ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ภัยร้ายในโลกเสมือน : การคุกคามทางเพศต่อเด็กและเยาวชน ในโลกไซเบอร์

ภัยร้ายในโลกเสมือน : การคุกคามทางเพศต่อเด็กและเยาวชน ในโลกไซเบอร์ Thumb HealthServ.net
ภัยร้ายในโลกเสมือน : การคุกคามทางเพศต่อเด็กและเยาวชน ในโลกไซเบอร์ ThumbMobile HealthServ.net

การคุกคามทางเพศเด็กออนไลน์ เป็นปัญหาที่ควรให้ความสำคัญ เนื่องจากมีคำจำกัดความที่กว้างและมีระดับความรุนแรงหลายระดับ ตั้งแต่พบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวันโดยที่ผู้กระทำอาจไม่ทราบถึงการกระทำดังกล่าวของตน จนนำไปสู่การก่ออาชญากรรม จึงควรมีมาตรการป้องกันและแก้ไขอย่างจริงจัง

             การคุกคามทางเพศ หมายถึง พฤติกรรมที่ผู้ส่งสารแสดงออกถึงนัยทางเพศ ด้วยการใช้คำพูด ท่าทาง หรือ สัญลักษณ์ ที่ทำให้ผู้รับสารรู้สึกไม่ปลอดภัยหรือถูกลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์โดยไม่ได้รับความยินยอม จากอีกฝ่าย

            ปัจจุบันการคุกคามทางเพศต่อเด็กและเยาวชนออนไลน์ที่เกิดขึ้นผ่านโซเชียลมีเดียมีแนวโน้มมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อเด็กผู้ถูกกระทำหลายด้าน อาทิ ปัญหาด้านการปรับตัวเข้าสู่สังคม ความวิตกกังวล ความเครียด และ ภาวะซึมเศร้า รวมถึงปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นหลังได้รับผลกระทบทางจิตใจ

             ซึ่งจากรายงานของ ECPAT International องค์กรภายใต้องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ระบุว่า ปี 2567 ประเทศไทยเป็น 1 ใน 25 ประเทศ ที่มีปัญหาการคุกคามทางเพศต่อเด็กและเยาวชนทางออนไลน์ ในระดับที่น่ากังวล สอดคล้องกับข้อมูลของกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในปี2564 ที่พบว่า มีเด็กจำนวนมากกว่า 400,000 คน เป็นเหยื่อของการถูกล่วงละเมิดทางเพศออนไลน์ เช่นเดียวกับสถิติการดำเนินคดีเกี่ยวกับ การล่วงละเมิดทางเพศเด็กและเยาวชนออนไลน์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่พบว่า คดีล่วงละเมิดทางเพศออนไลน์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาก โดยในปี 2560 มีจำนวนคดีเพียง 48 คดี และเพิ่มขึ้นเป็น 540 คดี ในปี 2566 หรือเพิ่มขึ้น มากกว่า 10 เท่า

            ทั้งนี้ การคุกคามทางเพศออนไลน์ต่อเด็กมีอยู่หลายระดับ ซึ่งกรณีที่เป็นคดีมักมีความรุนแรงพอสมควร โดยอาจสามารถจำแนกการคุกคามตามระดับความรุนแรงได้ 3 ระดับ คือ


             1. การคุกคามระดับเบื้องต้น (Low - level Harassment)
               มักเป็นการคุกคามประเภทผู้กระทำมักไม่คิดว่าเป็นการคุกคามต่อผู้ถูกกระทำ เช่น การก่อกวนผ่านการแสดงความคิดเห็นโดยใช้ถ้อยคำที่ไม่เจาะจงรายบุคคล อาทิ การวิจารณ์เรือนร่าง กลั่นแกล้ง หรือใช้มุกตลกทางเพศ รวมถึงการส่งข้อความก่อกวน และการประจานหรือเผยแพร่ภาพลักษณ์ให้เสื่อมเสีย (Purposeful Humiliation) ซึ่งปัจจุบันมีการกระทำในรูปแบบนี้ในสื่อโซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมาก ทั้งในลักษณะการให้ความเห็น หรือสัญลักษณ์อิโมจิ (Emoji) ซึ่งผู้กระทำความผิด อาจใช้บัญชีปลอม (Fake Account) หรือการไม่ระบุตัวตน (Anonymity) ในการกระทำความผิด อาทิ กลุ่มโลลิค่อน คือ กลุ่มที่มีความสนใจในตัวละครในวัยเด็กที่เรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา (อายุประมาณ 6 – 12 ปี) จากการ์ตูนหรือแอนิเมชัน และคุกคามโดยใช้โซเชียลมีเดียในการคอมเมนต์เนื้อหาที่มีนัยทางเพศกับเด็กนักเรียนที่มีการโพสต์ภาพของตนเอง เนื่องจากเด็กที่เป็นเหยื่อมี ลักษณะคล้ายกับตัวละครที่ชื่นชอบ


             2. การคุกคามระดับปานกลาง (Moderate - level Harassment)
             มุ่งเน้นการกระทำซ้ำและ ก่อให้เกิดความเครียดทางอารมณ์ให้กับเหยื่อรายบุคคล โดยมาในรูปแบบการก่อกวนอย่างต่อเนื่อง การดูหมิ่นทางเพศเพื่อทำให้เกิดความอับอาย รวมถึงการเริ่มเข้าไปลุกล้ำความเป็นส่วนตัว ได้แก่ การส่งข้อความด้วยเนื้อหาทางเพศไปก่อกวนซ้ำ ๆ การเรียกร้องความสนใจจากเหยื่อด้วยการแท็ก (Tag) หรือแสดงความคิดเห็นในลักษณะก่อกวน แม้จะถูกขอให้หยุดกระทำก็ตาม อาทิ กรณีนักเรียนอายุ 13 ปี ถูกครูฝึกสอนส่งข้อความเชิงลามกและส่งภาพอนาจารให้กับเหยื่อดู หรือกรณีเด็กอายุ 14 ปี ถูกผู้ไม่หวังดีส่งข้อความทางเพศผ่านโซเชียลมีเดียซ้ำ ๆ แม้ว่า เด็กผู้หญิงทำการปิดกั้น (Block) บัญชีของผู้กระทำความผิดแล้วก็ตาม


            3. การคุกคามระดับสูง (Severe/High - level Harassment)
           เป็นการคุกคามโดยพฤติกรรม ที่รุนแรงและก้าวร้าว ทำให้เกิดผลกระทบทางอารมณ์และจิตใจ ซึ่งเป็นระดับความรุนแรงที่บ่งบอกถึงการทำผิดกฎหมายการล่วงละเมิดทางเพศอย่างชัดเจน เช่น การสะกดรอยตาม (Stalking) โดยติดตามจากกิจกรรมออนไลน์ จนเหยื่อรู้สึกกลัว รวมถึงการปลอมแปลงอัตลักษณ์หรือขโมยตัวตนของเหยื่อบนโลกออกไลน์เพื่อนำไปก่ออาชญากรรมอื่น ๆ หรือแม้กระทั่งการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลของเหยื่อ (Doxxing) เช่น ที่อยู่ ข้อมูลการทำงาน ข้อมูลการติดต่อ และประวัติส่วนตัวอื่น ๆ หรือแม้กระทั่งการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลของเหยื่อ โดยจะนำไปสู่ การคุกคามในโลกความจริง และการล่อลวง (Grooming) เพื่อนำไปสู่การแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ อาทิ การใช้บัญชี X (ชื่อเดิม Twitter) ในการประกาศขายสื่อลามกอนาจารที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเด็ก (Child Sexual Abuse Material: CSAM)  ด้วยการสร้างความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับเหยื่อ ก่อนที่จะไปรับเหยื่อมากระท าการอนาจารพร้อมทั้ง ถ่ายคลิปกับเด็ก และนำไปแสวงหาผลประโยชน์ด้วยการเก็บค่าสมาชิกสำหรับการเข้ารับชมในราคา 399 บาท ซึ่งเด็ก ที่เป็นเหยื่อมีอายุเพียง 17 ปี หรือในกรณีที่ร้ายแรงสามารถนำไปสู่การขู่แบล็กเมลเหยื่อเพื่อเรียกเงิน หรือสิ่งที่ต้องการ ตั้งแต่การทำร้ายร่างกาย การข่มขืน และสามารถนำไปสู่การค้ามนุษย์ได้ 
 
           จะเห็นได้ว่าการคุกคามทางเพศออนไลน์เกิดขึ้น ได้หลายรูปแบบ และในบางกรณีผู้กระทำอาจไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อผู้ถูกกระทำเท่าที่ควร ซึ่งพฤติกรรม ดังกล่าวส่วนหนึ่งเกิดจากการเลียนแบบจากสิ่งที่พบเห็น ในชีวิตประจำวัน รวมถึงในสื่อต่าง ๆ

         โดยงานวิจัยเกี่ยวกับ การสื่อสารเนื้อหาไม่เหมาะสมด้านการคุกคามทางเพศ ในรายการเพื่อความบันเทิงไทยปี 2566 พบว่า ผู้รับชมรายการบันเทิงรับรู้ถึงเนื้อหาไม่เหมาะสมด้านการคุกคามทางเพศแบบชายคุกคามหญิงบ่อยๆ ร้อยละ 38.59 และ เป็นประจำร้อยละ 29.18 ซึ่งรูปแบบการคุกคามทางเพศที่พบได้มากที่สุด คือ การวิจารณ์ถึงสรีระ การแต่งกาย รวมทั้งการใช้คำพูดที่ตีความในเชิงเพศได้ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการคุกคามทางเพศ โดยการสื่อสารข้อมูลดังกล่าว อย่างต่อเนื่องของสื่อนำไปสู่การทำให้เป็นปกติ (Normalization) ที่สามารถพบได้ทั่วไป

           ขณะเดียวกัน นอกจากการรับรู้ที่พบได้ในชีวิตประจำวันแล้ว การขาดความรู้ถึงเรื่องสิทธิคุกคามทางเพศของเด็กและผู้ปกครอง ยังเป็นอีกประเด็นที่ทำให้เกิดความละเลยต่อการรับรู้ถึงการคุกคามทางเพศที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน โดยจากงานวิจัยเรื่อง “ประสบการณ์การคุกคามทางเพศบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ และแนวทางป้องกัน” ปี 2565 พบมุมมองด้านความคิด ความเชื่อ และทัศนคติของเด็กและเยาวชนว่า การหยอกล้อเกี่ยวกับเรื่องเพศเป็นเรื่องปกติ และสามารถสื่อสารได้อย่างอิสระโดยปราศจากความผิด

            ขณะที่ผู้ปกครองบางส่วนมีช่องว่างทางความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการสื่อสารทางออนไลน์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ขาดการรับรู้ถึงการถูกคุกคามของเด็กและเยาวชน

           นอกจากนี้ รายงานของสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) 42 พบว่า ความตระหนักรู้ในกฎหมายดิจิทัลของภาคประชาชนยังอยู่ในระดับที่ต่ำ ได้แก่ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ร้อยละ 43.4 พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คิดเป็นร้อยละ 40.9 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ คิดเป็นร้อยละ 40.7 ตามลำดับ

           อีกทั้ง จากรายงานสมัชชาเด็กและเยาวชน ปี 2566 ที่สำรวจเด็กและเยาวชนอายุอายุระหว่าง 10 - 25 ปี จำนวน 33,580 คน ได้ระบุว่า เด็กและเยาวชนกว่าร้อยละ 54 ไม่ทราบหรือไม่แน่ใจถึงช่องทางการช่วยเหลือ หากประสบกับปัญหาในโลกออนไลน์

           สอดคล้องกับรายงานของ UNICEF ปี 2565 ที่พบว่า เด็กและเยาวชนในประเทศไทย อายุระหว่าง 12 – 17 ปี ร้อยละ 47 ไม่ทราบถึงช่องทางการช่วยเหลือหากตนเองหรือเพื่อนถูกล่วงละเมิด/คุกคาม ทางเพศออนไลน์

          ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการที่เด็กและเยาวชนมีความรู้สึกอับอาย ทำให้ไม่ต้องการเปิดเผยข้อมูล หรือเด็กที่เป็นเหยื่อบางส่วนมองว่าตนเองไม่ได้เป็นผู้เสียหาย ขณะที่ผู้ปกครองแจ้งความดำเนินคดีมีเพียง ร้อยละ 17 เนื่องจากไม่ทราบถึงการถูกคุกคามทางเพศของเด็กและเยาวชน



             ข้อมูลข้างต้น ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยจำเป็นต้องหามาตรการป้องกันและแก้ไขอย่างจริงจัง โดยปัจจุบัน ประเทศไทยอยู่ระหว่างพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... เพื่อป้องกันและปราบปรามการครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก และให้ความคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ จึงกำหนดให้การกระทำในลักษณะการครอบครอง การค้า การทำให้แพร่หลายซึ่งวัตถุหรือ สิ่งลามกที่เป็นสื่อลามกอนาจารเด็กและเยาวชน ผู้กระทำความผิดต้องได้รับโทษหนักขึ้น

          ทั้งนี้ การดำเนินการแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือในระดับครอบครัว ชุมชนสถาบันการศึกษา และ ภาครัฐ โดยเริ่มตั้งแต่
  • การกวดขัน ตรวจจับสื่อออนไลน์ที่มีพฤติกรรมการรวมกลุ่มเพื่อคุกคามทางเพศ
  • สร้างทัศนคติในการป้องกันการเพิกเฉยต่อการคุกคามทางเพศ โดยเริ่มต้นจากสถาบันครอบครัวที่จะต้องสอดส่อง ดูแลพฤติกรรมการใช้สื่อ
  • ในขณะที่ระดับชุมชนและภาครัฐ จะต้องมีมาตรการในการลงโทษที่ชัดเจน เพื่อป้องกันไม่ให้ เกิดเหตุร้าย
  • รวมทั้งการให้ความรู้ด้านสิทธิ โดยสถาบันการศึกษา และชุมชน ควรให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิ และความเสี่ยงจากการถูกคุกคามทางเพศออนไลน์

         ขณะเดียวกัน ภาครัฐควรสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับ การความสำคัญของการคุกคามทางเพศออนไลน์โดยการจัดช่องทางให้ความรู้แก่ผู้ปกครองรวมถึงอำนวย ความสะดวกในการให้คำปรึกษาและช่วยเหลือแก่บุคคลที่ถูกคุกคาม ทั้งทางด้านกฎหมายและการฟื้นฟูสภาพจิตใจ จากการถูกคุกคามทางเพศออนไลน์


          นอกจากนี้ ยังต้องสร้างความตระหนักรู้เท่าทันภัยคุกคามดิจิทัล เนื่องจากการคุกคามทางเพศเด็กออนไลน์มีรูปแบบใหม่และเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ในระดับครอบครัวสามารถเริ่มต้นด้วย การให้ความรู้เรื่องการไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กในพื้นที่ออนไลน์ ขณะที่สถานศึกษาควรให้ความรู้เกี่ยวกับ การล่อลวงทางเพศออนไลน์ให้เป็นความรู้พื้นฐานหรือเป็นหลักสูตรเพื่อไม่ให้เด็กและเยาวชนตกเป็นเหยื่อของผู้ที่ มุ่งหาผลประโยชน์ทางเพศ

         อีกทั้ง ควรเร่งรัดการพิจารณากฎหมายร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล กฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อให้เด็กได้รับการปกป้องทางกฎหมายที่สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบัน และ ผู้กระทำความผิดได้รับโทษที่แยกจากความผิดประเภทอื่นอย่างชัดเจน


ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด