ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

การดูแลบ้านหลังน้ำท่วม

ผู้ที่ประสบภัยจากน้ำท่วมกันปีนี้ โดนกันแทบถ้วนหน้าและหลังจากน้ำลดผู้ที่เจอกับน้ำท่วมก็ต้องใช้เวลาในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยของตนเองเพื่อการดำเนินชีวิตต่อไปด้วย อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ อย่าเพิ่งใช้เด็ดขาด

การดูแลบ้าน หลังน้ำท่วม

ผู้ที่ประสบภัยจากน้ำท่วมกันปีนี้ โดนกันแทบถ้วนหน้า และหลังจากน้ำลดผู้ที่เจอกับน้ำท่วมก็ต้องใช้เวลาในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยของตนเองเพื่อการดำเนินชีวิตต่อไปด้วย
 
อุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ อย่าเพิ่งใช้เด็ดขาด เพราะอุปกรณ์เครื่องใช้เหล่านี้เมื่อโดนน้ำท่วม ก็แสดงว่าน้ำไหลเข้าไปในเครื่องแล้ว การนำไปตากแดดแล้วมาใช้งานต่อเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อชีวิตท่าน แต่ถ้าหากจะยังใช้งานจริงๆ ก็มีข้อแนะนำดังนี้
  • ตลอดเวลาที่ใช้ต้องมีคนอยู่ด้วยเสมอ เผื่อเวลาฉุกเฉินจะได้ปิดเครื่อง ดึงปลั๊กได้ทันที
  • ที่ Cut out ไฟฟ้าหลักของบ้านท่าน ต้องมีฟิวส์คุณภาพติดตั้งเสมอ หากเกิดไฟฟ้าลัดวงจรเมื่อใด ต้องแน่ใจว่าวงจรไฟฟ้าจะถูกตัดออกทันที
  • เมื่อไม่จำเป็นต้องใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ ต้องรีบนำไปแก้ไขซ่อมแซมโดยช่างผู้รู้ทันที
พื้นไม้ปาเก้  ถ้าพื้นบ้านเป็นไม้ปาเก้ แล้วถูกน้ำท่วม ซึ่งปาเก้หรือไม้แผ่นชนิดนี้อยู่ได้ด้วยกาวติดกับพื้น   จึงแพ้น้ำ(ท่วม)อย่างแรง เพราะไม้จะบวมน้ำและหลุดล่อนออกมา ซึ่งมีวิธีตรวจสอบแก้ไข ดังนี้
  • หากเปียกน้ำเล็กน้อย ไม่ถึงกับหลุดล่อนออกมา แค่เช็ดทำความสะอาดแล้วเปิดประตู หน้าต่างปล่อยให้แห้งโดยให้อากาศถ่ายเทความชื้นออกไป ปาเก้จะเป็นปกติได้ไม่ช้า
  • หากปาเก้มีอาการบิดงอ ปูดโปน เบี้ยวบูด กรุณาเลาะออกมาทันทีและหากยังอยู่ในสภาพดีก็ผึ่งลมให้แห้งอาจนำมาใช้ประโยชน์ได้
  • ผนังบ้าน  ผนังบ้านเรือนหากแช่น้ำไว้นานๆ ก็อาจมีการเสียหายไปบ้าง โดยเฉพาะพวกผนังสำเร็จรูปที่มีน้ำหนักเบาทั้งหลาย ลองมาดูวิธีแก้ไขกัน
  • ผนังไม้ ปกติไม้จะไม่เสียหายเมื่ออยู่ใต้ระดับน้ำ แต่มักผุกร่อนในจุดที่มีน้ำขึ้น น้ำลง ตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อน้ำลดให้เอาผ้าเช็ดทำความสะอาด ขจัดคราบสกปรกออกเพื่อสุขภาพคนในบ้าน   เพื่อให้ผิวไม้ระเหยความชื้นออกไปได้   เมื่อแน่ใจว่าผนังแห้งดี แล้ว   ให้ใช้น้ำยารักษาเนื้อไม้ทาชโลมลงที่ผิว  การทาสีหรือยารักษาเนื้อไม้อาจทำภายในก่อนก็ได้เพื่อความสวยงามในการอยู่อาศัย แล้วรออีกสักพัก (3-4 เดือน) จึงทาภายนอกอีกทีเพราะผนังภายนอกน่าจะแห้งสนิทดีแล้ว
  • ผนังก่ออิฐฉาบปูน ให้ดำเนินการเหมือนกับผนังไม้ แต่ต้องทิ้งระยะเวลานานกว่าเนื่องจากผนังอิฐจะมีมวลสารและการเก็บกักความชื้นในตัววัสดุได้มากกว่าไม้ จึงต้องใช้เวลาระเหยความชื้นออกไปนานกว่า
  • ผนังยิบซั่มบอร์ด   เนื่องจากวัสดุชนิดนี้เป็นแผ่นผงปูนยิบซั่มที่หุ้มด้วยกระดาษอย่างดี แต่ไม่ว่าจะดีเพียงใดเมื่อเจอกับน้ำ(ท่วม) แล้วก็คงไม่น่าจะมีชีวิตต่อไปได้ ดังนั้นให้แก้ไขโดยเลาะเอาแผ่นชนิดนี้ที่โดนน้ำท่วมออกจากโครงเคร่าแล้วค่อยหาแผ่นใหม่มาติด ยาแนว ทาสีทับใหม่ก็เรียบร้อยใช้งานได้เหมือนเดิม
  • ผนังโลหะ/กระจก วัสดุเหล่านี้โดยตัวเนื้อวัสดุคงไม่มีความเสียหาย   เพียงแค่ทำความสะอาดขัดถูก็จะสวยงามเหมือนเดิม แต่ควรระวังเรื่องรอยต่อว่ามีคราบน้ำ เศษผง  สิ่งสกปรกติดฝังอยู่บ้างหรือไม่ หากมีก็ให้ทำความสะอาดเสียให้เรียบร้อย เนื่องจากคราบน้ำ ความสกปรกอาจทำให้วัสดุยาแนวเสื่อมสภาพเร็วกว่ากำหนด
  • สีทาบ้าน  การซ่อมแซมสีทาบ้านทั้งภายนอกและภายใน ควรเป็นสิ่งสุดท้ายในการแก้ไขปรับปรุงบ้าน เพราะเป็นเรื่องของเวลาที่ต้องปล่อยทิ้งให้ความชื้นหรือน้ำในตัววัสดุระเหยออกไปให้ได้มากที่สุด   มิฉะนั้นท่านทาสีทับไปดีอย่างไร ก็จะเกิดอาการหลุดล่อนในที่สุด
  • ข้อควรคิดสำหรับการซ่อมแซมสี   คือ ปัญหาสีลอก สีล่อนไม่ได้เกิดจากคุณภาพของสีแต่เกิดจากความไม่พร้อมของพื้นผิวที่ทาสี หากพื้นผิวที่ทาสีมีความชื้นหรือสิ่งสกปรกติดอยู่ทาสีทับอย่างไรสีก็จะล่อนออกมาอยู่ดี
  • ข้อพึงกระทำเวลาซ่อมสี คือ อย่างเพิ่งรีบทาสี ให้ทำความสะอาดลอกสีเดิมทิ้งออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วทิ้งไว้นานๆ หลายๆ เดือน  อาจรอจนถึงหน้าร้อนปีหน้าแล้วค่อยทาสีตามกรรมวิธีของผู้ผลิตก็ไม่สาย
ด้วยความปรารถนาดีจาก รพ.วิภาวดี
ข้อมูลสมาคมสถาปนิกสยาม

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด