ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สู่ยุคแห่งการแสวงหาวัยเยาว์

ในร่างกายของคนเรามีเซลล์ และแต่ละเซลล์ก็จะมีการโปรแกรมเอาไว้แล้วล่วงหน้าว่าจะแบ่งกี่รอบ แบ่งได้กี่ที เมื่อเซลล์เลิกแบ่งเซลล์ร่างกายก็เริ่มมีอาการแก่ เซลล์เหล่านี้ เรียกว่า “senescent cell” การปรับโครงสร้างทางพันธุกรรมในสมัยนี้ก็เพื่อที่จะลดเซลล์ตัวนี้เอง เพื่อให้เซลล์แบ่งตัวใหม่ได้อย่างถาวร

สู่ยุคแห่งการแสวงหาวัยเยาว์

ผมเคยถามเพื่อน ๆ หรือคนที่รู้จักว่า ถ้าคุณคิดว่าตัวเองแก่คุณจะดูตรงไหนหรือรู้สึกอย่างไร  แน่นอนแต่ละคนก็จะมีการวัดที่แตกต่างกัน บางคนบอกว่าก็เมื่อรู้สึกว่าตัวเองหมดแรง บางคนบอกว่าความจำเริ่มแย่ แต่สำหรับคุณผู้หญิงมักบอกว่า ความชรา คือ ความเหี่ยวบนหน้าดิฉันค่ะ

ผมก็เลยกลับมานั่งคิด ๆ ดูว่าในปัจจุบันโลกวิทยาการได้พยายามทำให้มนุษย์มีอายุยืนยาวมากขึ้น นอกจากอายุจะยืนยาวมากขึ้นได้แล้ว ยังต้องให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นอีกด้วย คุณภาพชีวิตแปลว่าไม่เครียด เดินไปไหนมาไหนได้สะดวก กระดูกไม่เปราะ มิใช่หน้าตึงเด้งดึ๋งแต่แก่หลังค่อมแล้วจำอะไรไม่ได้

 

 

 

ในร่างกายของคนเรามีเซลล์ และแต่ละเซลล์ก็จะมีการโปรแกรมเอาไว้แล้วล่วงหน้าว่าจะแบ่งกี่รอบ แบ่งได้กี่ที เมื่อเซลล์เลิกแบ่งเซลล์ร่างกายก็เริ่มมีอาการแก่ เซลล์เหล่านี้ เรียกว่า “senescent cell” การปรับโครงสร้างทางพันธุกรรมในสมัยนี้ก็เพื่อที่จะลดเซลล์ตัวนี้เอง เพื่อให้เซลล์แบ่งตัวใหม่ได้อย่างถาวร


แน่นอนว่าการที่คนเราจะอายุยืนยาวขึ้นพร้อมทั้งสวนเต่งตึงไปในเวลาเดียวกันนั้น มิใช่ว่าเราจะดูแลแต่เพียงด้านเดียว เราต้องดูแลแบบองค์รวม เหมือนการต่อจิ๊กซอว์ โดยช่วยกันต่อภาพจากการร่วมมือกันระหว่างหมอและบุคคลนั้น ๆ เริ่มจิ๊กซอว์แรกตั้งแต่เรื่องง่าย ๆ ตั้งแต่การบำรุงตัวเองด้านอาหาร ซึ่งควรทานสารอาหารที่ต้านอนุมูลอิสระ คำว่า อนุมูลอิสระ มีคนพูดกันถึงมากเหลือเกิน จนคุณสาว ๆ แทบจะเรียกได้ว่าหายใจเข้าเป็นแอปเปิ้ล หายใจออกเป็นสลัดกันหมดแล้ว

นอกจากทางอาหารต้างอนุมูลอิสระแล้ว การจำกัดแคลอรี่ต่อวันก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งจากการทดลองกับหนู หนูซึ่งเป็นสัตว์ตัวเล็ก ๆ มิใช่หนู ๆ ที่หลายท่านกำลังเคลิ้มถึงนะครับ พบว่า หนูมีอายุยืนยาวมากขึ้นถึง 30 เปอร์เซ็นต์ เราควรจำกัดแคลอรี่อย่างไร ก็คือเริ่มจำกัดลดลงประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ของอาหารที่เราทานในแต่ละวัน  แต่สารอาหารพวกวิตามินและแร่ธาตุต้องเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิมนะครับ

หลายท่านอาจเริ่มสับสนว่า โอ๊ย แล้วจะจำกัดอาหารอย่างไรให้ได้วิตามินและแร่ธาตุเท่าเดิม จุดต่าง ๆ เหล่านี้เองที่ทำให้นักโภชนาการไม่ตกงาน เพราะเขาสามารถมาแก้ไขความรู้ที่เราขาดไปในจุด ๆ นี้ แต่การวางแผนต้องเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับจิ๊กซอว์ตัวอื่นที่เราทยอยต่อออกมาเช่นกัน เช่น ถ้าจิ๊กซอว์ตัวต่อไปคือการออกกำลังกายที่ถูกต้อง คุณก็ควรจะรู้ว่าอาหารที่ควรกินในช่วงที่ออกกำลังกายควรจะเป็นอาหารโปรตีนสูง บวกกับสารที่มีวิตามินสูง ถ้าคุณกำลังเครียดไม่มีเวลาออกกำลังกายแต่ต้องการมีอายุยืนยาว ก็ควรทานอาหารที่บำรุงสมอง เช่น แป๊ะก๊วย

จิ๊กซอว์ตัวต่อไปที่หลายท่านอาจต้องการความช่วยเหลือจากแพทย์ คือ การปรับฮอร์โมนให้อยู่ในรูปที่สมดุลสูงสุด เพื่อเอื้อประโยชน์และป้องกันการเสื่อมของเซลล์ นอกจากจะทำให้เราเต่งตึงแล้วยังทำให้กระดูกไม่เปราะอีกด้วย มีหลายท่านยังไม่รู้ว่าการปรับฮอร์โมนนั้นแปลว่าอะไร การดูแลปรับฮอร์โมนในบุคคลหนึ่ง ๆ นั้น ต้องดูแลฮอร์โมนทุกตัวให้สมดุล เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง มิได้แปลว่าเราปรับฮอร์โมนตัวนี้แล้วจะเพียงพอ เราต้องมาดูฮอร์โมนเพศชายในคุณผู้หญิงนั้น ๆ ด้วย เนื่องจากฮอร์โมนตัวเทสโทสเตอเรนในเพศชายนั้นก็มีในเพศหญิงด้วย ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้นี่เองที่ทำให้คุณสาว ๆ มีอารมณ์ทางเพศที่สมดุล มีอาการเหี่ยวของกล้ามเนื้อที่ลดลง

ที่นี่ก็ถึงเวลาที่เราต้องมาดูแลด้วยการเติมจิ๊กซอว์ตัวสุดท้ายที่คุณผู้หญิงห่วงมากที่สุด นั่นคือ รอยเหี่ยวย่น หมอก็ต้องเพิ่มคลอลาเจน ลบรอยเหี่ยวด้วยเครื่องเลเซอร์ วิทยาการล้ำสมัยที่ออกมาช่วยให้คุณ ๆ ได้ยิ่มแช่มชื่นไม่ต้องห่วงเรื่องรอยย่นอีกต่อไป

อ่านดูอาจรู้สึกว่าภาพ ๆ นี้กว่าที่เราจะต่อเสร็จคงเหนื่อยเป็นแน่แท้ แต่ในความเป็นจริงวิทยาการได้ก้าวล้ำให้เรา รวมถึงหมอซึ่งต้องไปเรียนเพิ่มอย่างเด็ก ๆ ก็ต้องคอยติดตามความคืบหน้าของวิทยาการ จนสามารถปรับคืนความอ่อนเยาว์ให้คุณ ๆ ได้สบายใจว่า ถึงแม้ฉันจะอายุ 50 แต่ฉันก็ยังตึงเหมือนเพิ่งจะ 30 จ้ะ


นพ.วิเรนทร์    มัลโฮตรา
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน Anti-aging (Diplomat American Board of Antiaging Medicine (USA) Cert in International of Association for Colon Hydrotherapy (I-ACT) 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด