ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคปริทันต์หรือโรคเหงือกอักเสบ (รำมะนาด)

โรคปริทันต์หรือโรคเหงือกอักเสบ (รำมะนาด)

โรคปริทันต์ หรือโรคเหงือกอักเสบ (รำมะนาด) 
 
     จะมีอาการเลือดออกขณะแปรงฟัน เหงือกบวมแดง มีกลิ่นปาก เหงือกร่น มีหนองออกจากร่องเหงือก ฟันโยก ฟันเคลื่อนห่างออกจากกัน สาเหตุของโรคเกิดจากหินปูนหรือหินน้ำลายซึ่งก็ คือ แผ่นคราบจุลินทรีย์ที่แข็งตัว เนื่องจากมีธาตุแคลเซียม จากน้ำลายเข้าไปตกตะกอน แผ่นคราบจุลินทรีย์ มีลักษณะเป็นคราบสีขาวขุ่นนิ่ม ที่ประกอบด้วยเชื้อโรค ติดอยู่บนตัวฟัน ขบวนการเกิดคราบจุลินทรีย์ เริ่มต้นหลังจากที่แปรงฟัน แล้วเพียง 2-3 นาที โดยจะมีเมือกใสของน้ำลาย มาเกาะที่ตัวฟัน จากนั้นเชื้อโรคที่มีอยู่ในปาก จะมาเกาะทับถมกันเข้าเกิดเป็นคราบจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด โรคฟันผุและโรคปริทันต์ เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป คราบจุลินทรีย์นี้ จะใช้น้ำตาลจากอาหาร สร้างกรดและสารพิษ โดยกรดจะทำลายเคลือบฟัน ทำให้ฟันผุ สารพิษจะทำให้เหงือกอักเสบ เกิดเป็นโรคปริทันต์ 
 
     โดยหินปูนที่โผล่พ้นขอบเหงือก จะมองเห็นได้ แต่ส่วนที่อยู่ใต้เหงือก จะมองไม่เห็น หินปูนหรือคราบจุลินทรีย์ ที่ยึดติดอยู่บนหินปูนใต้เหงือก ไม่สามารถกำจัดออกได้ โดยวิธีการทำความสะอาดฟันด้วยตัวเอง ต้องอาศัยทันตแพทย์ ช่วยกำจัดหินปูนให้ ทันตแพทย์จะขูดหินปูนออก ทั้งเหนือเหงือกและใต้เหงือก ทำรากฟันให้ปราศจากสารพิษใดๆ เพื่อให้เหงือกยึดแน่น รอบตัวฟันเหมือนเดิม
 
คำแนะนำสำหรับการขูดหินปูน
  1. ผู้ป่วยควรมารับบริการขูดหินปูนอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และรับการตรวจฟันอย่างละเอียด
  2. ภายหลังขูดหินปูนเสร็จใหม่ ๆ อาจมีเลือดออกตามขอบเหงือกแต่เลือดจะค่อยๆ หยุดไหลไปเอง การบ้วนน้ำบ่อย ๆจะทำให้เลือดหยุดไหลได้ช้าลง
  3. หลังจากขูดหินปูนในระยะ 1 - 2 สัปดาห์แรก อาจมีอาการระบมของเหงือกและเสียวฟันตามมาได้ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารร้อนหรือเย็นจัด ให้ผู้ป่วยแปรงฟันอย่างระมัดระวังให้สะอาด แล้วอาการเหล่านั้นจะค่อย ๆ หายไป

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด