ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคมะเร็งป้องกันได้ไหม หมอโรคหัวใจ มีคำตอบ

โรคมะเร็งป้องกันได้ไหม หมอโรคหัวใจ มีคำตอบ Thumb HealthServ.net
โรคมะเร็งป้องกันได้ไหม หมอโรคหัวใจ มีคำตอบ ThumbMobile HealthServ.net

มะเร็งเป็นสาเหตุการชีวิตของคนไทยอันดับสอง รองจากโรคหัวใจ แม้ว่าวิทยาการทางแพทย์จะก้าวหน้าไปมากทำให้เราสามารถที่จะวินิจฉัยโรคมะเร็งได้รวดเร็วขึ้น หรือแม้กระทั่งการรักษาให้หายขาดด้วยการฉายแสงหรือเคมีบำบัด ก็ยังถือว่าเป็นเปอเซ็นต์ที่น้อย เมื่อเทียบกับจำนวนคนที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง

โรคมะเร็งป้องกันได้ไหม หมอโรคหัวใจ มีคำตอบ HealthServ


ชนิดของมะเร็งในคนเรามีแตกต่างกันไปมากกว่า 100 ชนิดเลยทีเดียว ตรงนี้อาจเป็นสาเหตุทำให้ผลการรักษาแตกต่างกันออกไป

ถ้าทำได้คงไม่มีใครอยากพบเจอกับโรคมะเร็งแน่นอน ก็ต้องมาพิจารณากันให้เข้าใจว่า แล้วอะไรกันที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งกันแน่

 

นักวิทยาศาสตร์ทราบกันมามากกว่า 20 ปี แล้วว่า มะเร็งนั้นเป็นโรคที่มีความผิดปกติของสารพันธุกรรมภายในเซลล์ที่เรียกว่า ยีน (gene) ที่มีสภาวะบางอย่างทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการแบ่งตัวที่ไม่สามารถควบคุมได้ เกิดมีการเพิ่มปริมาณมากจนเป็นเซลล์มะเร็ง ยีนที่ควบคุมการเกิดมะเร็งนี้เราเรียกว่า ยีนก่อมะเร็ง (oncogene) ซึ่งอาจมีการส่งผ่านทางกรรมพันธ์ หรือเกิดขึ้นภายหลังอันเนื่องมาจากผลกระทบของสารเคมี เช่น อนุมูลอิสระ ดังที่กล่าวข้างต้น


ตามหลักการของการเกิดโรคมีปัจจัยใหญ่ๆ อยู่ 30 อย่างที่สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด คือ

1. Host (ตัวผู้ป่วย)
2. Agent (สารก่อมะเร็ง, เชื้อโรค)
3. Environment (สภาพแวดล้อม)

ตัวผู้ป่วยเองเป็นปัจจัยที่สำคัญเพราะเซลล์ในร่างกายคนเราซึ่งมีถึงเกือบห้าหมื่นล้านเซลล์นี้ ถ้าเซลตัวใดตัวหนึ่งเกิดแปลกปลอมขึ้นมาก ก็จะถูกระบบภูมิคุ้มกันเล่นงาน ถ้าหากระบบนี้ทำงานแย่ก็จะเปิดโอกาสให้มีการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นจึงไม่น่าแปลกใจว่า คนที่ประสบกับภาวะเครียดจัดสูญเสียอย่างรุนแรง ไม่ช้าไม่นานก็จะป่วยด้วยโรคมะเร็ง เพราะภูมิต้านทานลดลงนั่นเอง

สารก่อมะเร็งและการติดเชื้อ เป็นปัจจัยสำคัญดังที่กล่าวแล้ว เรื่องของ มลพิษ ควันบุหรี่ อาหารที่ไหม้เกรียม เป็นต้นกำเนิดของอนุมูลอิสระซึ่งจะเข้าทำลายเซลล์ การติดเชื้อไวรัสบางชนิดอาจก่อให้เกิดมะเร็งของลำคอ คือ หรือกากมดลูก พบว่าหญิงที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่วัยรุ่นมีโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นอย่างมาก

สารกัมมันตรังสี เช่น กรณีการระเบิดของโรงงานปฏิกรณ์ปรมาณู หรือสงครามนิวเคลียร์จะพบอุบัติการณ์มะเร็งของเม็ดโลหิตขาว และมะเร็งผิวหนัง เพิ่มขึ้น

มะเร็งตับ มรสาเหตุที่ทราบแน่ชัดว่าเกี่ยวข้องกับสารที่ชื่อว่า อะฟลาทอคซิน ซึ่งอยู่ในอาหารประเภทถั่วที่ขึ้นรา ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี แบบเรื้อรัง ก็เป็นสาเหตุที่สำคัญเพราะมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งตับเพิ่มขึ้นถึง 200 เท่าเลยทีเดียว คนไข้ประเภทนี้จะไม่มีอาการผิดปกติเรียกว่าเป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบ บี (HBV carrier) จำเป็นต้องรับการตรวจค้นหามะเร็งตับตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ด้วยการทำอัลตราซาวน์ทุก 6 เดือน -1 ปี

มะเร็งอีกชนิดหนึ่งที่เกิดกับท่อทางเดินน้ำดี ซึ่งพบบ่อยทางภาคอีสาน มีสาเหตุเกิดมาจากการรับประทานปลาดิบร่วมกับสารประเภทไนโตรซามีน ซึ่งได้มาจากการหมักโปรตีนกับสารพวกดินประสิว

มะเร็งลำไส้ใหญ่ ก็เป็นอีกชนิดหนึ่งซึ่งพบความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับคนที่ชอบทานเนื้อสัตว์แต่ไม่ชอบทานอาหารที่มีกากใย คือ พวกพืชผัก และธัญพืชต่างๆ ทำให้มีปัญหาเรื่องท้องผูกเป็นประจำ สารพิษ สารก่อมะเร็ง มีโอกาสเล่นงานเซลล์ลำไส้ได้มากขึ้น

ดังที่ยกตัวอย่างมา เป็นเพียงส่วนน้อยในจำนวนสาเหตุการเกิดมะเร็งทั้งหมด เพราะส่วนใหญ่เราก็ยังไม่สามารถหาคำตอบไดว่า สาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งเหล่านั้น คืออะไรแน่
แต่จะเห็นไดว่ามีจำนวนไม่น้อยเกี่ยวข้องอาหารที่เรารับประทาน ซึ่งก็เป็นดังภาษิตฝรั่งที่ว่า “You are what you eat “ คงไม่ผิด



ถ้าจะให้พูดถึงหลังการป้องกันมะเร็งโดยสรุป ก็พอจะแยกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

1. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทราบแน่ชัด เช่น สารพิษ ควันบุหรี่ อาหารปรุงแต่งรส สีเนื้อที่ไหม้เกรียม
2. ทานอาหารธรรมชาติ เช่น ธัญพืช ผัก ผลไม้ที่สดสะอาดให้มากๆ เข้าไว้ โดยไม่พยายามให้ให้ซ้ำซาก เพื่อจะได้รับสารอาหารหลากหลายชนิด
3. หมั่นออกกำลังกาย และพักผ่อนอย่างถูกวิธี ให้พอเหมาะพอดี
4. ดื่มน้ำให้มาก ขับถ่ายให้เป็นเวลา พยายามอย่างให้ท้องผูก
5. ทำจิตใจให้เบิกบาน มองโลกในแง่ดี รู้จักแก้ปัญหาชีวิตในทางที่ถูกต้อง
6. การตรวจมะเร็งประจำปี โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม และปากมดลูก ที่สำคัญต้องไม่ลืมว่า มะเร็งรักษาหายได้เป็นในระยะเริ่มแรก
 

บทความโดย
นพ.วรงค์ ลาภานันต์
อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ รพ.ภูมิพล
แพทย์ที่ปรึกษาศูนย์หัวใจ รพ.วิภาวดี

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด