ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคแอนแทรกซ์ โรคระบาดร้ายแรงในสัตว์ ที่ติดต่อสู่คนได้

โรคแอนแทรกซ์ โรคระบาดร้ายแรงในสัตว์ ที่ติดต่อสู่คนได้ HealthServ.net
โรคแอนแทรกซ์ โรคระบาดร้ายแรงในสัตว์ ที่ติดต่อสู่คนได้ ThumbMobile HealthServ.net

โรคแอนแทรกซ์ เป็นโรคระบาดร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า สัตว์เลี้ยง แล้วติดต่อไปยังสัตว์อื่นๆ และ ติดต่อสู่คนได้ 3 รูปแบบ คือ การติดเชื้อที่ผิวหนัง การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ การติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร แต่ไม่มีรายงานว่าโรคแอนแทรกซ์ติดต่อจากคนสู่คนได้

       โรคแอนแทรกซ์ เป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499

       โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น เช่น เสือ สุนัข แมว สุกร 

       สัตว์แต่ละชนิดมีความไวในการเกิดโรคต่างกัน  พบว่า โค กระบือ แพะ แกะ ติดโรคได้ง่ายที่สุด 

      โรคแอนแทรกซ์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bacillus anthracis ที่พบทั่วไปตามธรรมชาติโดยเฉพาะในดินที่มี ซากสัตว์ที่ตายด้วยโรคแอนแทรกซ์มาก่อน  และเชื้ออาจแพร่ได้ทางฝุ่น น้ํา และวัสดุจากพืช สัตว์ เช่น ขน กระดูก หนัง และอาหารสัตว์  นั่นจึงเป็นเหตุว่า โรคนี้มักจะเกิดซ้ำ หรืออาจจะระบาดในท้องที่ซึ่งมีประวัติว่าเคยมีโรคนี้ระบาดมาแล้ว  

        เชื้อโรคแอนแทรกซ์ มีความทนทานต่อสภาพอากาศ  เมื่ออยู่ในที่แห้งและภาวะอากาศไม่เหมาะสม จะสร้างสปอร์หุ้มเซลล์ไว้ มีความทนทานมากทั้งความร้อนความเย็น และยาฆ่าเชื้ออยู่ในธรรมชาติได้นานเป็นสิบๆ ปี
        

        แต่ในปัจจุบัน การคมนาคมขนส่ง ที่สะดวกและรวดเร็ว  ทำให้มีการกระจายสัตว์ป่วย หรือสัตว์ที่อยู่ในระยะฟักตัวของโรคไปขายในท้องถิ่นอื่น ทำให้โรคอาจแพร่หลายออกไปยังที่ไกลๆ ออกไปได้



โรคแอนแทรกซ์ติดต่อจากสัตว์สู่คนได้


        โรคแอนแทรกซ์ สามารถติดต่อสู่คนได้ โดยมักเกิดจากการระบาดของโรคในสัตว์ก่อน  และติดต่อสู่คน ทางผิวหนังเป็นส่วนใหญ่  จากการสัมผัสสัตว์ป่วย หรือสัมผัสกับผลิตภัณฑ์ สัตว์ที่ได้มาจากสัตว์ป่วย เช่น ขนสัตว์หนัง กระดูก เนื้อสัตว์ นั่นเอง

      โรคแอนแทรกซ์ ไม่มีการติดต่อระหว่างคนด้วยกัน


      เชื้อโรคแอนแทรกซ์ สามารถก่อให้เกิดโรคในคน 3 รูปแบบ คือ 
  1. การติดเชื้อที่ผิวหนัง
  2. การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
  3. การติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร

1) การติดเชื้อที่ผิวหนัง (Cutaneous anthrax)

พบมากที่สุด ราว 95-99% ของผู้ป่วยแอนแทรกซ์ติดเชื้อโดยสปอร์ของเชื้อ เข้าทางบาดแผลและรอยแผลถลอก มักเป็นที่มือ แขน คอ หรือขา ระยะฟักตัว 2-5 วัน รอยแผลเริ่มจากผนังเป็นตุ่มแข็ง จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นตุ่มน้ําใสและแตกออกกลายเป็นแผลหลุมสีดําคล้ายรอยถูกจี้ด้วยบุหรี่ ในรายที่ไม่ได้รับการรักษาอาจจะมีการ ลุกลามของเชื้อไปยังต่อมน้ําเหลืองและกระจายไปตามกระแสเลือดทําให้เกิดภาวะโลหิตเป็นพิษได้อัตราป่วยตายกรณีไม่ได้รับการ รักษาไม่สูงนัก อยู่ระหว่างร้อยละ 5-20 สิ่งส่งตรวจสําหรับการแยกเชื้อ : ป้ายแผล ในระยะเริ่มต้นที่แผลเป็นตุ่มพองและระยะที่ แผลตกสะเก็ด


2) การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ (Pulmonary anthrax)

เกิดจากการหายใจเอาสปอร์ของเชื้อเข้าสู่ร่างกาย เช่น ขนสัตว์ หรือกระดูกป่น เป็นต้น ทําให้มีอาการบวมน้ําและจุดเลือดออกเป็นหย่อมๆที่เนื้อปอด และเกิด pleural effusion แต่จะไม่พบ pneumonia อาการทั่วไปคล้ายไข้หวัดใหญ่สุดท้ายเชื้อจะเข้าสู่กระแสโลหิต ทําให้เกิดภาวะโลหิตเป็นพิษและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทําให้ถึงแก่ชีวิตได้อัตราการป่วยตายร้อยละ 50-60 สิ่งส่งตรวจสําหรับการแยกเชื้อ : เสมหะ เลือด และน้ําไขสันหลัง


3) การติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร (Intestinal anthrax)

เป็นการติดเชื้อที่รุนแรงที่สุด พบไม่บ่อยนัก เกิดจากการกินเนื้อ สุกๆ ดิบๆ จากสัตว์ที่เป็นโรค อาการที่พบในช่วงแรกๆ จะคล้ายกับผู้ป่วยทางเดินหายใจตอนบน มีไข้ปวดเมื่อยตามตัว จากนั้นจะ หายใจขัด หายใจลําบาก หน้าเขียวคล้ำ และตายจากอาการของระบบหายใจล้มเหลวในช่วงเวลาเพียง 3-5 วันหลังรับเชื้อ อัตรา การป่วยตายของผู้ป่วยระบบนี้จะสูงมากถึงร้อยละ 80-90 สิ่งส่งตรวจสําหรับการแยกเชื้อ : อุจจาระ ห้องปฏิบัติการของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข เปิดให้บริการเพาะแยกเชื้อ แบคทีเรีย Bacillus anthracis จากสิ่งส่งตรวจ ได้แก่ เลือด เสมหะ อุจจาระ ป้ายแผล ด้วย อาหารเลี้ยงเชื้อที่จําเพาะต่อการเจริญเติบโตและทดสอบคุณสมบัติทางชีวเคมี และวิเคราะห์ สเปคตรัมโปรตีนของเชื้อด้วยเทคนิค MALDI-TOF Mass Spectrometry (MALDI-TOF MS) ในห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 3 (BIOSAFETY LEVEL (BSL3) LABORATORY) 
 

วิธีการติดต่อโรคแอนแทรกซ์

 
           ในคน ส่วนใหญ่จะติดทางผิวหนังโดยการสัมผัสสัตว์ป่วย หรือสัมผัสกับผลิตภัณฑ์สัตว์ที่ได้มาจากสัตว์ป่วย บุคคลที่เป็นโรคนี้พบมากในกลุ่มที่มีอาชีพทางเกษตรกรรม นอกจากนี้ได้แก่ คนชำแหละเนื้อ สัตวแพทย์ หรือผู้ที่ใกล้ชิดกับสัตว์ป่วย โรคติดมาสู่คนเนื่องจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือขาดความระมัดระวัง หรืออาจเป็นเพราะความยากจนเมื่อสัตว์ตายจึงชำแหละเนื้อมาบริโภค

           อย่างไรก็ตามอุบัติการณ์ของโรคที่เกิดขึ้นเกือบทุกครั้งมักจะเกิดขึ้นในสัตว์ก่อน แล้วคนจึงไปติดเชื้อเข้ามา แอนแทรกซ์ผิวหนังจะเกิดจากเชื้อเข้าสู่ผิวหนังบริเวณรอยถลอกหรือบาดแผล โรคแอนแทรกซ์ทางเดินหายใจเกิดจากการสูดหายใจเอาสปอร์ซึ่งติดมากับขนสัตว์ที่ส่งมาจากท้องถิ่นมีโรค (endemic area)

           การติดต่อทางระบบหายใจยังไม่เคยมีรายงานในประเทศไทย

           ส่วนโรคแอนแทรกซ์ของระบบทางเดินอาหารและออโรฟาริงมีสาเหตุจากการกินเนื้อสัตว์ที่ป่วยตายด้วยโรคนี้ แล้วไม่ปรุงให้สุกเพียงพอ ส่วนมากสัตว์จะติดโรคจากการกินและหายใจโดยได้รับสปอร์ซึ่งอยู่ตามทุ่งหญ้าที่เคยมีสัตว์ตายด้วยโรคนี้มาก่อน แต่ในช่วงต้น ๆ ของการระบาดของโรค (ปลายฤดูร้อนต่อต้นฤดูฝน) สัตว์จะติดโรคจากการกินและจากการหายใจพร้อม ๆ กัน โดยเกิดจากขณะที่สัตว์แทะเล็มกินหญ้าก็จะดึงเอารากที่ติดดินขึ้นมาด้วย สปอร์ของแอนแทรกซ์ที่ติดอยู่ตามใบหญ้าและในดินก็จะเข้าทางปากและฝุ่นที่ปลิวฟุ้ง ขณะดึงหญ้าสปอร์ก็จะเข้าทางจมูกโดยการหายใจเข้าไป


 

ระยะฟักตัว

 
           ในคน ตั้งแต่รับเชื้อจนถึงขั้นแสดงอาการ อยู่ระหว่าง 12 ชั่วโมง ถึง 7 วัน แต่ถ้าเป็นกรณีสูดหายใจเอาสปอร์ของเชื้อจากการใช้เป็นอาวุธชีวภาพ ระยะฟักตัวอาจยาวนานถึง 60 วัน

           ในสัตว์ ส่วนมากระยะฟักตัวจะเร็ว โดยเฉพาะในรายที่รับเชื้อทั้งจากการกินและการหายใจเอาเชื้อเข้าไป

 

อาการของโรค


จำแนกเป็น อาการในคน และ อาการในสัตว์ 


อาการในคน

พบได้ 3 ลักษณะ คือ
 
           แอนแทรกซ์ที่ผิวหนัง (cutaneous anthrax) อาการที่พบคือ จะเริ่มเกิดเป็นตุ่มแดงๆตรงที่รับเชื้อ ซึ่งส่วนมากจะอยู่นอกร่มผ้า เช่น มือ แขน ขา แต่อาจพบที่ลำตัวหรือกลางหลังได้ กรณีถอดเสื้อตอนผ่าซากสัตว์ ตุ่มที่พบตอนแรกนี้จะเปลี่ยนเป็นตุ่มน้ำใส แล้วเข้มขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นตุ่มหนองแล้วแตกออกเป็นแผลยกขอบตรงกลางบุ๋มมีสีดำ (black escalate) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคนี้ ในเวลาเดียวกันถ้ายังไม่ได้รับการรักษาก็จะมีตุ่มใหม่เกิดขึ้นรอบๆ แผลเดิมขยายวงกว้างไปเรื่อยๆ บางครั้งรอบๆแผลจะบวมแดง แต่ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บ ยกเว้นที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณข้างเคียง ปกติแผลที่เกิดจากเชื้อแอนแทรกซ์จะหายยาก ถ้าได้รับการรักษาช้า เพราะเป็นแผลเนื้อตายซึ่งเชื่อกันว่าน่าจะเกิดจากพิษ(toxin) ของตัวเชื้อ อัตราป่วยตายกรณีไม่ได้รับการรักษาไม่สูงนัก อยู่ระหว่างร้อยละ 5-20 เท่านั้น

           แอนแทรกซ์ที่ระบบทางเดินอาหาร (intestinal anthrax) ผู้ป่วยที่กินเนื้อหรือเครื่องในสัตว์ที่ป่วยตายด้วยโรคนี้ แล้วไม่ปรุงให้สุกเพียงพอ ภายใน 12-24 ชั่วโมง จะรู้สึกมีไข้ ไม่สบายท้อง คลื่นไส้ อาเจียน คล้ายกับอาการของอาหารเป็นพิษ ถ้าไม่ได้รับการรักษาโดยเร็ว จะทำให้เกิดการอักเสบเป็นแผลที่ต่อมน้ำเหลืองของขั้วไส้และลำไส้ส่วนต่างๆ มีน้ำในช่องท้อง และปวดท้องอย่างรุนแรง บางครั้งผู้ให้การรักษาอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบก็ได้ ดังนั้นแพทย์ผู้ทำการรักษาควรเน้นการซักประวัติการรับประทานอาหารจากผู้ป่วย เมื่อพบผู้ป่วยที่มีลักษณะดังกล่าว ในรายที่มีอาการอุจจาระร่วงมักจะพบว่ามีเลือดปนออกมาด้วย ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา เชื้อจะเข้าในกระแสเลือด เกิดอาการโลหิตเป็นพิษ ทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ ในกรณีนี้จะมีอัตราการป่วยตายถึงร้อยละ 50-60 

           หมายเหตุ: มีผู้ป่วยบางรายกินเนื้อที่ติดเชื้อแล้วเคี้ยวอยู่ในช่องปากนาน ทำให้เกิดแผลในช่องปากและหลอดคอได้ (oropharyngcal anthrax) ต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณลำคอจะบวม และลามไปถึงใบหน้า

 
           แอนแทรกซ์ที่ระบบทางเดินหายใจ (pulmonary anthrax) โดยทั่วไปจะพบผู้ป่วยที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับขนสัตว์ กระดูกป่น ที่มีฝุ่นฟุ้งกระจาย แล้วหายใจเอาสปอร์ของแอนแทรกซ์เข้าไป อาการที่พบในช่วงแรกๆ จะคล้ายกับผู้ป่วยทางเดินหายใจตอนบน มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว จากนั้นจะหายใจขัด หายใจลำบาก หน้าเขียวคล้ำ และตายจากอาการของระบบหายใจล้มเหลวในช่วงเวลาเพียง 3-5 วันหลังรับเชื้อ อัตราการป่วยตายของผู้ป่วยระบบนี้จะสูงมากถึงร้อยละ 80-90



อาการในสัตว์ 
 
ในสัตว์มักพบว่ามีไข้สูง (107 องศาฟาเรนไฮท์ หรือประมาณ 42 องศาเซลเซียส) ไม่กินหญ้า แต่ยืนเคี้ยวเอื้อง มีเลือดปนน้ำลายไหลออกมา ยืนโซเซ หายใจลำบาก กล้ามเนื้อกระตุก ชัก แล้วตายในที่สุด บางตัวอาจมีอาการบวมน้ำ ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด หรือบางตัวอาจไม่แสดงอาการให้เห็น เพราะตายเร็วมาก เมื่อสัตว์ตายจะพบว่ามีเลือดออกทางปาก จมูก ทวารหนัก อวัยวะเพศ เป็นเลือดสีดำๆ ไม่แข็งตัว กลิ่นคาวจัด ซากนิ่ม และเน่าเร็ว ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์ที่ตายด้วยโรคนี้


 

การตรวจวินิจฉัยโรคแอนแทรกซ์ในสัตว์
 

1. ขณะสัตว์มีชีวิต ถ้าสงสัยว่าสัตว์ป่วยด้วยโรคแอนแทรกซ์ ให้เจาะเลือดก่อนทำการรักษาส่วนหนึ่งป้ายกระจก (silde) จำนวน 4 แผ่น และอีกส่วนหนึ่งเก็บใส่หลอดแก้วเลือดป้าย กระจก จำนวน 2 แผ่น ย้อมด้วยสี แกรม สเตน (Gram stain) แล้วตรวจหาเชื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์ ถ้าพบเชื้อมีลักษณะเป็นแท่งขนาดใหญ่ ปลายตัดอยู่ต่อกันเหมือนตู้รถไฟและมีแคปซูลหุ้ม แสดงว่าเป็นเชื้อ B. anthracis เพื่อการตรวจยืนยันให้ส่ง กระจก (slide) ที่เหลือและเลือดในหลอดแก้วไปยังศูนย์วิจัยและชันสูตรโรคสัตว์ทำการวินิจฉัยอีกครั้ง

