ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ไข้เลือดออก ภัยจากยุงลาย อันตรายถึงชีวิต

ไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่มักแพร่ระบาดในฤดูฝน เกิดจากเชื้อไวรัส โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ปัจจุบันมักเป็นเด็กโตและผู้ใหญ่มากกว่าเด็กเล็ก เรามาทำความเข้าใจเจ้าโรคนี้กันเถอะค่ะ

ระวังไข้เลือดออก

ไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่มักแพร่ระบาดในฤดูฝน เกิดจากเชื้อไวรัส โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค  ปัจจุบันมักเป็นเด็กโตและผู้ใหญ่มากกว่าเด็กเล็ก เรามาทำความเข้าใจเจ้าโรคนี้กันเถอะค่ะ

อาการของโรค

  • หลังจากได้รับเชื้อจากยุงลายกัด ประมาณ 5 – 8 วัน  จะเริ่มมีอาการไข้สูง 39 – 40 องศา C  ติดต่อกัน 3 –5 วัน  
  • ปวดศรีษะ  ปวดเมื่อยตามแขนขา ปวดท้อง เจ็บลิ้นปี่ อาเจียน เบื่ออาหาร ไม่มีน้ำมูก ไม่ไอ  
  • บางรายมีเลือดกำดาวหรือจุดเลือดออก เป็นผื่นแดงเล็กๆ ใต้ผิวหนัง 
  • ในรายที่มีอาการรุนแรงซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายของภาวะช็อค คือ ในขณะที่ไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยจะกระสับกระส่าย เหงื่อออกตัวเย็น ชีพจรเต้นเบา หายใจเหนื่อยหอบ
  • อาจมีเลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้ มีอาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือดร่วมด้วย
  • ปัสสาวะน้อยลง ซึมมาก ต้องนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
  • หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องในช่วงนี้ ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิตได้
  • ส่วนในรายที่มีอาการไม่รุนแรง เมื่อไข้ลดอาการต่างๆ จะดีขึ้น และหายเป็นปกติใน 5 วัน

การติดต่อ

  • โดยยุงลายเป็นตัวนำ ลัดษณะยุงลาย ตัวแก่ เป็นยุงขนาดเล็ก มีสีดำสลับขาวเป็นปล้องเห็นชัดเจนที่ขา หากินเวลากลางวันและพบเฉพาะบริเวณบ้านคนอาศัยอยู่ เพราะชอบวางไข่ในภาชนะทุกชนิดเช่น ตุ่มน้ำดื่มน้ำใช้ ที่รองกระถาง แจกัน ขวด กะลา ยางรถยนต์เก่าๆที่มีน้ำขัง
  • ยุงลายตัวเมีย 1 ตัวสามารถกัดคน และถ่ายเชื้อไข้เลือดออกได้วันละหลายๆครั้ง ส่วนใหญ่ ยุงลายมักกัดเวลากลางวัน

การป้องกัน
ถ้าผู้ป่วยมีไข้สูงติดต่อกันเกิน 3 วัน  ให้พาไปพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง  ระวังไม่ให้ยุงกัดในเวลากลางวัน  กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายปิดฝาภาชนะเก็บน้ำให้มิดชิด

การรักษา

  • ยังไม่มียาต้านไวรัส
  • ให้เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น ๆ 
  • กินยาลดไข้พาราเซตามอลได้ งดแอสไพรินเด็ดขาด
  • ดื่มน้ำชดเชยมากๆ  และพามาพบแพทย์

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด