ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อาการปวดประจำเดือน

อาการปวดประจำเดือน Thumb HealthServ.net
อาการปวดประจำเดือน ThumbMobile HealthServ.net

เป็นปัญหาที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องพบเจอและมีไม่น้อยเลยที่ปวดมากจนรบกวนกับชีวิตประจำวันและสูญเสียสมรรถภาพในการทำงาน จนทำให้ต้องลางาน หยุดงานและนอนพัก บางคนถึงกับต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อฉีดยาแก้ปวดกันเลยทีเดียว

อาการปวดประจำเดือน HealthServ
อาการปวดประจำเดือน เป็นปัญหาที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องพบเจอ และมีไม่น้อยเลยที่ปวดมากจนรบกวนกับชีวิตประจำวันและสูญเสียสมรรถภาพในการทำงาน  จนทำให้ต้องลางาน หยุดงาน และนอนพัก  บางคนถึงกับต้องนอนโรงพยาบาล  เพื่อฉีดยาแก้ปวดกันเลยทีเดียว

อาการปวดประจำเดือนเป็นอย่างไร 

มักมีอาการปวดท้องน้อยบริเวณหัวหน่าว  อาจมีปวดร้าวในท้องน้อยซ้าย หรือ ขวา  รวมถึงปวดไปสะโพกก้นกบ  ปวดร้าวลงหน้าขา  มักปวดในช่วงวันแรกของประจำเดือน  ในบางรายมีอาการไข้ต่ำ  ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว  ปวดเมื่อยตามตัว  บั้นเอว  ปวดศีรษะร่วมด้วยได้
 อาการปวด มีตั้งแต่เล็กน้อย ถึงปวดมาก จนต้องนอนนิ่งๆ  บางคนมีอาการปวดเกร็งมาก จนอยากเป็นลม หรือ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนรุนแรงได้
 
 

อาการปวดประจำเดือนมีกี่ชนิด 

อาการปวดประจำเดือนมี  2  ชนิด
  1. ชนิดธรรมดา หรือ ปฐมภูมิ  จะมีอาการตั้งแต่ประจำเดือนครั้งแรก และเป็นอยู่ประมาณ 2-3  ปี  หลังมีประจำเดือน  ชนิดนี้ไม่มีอันตราย  เกิดจากการยืดขยายของกล้ามเนื้อมดลูก และบีบรัดตัวเพื่อขับประจำเดือน
  2. ชนิดผิดปกติ หรือ ทุติยภูมิ  จะมีอาการหลังจากเป็นประจำเดือนมานานหลายปีแล้ว  จากที่ไม่เคยปวด  จะเริ่มมีอาการและปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ บางคนต้องรับประทานยามากขึ้น  หรือ ต้องเปลี่ยนยา  จากยากินเป็นยาฉีดทุกเดือนอาจพบร่วมกับประจำเดือนที่มีปริมาณต่อวันมากขึ้น  นานขึ้น  หรือ มีก้อนลิ่มเลือดปน เกิดจากพยาธิสภาพในมดลูก รังไข่ เช่น โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่,  เนื้องอกมดลูก, ช็อกโกแลตซีสต์,  พังผืดในอุ้งเชิงกราน

การรักษา 

1. ถ้าปวดไม่มาก ให้กินยาแก้ปวด  ใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบหน้าท้อง
2. หมั่นออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรง
3. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
4 .ถ้ามีอาการปวดมาก ปวดผิดปกติ ควรพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุและรักษาตามสาเหตุนั้น  ซึ่งประกอบด้วย  การใช้ยาคุมกำเนิดเพื่อควบคุมปริมาณประจำเดือน  ฮอร์โมนในร่างกาย  การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อเลาะพังผืด  ลอกถุงน้ำรังไข่  ช็อกโกแลตซีสต์  ผ่าตัดเนื้องอกมดลูก หรือ ตัดมดลูก
 

ข้อแนะนำ 

หากพบว่า เรามีอาการปวดประจำเดือนอย่าปล่อยทิ้งไว้  ควรสังเกตสุขภาพตัวเองว่ามีความผิดปกติ เช่น ปวดมาก  หรือ มีอาการอื่นร่วมด้วยหรือไม่  และควรปรึกษาสูตินรีแพทย์ทันทีที่พบความผิดปกติ
 
พญ.อัญชุลี   สิทธิเวช 
ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากและผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชรพ.วิภาวดี 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด