ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคทางสุขภาพจิต จิตเวชและการรักษา

โรคทางสุขภาพจิต จิตเวชและการรักษา Thumb HealthServ.net
โรคทางสุขภาพจิต จิตเวชและการรักษา ThumbMobile HealthServ.net

โรคจิตเภท โรคไบโพลาร์ โรคอารมณ์ซึมเศร้า โรควิตกกังวล อาการหูแว่ว, หวาดระแวง, กลัวคนทำร้าย โรคแพนิค โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคกลัวการเข้าสังคม หนึ่งในหลายๆ อาการทางจิตที่คนในปัจจุบันประสบกันอยู่

ปัญหาทางสุขภาพจิตและพฤติกรรมทำให้ชิวิตประจำวันไม่ราบรื่นเท่าที่ควร และอาจส่งผลต่อสุขภาพกาย ความสัมพันธ์ การศึกษา รวมถึงหน้าที่การงาน อย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ การรับการรักษาที่เหมาะสม อย่างรวดเร็ว ช่วยให้ปัญหาได้รับการแก้ไขก่อนที่จะทวีความซับซ้อน และนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ แผนกจิตเวชผู้ใหญ่ให้ความช่วยเหลือดูแลรักษาแก่ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และพัฒนาทักษะในการจัดการปัญหาเหล่านั้นอย่างรอบด้าน โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการใช้ชีวิตเป็นส่วนหนึ่งในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ

ลองทำแบบประเมินตนเองโดยกรมสุขภาพจิตดูมั๊ย
 

กลุ่มอาการ และพฤติกรรมในผู้ใหญ่
ที่ต้องได้รับคำปรึกษาจากจิตแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ
  • การเจ็บป่วยเนื่องจากความเครียด
  • ความเครียดหลังประสบเหตุการณ์ร้ายแรงในชีวิต
  • ความบกพร่องในการเรียนรู้
  • ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ และพฤติกรรม
  • ความผิดปกติในการพัฒนาการ
  • คิดมาก คิดเยอะ กังวล
  • จิตเวชในโรคทางกาย
  • เจ็บปวดเรื้อรัง
  • ซึมเศร้า ท้อแท้ สิ้นหวัง
  • ปัญหาการกิน
  • ปัญหาการนอน นอนมาก นอนไม่หลับ นอนไม่สนิท
  • ปัญหาการเบี่ยงเบนทางเพศ
  • ปัญหาการเลี้ยงดูบุตร
  • ปัญหาครอบครัว
  • ปัญหาความสัมพันธ์ทางเพศ
  • ปัญหาชีวิตคู่
  • ปัญหาด้านความรัก
  • ปัญหาทางเพศ
  • ปัญหาทางสังคม เก็บตัว แยกตัว
  • ปัญหาในการจัดการอารมณ์
  • ปัญหาบุคลิกภาพ
  • ปัญหาผู้สูงอายุ
  • ปัญหาพฤติกรรม และการปรับตัว
  • ปัญหาสุรา บุหรี่ การพนัน และสารเสพติด
  • ภาวะกล้ามเนื้อกระตุกผิดปกติแบบติค
  • ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
  • ภาวะเพ้อ หูแว่ว หวาดระแวง หลงผิด เห็นภาพหลอน
  • โรคกลัวต่างๆ
  • โรคความจำเสื่อม โรคสมองเสื่อม
  • โรคจิตเภท และโรคจิตอื่นๆ
  • โรคไบโพลาร์และโรคอารมณ์แปรปรวนอื่นๆ
  • โรคแพนิค
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ
  • โรควิตกกังวล
  • โรคสมาธิสั้น
  • โรคออทิสติก
  • โรคอารมณ์ซึมเศร้า
  • โรคแอสเพอร์เกอร์
  • สภาวะกลัวเป็นโรคใดโรคหนึ่ง

 
 
 
อาการและกลุ่มโรคทางสุขภาพจิตและจิตเวชที่ควรเข้ารับการรักษา
 
ผู้ป่วยนอก
การบริการประกอบด้วย เภสัชบำบัด (การเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับอาการ โรค และผู้ป่วย) การให้คำปรึกษา การทำจิตบำบัด ทั้งรายบุคคล กลุ่ม ครอบครัว และคู่สมรส การทำพฤติกรรมบำบัด กิจกรรมบำบัดโดยเน้นทั้ง การบำบัดรักษาอาการการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ และการติดตามประเมินผลต่อเนื่องเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหา
 
กลุ่มโรค
 
  • โรคจิตเภท (Schizophrenia)
  • โรคไบโพลาร์ (Biopolar)
  • โรคอารมณ์ซึมเศร้า (Depression)
  • โรควิตกกังวล (Anxiety)
  • อาการหูแว่ว, หวาดระแวง, กลัวคนทำร้าย
  • โรคแพนิค (Panic)
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD)
  • โรคกลัวการเข้าสังคม (Social Phobia)
  • ความเครียดหลังประสบเหตุการณ์ร้ายแรงในชีวิต (PTSD)
  • โรคความจำเสื่อม / โรคสมองเสื่อม
  • โรคเกี่ยวกับการนอน
  • โรคสมาธิสั้น (ADHD)
  • ความบกพร่องในการเรียนรู้ (LD)
  • โรคออทิสติก (Autistic)
  • โรคแอสเพอร์เกอร์(Asperger)
  • อาการทางจิตเวชในผู้ป่วยทางกาย
  • การเจ็บป่วยอันเนื่องจากความเครียด คิดมาก คิดเยอะ
  • กลัวคิดว่าตัวเองเป็นโรคใดโรคหนึ่ง (Health anxiety hypochondriasis)
  • โรคกลัว (Phobia)
กลุ่มอาการ
  • เก็บตัว, แยกตัว
  • ปัญหาการติดเกมส์ / ติดคอมพิวเตอร์
  • อาการซนเกินไป / ดื้อ / อยู่ไม่นิ่ง / บอกแล้วไม่เชื่อฟัง
  • ปัญหาพัฒนาการด้านการพูด / ไม่พูด / พูดไม่ชัด / พูดช้า
  • ปัญหาเด็กพัฒนาการล่าช้า
  • กระตุ้นทักษะการเรียน พัฒนาการด้านการเรียน
  • ปัญหาการกินกลัวอ้วน (บูลิเมีย / อนอเรกเซีย)
  • ปัญหาดด้านความรัก
  • ปัญหาชีวิตคู่
  • ปัญหาครอบครัว
  • ปัญหาการเลี้ยงดูบุตร
  • ปัญหาบุคลิกภาพ
  • ปัญหาเรื่องการปรับตัวต่างๆ
  • ปัญหาในการจัดการอารมณ์
  • ปัญหาการนอน
  • การบำบัดการติดสารเสพติด, สุรา, บุหรี่
  • ปัญหาเรื่องการติดพนันทุกประเภท
  • กลัวเบี่ยงเบนทางเพศ
  • ปัญหาความสัมพันธ์ทางเพศ
  • ตรวจขอใบรับรองแพทย์เพื่อแปลงเพศ
  • ตรวจขอใบรับรองบุตรบุญธรรม
  • ตรวจรับรองความพิการ 
ขอบคุณภาพและบทความจาก : https://www.honestdocs.co
ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์
หมวดหมู่ตามระบบการวินิจฉัยโรคทางจิตเวช
โรคทางจิตเวชมีหลายโรค สามารถแบ่งเป็นหมวดหมู่ตามระบบการวินิจฉัยโรคได้ ดังนี้
  1. F00-F09 Organic mental disorder
    เป็นกลุ่มอาการเนื่องจากโรคของสมอง ซึ่งมักเป็นสภาวะที่มีการเสื่อมเรื้อรัง มีผลต่อการทำงานที่ซับซ้อนของสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับความจำ ความคิด ความเข้าใจ การรับรู้สถานที่ เวลา บุคคล การคำนวณ การเรียนรู้ ภาษา การตัดสินใจ การรู้สึกตัว โรคในหมวดนี้แบ่งย่อยได้อีกหลายโรคตามลักษณะอาการทางคลินิก ได้แก่ โรคหลงลืม (Dementia) โรคสมองเสื่อม (Alzheimer) โรคพฤติกรรมและอารมณ์เปลี่ยนเนื่องจากการบาดเจ็บทางสมอง (Organic brain syndrome) เป็นต้น
  2. F10-F19 Mental and Behavioral disorder due to psychoactive substance
    เป็นกลุ่มอาการที่มีความผิดปกติทางความคิด อารมณ์ พฤติกรรม การรับรู้ อันเนื่องมาจากการได้สารกระตุ้นที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท จำพวก ยาเสพติด ต่างๆ ตัวอย่างโรคในหมวดนี้ ได้แก่ โรคติดสุรา ติดบุหรี่ ติดกาเฟอีน ติดยานอนหลับ ติดสารเสพติดทุกชนิด
  3. F20-F29 Psychotic disorder
    เป็นกลุ่มโรคที่มีความผิดปกติทางความคิดและการรับรู้เป็นหลัก อาการเด่นของโรคในหมวดนี้คือ มีหูแว่ว เห็นภาพหลอน หวาดระแวงกลัวในสิ่งที่อาจเป็นไปไม่ได้ หลงผิด คิดในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง ตัวอย่างโรคในหมวดนี้ ได้แก่ โรคจิตเภท (Schizophrenia) โรคจิตหวาดระแวง (Paranoid Schizophrenia) โรคหลงผิด (Delusion) เป็นต้น
  4. F30-F39 Mood disorder
    เป็นกลุ่มโรคที่มีความผิดปกติทางอารมณ์เป็นหลัก อาการเด่น คือ อารมณ์แปรปรวน ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ เศร้าหรือครึกครื้นมากเกินปกติ ตัวอย่างโรคในหมวดนี้ ได้แก่ โรคซึมเศร้า (Depressive) โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar) โรคอารมณ์ครึกครื้น (Mania) เป็นต้น
  5. F40-F49 Neurotic , stress-related and somatoform disorder
    เป็นกลุ่มโรคทางระบบประสาทซึ่งเกี่ยวข้องกับความคิด เป็นหลัก ตัวอย่างโรคในหมวดนี้ ได้แก่ โรควิตกกังวล (Anxiety) โรคเครียด (Stress) โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-Compulsive) โรคที่เจ็บปวดตามร่างกายอันเนื่องมาจากสาเหตุทางจิตใจ(somatoform) เป็นต้น
  6. F50-F59Behavioral disorder
    เป็นกลุ่มโรคที่มีพฤติกรรมผิดปกติ ได้แก่ โรคการกินผิดปกติ (Eating disorder) โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) โรคพฤติกรรมเปลี่ยน (Behavior changes)
  7. F60-F69Adult personality and Behavior disorder
    เป็นกลุ่มโรคที่มีความผิดปกติทางพฤติกรรมเด่นชัด ได้แก่ โรคพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง(Aggressive personal disorder) โรคบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (Borderline personal disorder) โรคบุคลิกภาพแบบพึ่งพิง (Dependent personal disorder) โรคติดการพนัน(Pathological gambling) โรคผิดเพศ (Transsexualism) เป็นต้น
  8. F70-F79Mental retardation
    เป็นกลุ่มโรคที่มีความผิดปกติหรือบกพร่องทางระดับสติปัญญา เรียนรู้ได้น้อยได้แก่ โรคปัญญาอ่อน
  9. F80-F89Development disorder
    เป็นกลุ่มโรคที่มีความผิดปกติหรือพัฒนาการบกพร่อง ได้แก่ โรคผิดปกติทางการพูดออกเสีย (Speech Develop disorder) ความผิดปกติในการใช้ภาษา (Expressive language disorder ) ความผิดปกติในการเข้าใจภาษา (Receptive language disorder) โรคผิดปกติทางด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ (motor function development disorder) โรคผิดปกติทางการเรียนรู้(LD) โรคออทิสติก (Autistic spectrum disorder) เป็นต้น
  10. F90-F98 Behavioral and emotional disorders with onset usually occurring in childhood and adolescence
    เป็นกลุ่มโรคผิดปกติทางพฤติกรรมอารมณ์ในเด็กและวัยรุ่น ได้แก่ โรคสมาธิสั้น (ADHD) โรคดื้อ (ODD : Oppositional defiant disorder) โรคก้าวร้าวต่อต้าน (Conduct disorder) ปัญหาปัสสาวะรดที่นอน ติดอ่าง และปัญหาจากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม
  11. G00-G99 Neurosis
    เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท กลุ่มนี้จะมีอาการคาบเกี่ยวระหว่างระบบประสาทสมองและร่างกาย ได้แก่ โรคลมชัก (Epilepsy) โรคปวดศีรษะจากความเครียด (Tension headache) โรคปวดศีรษะไมเกรน (Migraine) โรคพากินสัน(Parkinson) เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.honestdocs.co/categories-of-psychiatric-diseases
ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์
การบำบัดรักษาสุขโรคทางจิตเวช

การรักษาโดยการใช้ยา
  • ยาต้านโรคจิต ( Antipsychotics , Neurolepticsor Major Tranquilizers )
  • ยาคลายกังวล และยาต้านความวิตกกังวล ( Antianxiety , Minor Tranquilizers )
  • ยาต้านความเศร้า และระงับอารมณ์เศร้า ( Antidepressants )
  • ยาควบคุมอารมณ์ ( Mood Stabilizing Drugs, antimanicdrug)
  • ยาป้องกัน และรักษาอาการข้างเคียงจากการใช้ยาต้านโรคจิต ( AnticholinergicDrugs , Antiparkinsonian Agents )
  • ยานอนหลับ ( Hypnotic Drug , Sedative Drugs , CNS-Depressants ) 
  • ยาที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางอื่น ๆ ( Others CNS Drugs ) : DopaminergicD. , Anticonvuisants , CNS Stimulants เช่น Ritalin HCL)
การบำบัดทางกิจสังคม
  • จิตบำบัด (Psychotherapy)
  • การให้การปรึกษา (Counseling)
  • จิตศึกษา (Psycho-education)
  • กิจกรรมบำบัด
  • สิ่งแวดล้อมบำบัด
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://thaihealthlife.com/สุขภาพจิต


ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์

/////

แบบประเมินตนเองโดยกรมสุขภาพจิต

สงสัยหรือกังวลมั๊ย ว่าจะเป็นโรคซึมเศร้าหรือป่าว "ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมารวมทั้งวันนี้ ท่านมีอาการเหล่านี้บ่อยแค่ไหน"
ลองทำ แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q) ที่กรมสุขภาพจิตได้ทำไว้ให้ทดสอบ

นอกจากนี้ยังมีแบบสอบถามอื่นๆ ให้ลองทำ
  • Click  แบบประเมินความเครียด (ST5) 
  • Click  แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม (2Q)
  • Click  แบบประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 8 คำถาม (8Q)

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด