ถึงแม้ว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลสารสนเทศ และประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงคลินิก แต่ระดับความรู้และการรับรู้ถึงวิธีการนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ยังคงขาดแคลนและเหลื่อมล้ำในภูมิภาค โดยเฉลี่ยแล้วมากกว่าครึ่ง(ร้อยละ 55) ของผู้บริหารและบุคลากรแถวหน้าในวงการเฮลท์แคร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่าพวกเขาไม่ทราบถึงวิธีการนำข้อมูลไปใช้ประกอบในการตัดสินใจ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ร้อยละ 35 ยกตัวอย่าง ในอินโดนีเซียมีเพียงร้อยละ 7 ของบุคลากรที่บอกว่าพวกเขามีความเชี่ยวชาญมากพอที่จะนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ แต่ในสิงคโปร์และออสเตรเลีย บุคลากรมีความเชี่ยวชาญในการใช้ข้อมูลสารสนเทศมีถึงร้อยละ 50 และร้อยละ 20 ตามลำดับ ชี้ให้เห็นว่าในภูมิภาคนี้ควรมีการแบ่งปันข้อมูลและความรู้ระหว่างประเทศมากขึ้น
นอกจากนี้ รายงานของฟิลิปส์ยังเผยว่า การให้ความสำคัญด้านสวัสดิการของบุคลากรภายในภูมิภาคเกิดขึ้นหลังจากการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ เนื่องจากการขาดแคลนบุคลากร และภาวะการหมดไฟยังคงเป็นปัญหาสำคัญของวงการเฮลท์แคร์ โดยร้อยละ 30 ของผู้บริหารในวงการเฮลท์แคร์ให้ความสำคัญกับความพึงพอใจและการรักษาบุคลากรเอาไว้เป็นอันดับแรก เท่ากับค่าเฉลี่ยในระดับโลก และแนวโน้มนี้ดูเหมือนจะดำเนินต่อไป โดยผู้บริหารในวงการเฮลท์แคร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกร้อยละ 28 เชื่อว่าความพึงพอใจของบุคลากรและการรักษาบุคลากรเอาไว้จะยังคงมีความสำคัญไปอีก 3 ปีนับจากนี้ ซึ่งต่างจากผลสำรวจในปี 2021 ที่ผู้บริหารส่วนมากคาดการณ์ไว้ว่าความพึงพอใจของบุคลากรและการรักษาบุคลากรเอาไว้อาจจะไม่ถูกจัดลำดับความสำคัญในระดับต้น ๆ ในอนาคต
ร้อยละ 23 ของผู้บริหารและบุคลากรแถวหน้าในวงการเฮลท์แคร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เห็นว่าการขยายพื้นที่การดูแลรักษาจากแค่เพียงในโรงพยาบาลเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญในขณะนี้ และร้อยละ 32 เห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญภายใน 3 ปีต่อจากนี้ เมื่อเทียบกับทั่วโลก ประเทศออสเตรเลีย (ร้อยละ 36) ให้ความสำคัญกับการดูแลรักษานอกโรงพยาบาลและสถานพยาบาลอยู่ในลำดับที่ 2 ต่อจากประเทศเนเธอร์แลนด์ (ร้อยละ 37)
จากเทรนด์ข้างต้น ส่งผลให้ร้อยละ 45 ของผู้บริหารและบุคลากรแถวหน้าในวงการเฮลท์แคร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และร้อยละ 49 ในภูมิภาคอาเซียน มีการลงทุนด้านการแพทย์ทางไกล หรือเทเลเฮลท์เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ โซลูชั่นการเฝ้าติดตามผู้ป่วยทางไกลก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่สำคัญในการขยายขอบเขตการดูแลรักษานอกโรงพยาบาล โดยร้อยละ 19 ของผู้บริหารและบุคลากรแถวหน้าในวงการเฮลท์แคร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และร้อยละ 21 ในภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่าการลงทุนในเรื่องดังกล่าวเป็นสิ่งที่พวกเขาให้ความสำคัญอันดับต้น ๆ ในปัจจุบัน และร้อยละ 26 ในทั้งสองภูมิภาค กล่าวว่าการลงทุนด้านนี้จะสำคัญยิ่งขึ้นในอนาคตอันใกล้
ตั้งแต่ปีค.ศ. 2016 ฟิลิปส์ได้จัดทำรายงานผลสำรวจ Future Health Index เพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้กับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกในการรับมือกับความท้าทายของระบบสาธารณสุข เพื่อสร้างระบบสาธารณสุขที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงาน Future Health Index สามารถเยี่ยมชมได้ที่
Future Health Index methodology และสำหรับรายงาน Future Health Index 2022 ฉบับเต็ม สามารถเข้าชมได้ผ่านเว็บไซต์ของเรา