การจัดฟัน (Orthodontic treatment) เป็นการเคลี่อนฟัน ไปยังตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดทั้งในด้าน ความสวยงามและการทำหน้าที่ โดยอาศัยเครื่องมือบางชนิด
ซึ่งมีทั้งแบบถอดได้และแบบที่ยึดติดอยู่กับตัวฟันแบบที่อยู่ในช่องปาก และแบบที่อยู่นอกช่องปากแบบที่มีสีจากโลหะและ แบบที่มีสีเดียวกับฟันธรรมชาติ
เมื่อไหร่จึงเริ่มจัดได้
- การจัดฟันสามารถกระทำได้ทั้งในเด็กที่ฟันแท้ยังขึ้นไม่ครบและในผู้ใหญ่ที่ฟันแท้ขึ้นครบทุกซี่แล้ว ทั้งนี้อาจจะมีจุดมุ่งหมายและข้อจำกัดแตกต่างกันออกไปบ้าง
- การจัดฟันในเด็กอาจจะมีผลทำให้รูปหน้าและรูปร่างของกระดูกขากรรไกรเปลี่ยนแปลงไปได้
- ในขณะที่ในผู้ใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะการเรียงตัวของฟันเท่านั้น
- ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างของใบหน้าได้มากนักและมีข้อจำกัดต่างๆ มากกว่าในเด็ก
- ในบางครั้งการจัดฟันเพียงอย่างเดียว อาจไม่สามารถแก้ไขการสบฟันและรูปร่างใบหน้า
- ให้สมบูรณ์ได้ จึงต้องมีการถอนฟันออกไปบางซี่ หรือในรายที่มีความผิดปกติรุนแรง
- อาจจะต้องทำการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดกระดูกขากรรไกร (Orthognathic surgery)
ระยะเวลาที่ต้องใช้
ระยะเวลาในการจัดฟันนั้นจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย เนื่องจากมีตัวแปรต่างๆมากมาย
อาทิเช่น อายุของผู้ป่วย สภาพกระดูกขากรรไกรของผู้ป่วย ความร่วมมือของผู้ป่วยในการรักษา ฯลฯ
ความสำเร็จในการจัดฟัน
- จะต้องอาศัยความร่วมมืออย่างสูงจากผู้ป่วยตั้งแต่การมาให้ตรงเวลานัดโดยทั่วไป
- จะต้องมาพบทันตแพทย์ทุกๆ 3-4 สัปดาห์เพื่อทำการปรับเครื่องมือ
- การรักษาความสะอาดในช่องปาก
- การใส่เครื่องมือบางชนิดในช่องปากด้วยตัวเองจนถึงการใส่เครื่องมือคงสภาพฟัน (Retainer) หลังจากเสร็จสิ้นการรักษาแล้ว ถ้าปราศจากการร่วมมือที่ดีจากผู้ป่วยแล้ว การจัดฟันอาจจะใช้เวลานานกว่าปกติและไม่ประสบผลสำเร็จ หรือผลที่ได้ไม่ดีเท่าที่ควรครับ
ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวเมื่อรับการจัดฟัน
1.แปรงฟันทุกครั้งหลังอาหาร และรักษาความสะอาดฟันและช่องปากให้ดี
2.ปฏิบัติตัวตามที่ทันตแพทย์สั่งโดยเคร่งครัด เช่น การใส่ยาง การใส่ retainer การมาตามนัดที่กำหนด
3. งดอาหารบางประเภท
- อาหารที่แข็งมาก เช่น อ้อย น้ำแข็ง
- อาหารเหนียว เช่น หมากฝรั่ง ตังเม เนื้อที่เหนียวมากๆ
- อาหารหวานจัด เช่น ลูกอม ช็อคโกแลต
ทพ. ณพงษ์ พัวพรพงษ์ ทันตแพทย์จัดฟัน รพ.วิภาวดี