2. เมื่อสัตว์ตาย ถ้าสงสัยว่าสัตว์ตายด้วยโรคแอนแทรกซ์ ควรทำการเจาะเลือดจากเส้นเลือดบริเวณโคนหาง คอ หรือหัวใจ นำเลือดที่ได้ป้าย กระจก (slide) ไว้ 4 แผ่น และเก็บในหลอดแก้วส่วนหนึ่ง ย้อมเลือดป้าย กระจก (slide) ตรวจหาเชื้อ B. anthracis ดังในข้อ 1 ถ้าตรวจพบเชื้อ B. anthracis ก็ให้ทำลายซากและส่งเลือดในหลอดแก้วและกระจก (slide) ที่เหลือตรวจยืนยันที่ห้องปฏิบัติการ แต่ถ้าตรวจไม่พบเชื้อให้ทำการเปิดผ่าซากตรวจดูวิการ แล้วเก็บอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ปอด ตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลืองและอื่นๆ ที่เห็นสมควรส่งตรวจ

3. ในกรณีซากสัตว์ถูกชำแหละ ควรเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อ กระดูก หนัง ขน หรือดินบริเวณผ่าซากที่พบรอยเลือด ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ปกติห้ามผ่าซาก

 

การรักษาโรคแอนแทรกซ์ในสัตว์


ทำการรักษาในขณะที่สัตว์เริ่มแสดงอาการเช่น เมื่อพบสัตว์มีไข้สูง โดยให้ยาปฏิชีวนะ เพนนิซิลิน ในขนาด 1000 ยูนิตต่อน้ำหลักสัตว์ 1 กิโลกรัม หรือให้ออกซีเตตทราไซคลิน ในขนาด 5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักสัตว์ 1 กิโลกรัม


 

อ้างอิง

4 อาการของสัตว์ที่ติดโรคแอนแทรกซ์

โรคแอนแทรกซ์ (ANTHRAX) เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bacilus Anthracis พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยเฉพาะสัตว์เคี้ยวเอื้องที่กินหญ้าเป็นอาหาร ได้แก่ โค กระบือ แพะ แกะ โดยสัตว์ที่ป่วยจะมีอาการเฉียบพลัน ดังนี้
  1. ตายกะทันหัน
  2. พบเลือดไหลออกจากปาก จมูก และรูทวาร อวัยวะเพศ เลือดมีลักษณะเป็นสีดำๆ ไม่แข็งตัว กลิ่นเหม็นคาวจัด ซากสัตว์จะนิ่ม และเน่าอืดเร็ว
  3. หายใจลำบาก
  4. ยืนโซเซ กล้ามเนื้อกระตุก ชัก
ข้อแนะนำสำหรับประชาชน ควรบริโภคเนื้อสัตว์ที่ผ่านการปรุงสุก และเลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้

ถาม-ตอบเกี่ยวกับโรคแอนแทรกซ์ กรมปศุสัตว์

สถานการณ์ของโรคแนแทรกซ์ในประเทศไทย และในประเทศเพื่นบ้านเป็นอย่างไร ?
ประเทศไทย ปัจจุบันไม่มีรายงานการเกิคโรคแอนแทรกซ์ภายในประเทศ โดยมีรายงานครั้งสุดท้ายที่จังหวัดพิจิตร
ในปี พ.ศ. 2543 ซึ่งมีรายงานคนและแพะป่วย และในปี พ.ศ. 2560 ตรวจพบเชื้อในซากแพะที่นำเข้ามาจากประเทศเมียนมา ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก แต่ไม่พบการระบาดของโรคแอนแทรกซ์ในคนและสัตว์ภายในประเทศแต่อย่างใด

สาธารณรัฐประชาชนลาว พบผู้ป่วยโรคแอนแทรกซ์จำนวน 3 ราย ที่เมืองสุขุมา แขวงจำปาสัก ทางตอนใต้ของ สปป.ลาว โดยมีสาเหตุจากการบริโภคเนื้อโค-กระบือดิบที่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ มีสัตว์ตายรวมทั้งสิ้น 54 ตัว สถานการณ์ปัจจุบัน ไม่พบสัตว์ป่วยตายเพิ่มเติม


อาการของโรคแอนแทรกซ์เป็นอย่างไร ?

อาการในสัตว์ ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง มักแสดงอาการและตายแบบเฉียบพลัน ไข้สูง ไม่กินหญ้า แต่ยืนเคี้ยวเอื้อง มีน้ำลายปนเลือด หายใจลำบาก ยืนโซเซ กล้ามเนื้อกระตุก บางครั้งพบการบวมน้ำของชั้นใต้ผิวหนัง พบเลือดไหลออกจากปาก จมูก และรูทวาร อวัยวะเพศ เลือดมีลักษณะเป็นสีดำๆ ไม่แข็งตัว กลิ่นเหม็นคาวจัด ซากสัตว์จะนิ่ม และเน่าอืดเร็ว

อาการในคน อาการของโรคพบได้ 3 ลักษณะตามวิธีการติดต่อของโรค คือ
  • อาการทางผิวหนัง เริ่มแรกเป็นรอยนูนแดง เมื่อแตกจะกลายเป็นแผลปกคลุมด้วยเนื้อตายสีดำๆ ขอบแผลจะนูนเป็นวงโดยรอบ
  • อาการทางระบบทางเดินอาหาร เกิดแผลหลุมในทางเดินอาหาร เลือดออก เยื่อเมือกทางเดินอาหารลอกหลุด มีไข้ ท้องเสีย ถ่ายเหลวปนเลือดเก่า อาเจียน ปวดท้องมาก ท้องอืด และมีท้องมาน สุดท้ายจะช็อคแล้วเสียชีวิต
  • อาการทางระบบทางเดินหายใจ คล้ายเป็นหวัด มีไข้ ตัวสั่น ไอ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก มักเสียชีวิตภายใน 1-2 วัน

หากพบสัตว์แสดงอาการป่วยหรือตายผิคปกติโคยไม่ทราบสาเหตุหรือสงสัยโรคแอนแทรกซ์ ต้องทำอย่างไร และแจ้งที่ไหน ?
ห้ามเปิดผ่าซาก ห้ามเคลื่อนย้ายซากหรือชำแหละเพื่อการบริโภค
ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ อาสาปศุสัตว์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เทศบาล ในพื้นที่ หรือ ผ่านทาง Application DLD 4.0 หรือโทรศัพท์สายด่วน 063-225 -6888 เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างทันท่วงที


ป้องกันสัตว์ของตนเองจากโรคแอนแทรกซ์ได้อย่างไร ?
  • หากนำสัตว์เข้ามาเลี้ยงใหม่ ควรเป็นสัตว์ที่ทราบแหล่งที่มา กักสัตว์เพื่อเฝ้าระวังดูอาการอย่างน้อย 14 วันก่อนก่อนนำสัตว์เข้ารวมฝูง
  • ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้ามาภายในฟาร์ม โดยเฉพาะพ่อค้ารับซื้อโค-กระบือ หากจำเป็น ต้องเปลี่ยนรองเท้าซึ่งผ่านการฆ่าเชื้อทุกครั้งก่อนเข้าฟาร์มหรือสถานที่เลี้ยงสัตว์
  • ไม่อนุญาตให้ยานพาหนะทุกชนิคจากภายนอกเข้ามาในฟาร์ม โดยเฉพาะรถขนส่งสัตว์ ในกรณีจำเป็น ต้องทำการพ่นยาฆ่าเชื้อก่อน
  • ไม่นำเนื้อสัตว์หรือซากสัตว์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มาหรือสัตว์ที่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ มาชำแหละหรือบริโภคภายในสถานที่เลี้ยงสัตว์


จำเป็นต้องฉีควัคซีนป้องกันโรคแอนแทรกซ์ใน โค กระบือ แพะแกะ หรือไม่?
วัคซีนป้องกันโรดแอนแทรกซ์ในโค กระบือ แพะ แกะ ใช้ฉีคกรณีที่ควบคุมโรค หรือพื้นที่เคยเกิคโรคในระยะเวลา 5 ปี ภายหลังการเกิดโรคเท่านั้น ซึ่งการฉีดจะดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่หรืออยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์เท่านั้น เนื่องจากเป็นวัคซีนเชื้อเป็น และเชื้อมีโอกาสติดต่อสู่คนได้ทางผิวหนังที่มีบาดแผล หรือการกินได้


 
กรมปศุสัตว์มีการเตรียมความพร้มเรื่องวัคซีนป้องกันโรคแอนแทรกซ์อย่างไร?
กรมปศุสัตว์ได้มีการสำรองวัคซีนในกรณีเกิดโรคฉุกเฉิน ที่เป็นวัดซีนที่ผลิตโดยสำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ ซึ่งมีประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และไม่มีค่าใช้จ่าย
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด