้ป่วยสามารถลดภาวะดังกล่าวลงได้โดยการรักษาด้วยยาโรคสมองเสื่อมบางอย่างอาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติอื่น อาทิ โรคพาร์คินสัน และ โรคเอดส์เป็นต้น
อาการของโรคสมองเสื่อม ได้แก่
• การสูญเสียความทรงจำช่วงสั้นๆ และมักลืมการสนทนาและการนัดหมายซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือความสามารถในการทำงาน
• ทำงานที่คุ้นเคยด้วยความลำบาก
• ปัญหาด้านภาษา สื่อสารกับผู้อื่นด้วยความลำบาก
• มีวิจารณญาณไม่ดี
• ความงุนงงเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ ความสับสนเกี่ยวกับเวลา วันที่ หรือ สถานที่
• ปัญหาด้านการคิดและการคำนวณ
• อารมณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง
• สูญเสียความคิดริเริ่ม
• วางของผิดที่
• บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง
ปัจจัยเสี่ยงของโรคสมองเสื่อมมีอะไรบ้าง?
• อายุ โดยทั่วไปแล้ว โรคสมองเสื่อมจะเกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อมจะสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตามอายุ
• ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคสมองเสื่อมมีความเสี่ยงที่สูงขึ้นที่จะเป็นโรคนี้
• เพศ โรคสมองเสื่อมพบได้มากกว่าในผู้หญิง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้หญิงมีอายุยืนกว่า
• รูปแบบการดำเนินชีวิต ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง มีระดับคอเลสเตอรอลสูง หรือเป็นโรคเบาหวาน เป็นต้นมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมหากมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนในการควบคุมภาวะของตนเอง
• การสูญเสียความสามารถด้านการรับรู้ ผู้ที่สูญเสียความสามารถด้านการรับรู้อันเนื่องมาจากความผิดปกติประเภทต่างๆหรือจากปัจจัยอื่น มีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมในปีต่อๆ ไป
• ระดับการศึกษา การศึกษาวิจัยพบว่าผู้ที่มีระดับการศึกษาต่ำมีความสูงขึ้นที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมซึ่งอาจเป็น เพราะว่าผู้ที่มีการศึกษาสูงมีการฝึกสมองมากกว่า ซึ่งช่วยปกป้องสมองจากการเสื่อมได้