ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เรื่องจริงจากอิงมา Dengue Virtual Human ไข้เลือดออกน่ากลัวและใกล้ตัวกว่าที่คิด

เรื่องจริงจากอิงมา Dengue Virtual Human ไข้เลือดออกน่ากลัวและใกล้ตัวกว่าที่คิด Thumb HealthServ.net
เรื่องจริงจากอิงมา Dengue Virtual Human ไข้เลือดออกน่ากลัวและใกล้ตัวกว่าที่คิด ThumbMobile HealthServ.net

"อิงมา" เพราะชื่อหนู ร่างกายหนู ใบหน้า หน้าตา หู จมูก ปาก เสียง สร้างโดย "อ้างอิง" มาจากข้อมูลสถิติของ "คนไทยที่ตกเป็นเหยื่อไข้เลือดออก" ใน 15 ปีที่ผ่านมา หนูคือ อิงมา Dengue Virtual Human อวตารมาเพื่อบอกทุกท่านว่า "ไข้เลือดออก น่ากลัวและใกล้ตัวกว่าที่คิด" อย่าได้ประมาท

"อิงมา" เพราะชื่อหนู ร่างกายหนู ใบหน้า หน้าตา หู จมูก ปาก เสียง สร้างโดย "อ้างอิง" มาจากข้อมูลสถิติของ "คนไทยที่ตกเป็นเหยื่อไข้เลือดออก" ใน 15 ปีที่ผ่านมา หนูคือ อิงมา Dengue Virtual Human อวตารมาเพื่อบอกทุกท่านว่า "ไข้เลือดออก น่ากลัวและใกล้ตัวกว่าที่คิด" อย่าได้ประมาท

คนไทยเป็นโรคไข้เลือดออก 1,237,467 คน ใน 15 ปีที่ผ่านมา
และอีกเท่าไหร่นับจากนี้

ถ้าคิดว่าไข้เลือดออกไม่เป็นไร
เหยื่อรายต่อไป อาจเป็นคุณ





เรื่องจริงจากอิงมา Dengue Virtual Human ไข้เลือดออกน่ากลัวและใกล้ตัวกว่าที่คิด HealthServ

อิงมาไขความจริงเรื่องไข้เลือดออก


ความจริงที่ 1 : ไข้เลือดออกระบาดทุกที่ ไม่ว่าจะเมืองหรือชนบท

ไข้เลือดออกระบาดอยู่ทุกที่ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเมืองใหญ่ๆ ชุมชนใหญ่ๆ จากข้อมูลจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก ระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 ปี 2564 พบว่า 5 จังหวัดที่พบไข้เลือดออกมากที่สุดได้แก่ กรุงเทพมหานคร ตาก นครปฐม ชลบุรี และร้อยเอ็ด


ความจริงที่ 2 : โรคไข้เลือดออกเสี่ยงทุกอายุ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ คนที่มีสุขภาพแข็งแรง หรือมีโรคประจำตัว


ไข้เลือดออกในประเทศไทยจะพบว่า พบคนไข้ทุกช่วงอายุ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ โดยกลุ่มอายุที่เป็นมากที่สุด 5-14 ปี รองลงมาอายุ 15-24 ปี กลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว เสี่ยงต่อการอาการรุนแรงกว่าปกติ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน หัวใจ หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน และคนที่สุขภาพแข็งแรงดี ก็อาจเป็นโรคไข้เลือดออกรุนแรงได้เช่นกัน โรคนี้เป็นโรคที่คาดเดาได้ยากว่าใครจะเป็นโรครุนแรง


ความจริงที่ 3 : อาการของโรคไข้เลือดออกมีตั้งแต่ไม่แสดงอาการ ไปจนถึงอาการรุนแรง
จนถึงขั้นเสียชีวิตได้


โรคไข้เลือดออกมีตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอาการรุนแรง โดย มีการดำเนินโรค 3 ระยะ ได้แก่

ระยะไข้ คือ จะมีไข้สูง หน้าแดง ตัวแดง บางรายมีจุดเลือดออก ส่วนใหญ่ผู้ปวยไม่มีน้ำมูกหรืออาการไอ อาจจะใช้จุดนี้แยกอาการจากโรคอื่นๆ ในรายที่รุนแรง อาจมีการอาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด มักเป็นสีดำและคลำตับ ไต โต

ระยะช็อก ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ปวยไข้เลือดออก จะมีอาการรุนแรง

ส่วนใหญ่เกิดขึ้นพร้อมๆ กับวันที่ไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

ระยะฟื้นตัว ในผู้ป่วยที่ไม่ช็อกเมื่อไข้ลดส่วนใหญ่จะดีขึ้น


ความจริงที่ 4 : ไข้เลือดออกเป็นแล้ว เป็นซ้ำได้อีก

ไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี มีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ (DENV 1 - 4) เมื่อเป็นสายพันธุ์ใดแล้วจะมีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์นั้นตลอดชีวิต แต่จะมีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์อื่นเพียงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 6-12 เดือน ดังนั้น เมื่อป่วยไข้เลือดออกแล้ว จึงป่วยซ้ำได้อีกซึ่งสายพันธุ์ที่พบมากในประเทศไทย คือ สายพันธุ์ที่ 1 และ 2


ความจริงที่ 5 : การติดเชื้อซ้ำครั้งถัดไป เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคไข้เลือดออกที่รุนแรงขึ้น

การติดเชื้อในแต่ละครั้งด้วยไวรัสเดงกีต่างสายพันธุ์ เพิ่มความเสี่ยงในการทำให้โรคมีความรุนแรงขึ้น โดยสายพันธุ์ที่ 2 มักเป็นสายพันธุ์ที่มีความรุนแรงของโรคสูงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ


ความจริงที่ 6 : ปัจจุบันยังไม่มียารักษาไข้เลือดออกแบบเฉพาะเจาะจง

ปัจจุบันยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสเดงกี หรือยารักษาไข้เลือดออกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ

ชม Playlist เรื่องจริงอิงมา
Reference

    จำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก ระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 พ.ศ.2550-2564 กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข [เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2565] ภาพที่ใช้ประกอบเป็นภาพตัวแทนผู้ป่วยจากโรคไข้เลือดออกเพียงบางส่วนที่ได้รับความยินยอมให้สิทธิในการเผยแพร่ภาพแล้วเท่านั้น
    Bureau of Epidemiology, D. o. D. C., MoPH, Thailand (2022). “Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control.” Annual Epidemiology Surveillance Report (2010 to 2021), Report 506, Retrieved 11/02/2022, from http://doe.moph.go.th/surdata/disease.php?ds=262766
    Alagarasu K. Genetic of susceptibility to severe dengue virus infections: an update and implications for prophylaxis, prognosis and therapeutics. Dengue Bulletin 2016; 39: 1-18.
    ไข้เลือดออก (Dengue fever) [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี กรมควบคุมโรค 2563 [เข้าถึงเมื่อ 24 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=44
    María G.Guzmán et. al. Effect of age on outcome of secondary dengue 2 infections. International Journal of Infectious Diseases 2002;6:118-124
    Joao T, Leyanna G, Eric M, Adhara L, Wai WH, Giovanini EC, et al. Relevance of non communicable comorbidities for the development of the severe forms of dengue: a systematic literature review. PLoS Negl Trop Dis. 2016 ; 10 1 ): e 0004284

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด