ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

พระคิลานุปัฏฐาก เพื่อการส่งเสริมสุขภาพและดูแลสุขภาวะพระสงฆ์

พระคิลานุปัฏฐาก เพื่อการส่งเสริมสุขภาพและดูแลสุขภาวะพระสงฆ์ Thumb HealthServ.net
พระคิลานุปัฏฐาก เพื่อการส่งเสริมสุขภาพและดูแลสุขภาวะพระสงฆ์ ThumbMobile HealthServ.net

พระคิลานุปัฏฐาก หรือพระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพตำบลประจำวัด (อสว.) เป็นพระสงฆ์ที่มีบทบาทในการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคม มีหน้าที่ปฏิบัติดูแลพระสงฆ์อาพาธ รวมทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การควบคุมโรคและการจัดการปัจจัยที่คุกคามสุขภาพพระสงฆ์ พระสงฆ์ที่จะเป็นพระคิลานุปัฏฐาก ต้องผ่านการอบรม โดยกระทรวงสาธารณสุขแล้ว

 พระคิลานุปัฏฐาก หรือพระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพตำบลประจำวัด (อสว.) เป็นพระสงฆ์ที่มีบทบาทในการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคม มีหน้าที่ปฏิบัติดูแลพระสงฆ์อาพาธ รวมทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การควบคุมโรคและการจัดการปัจจัยที่คุกคามสุขภาพพระสงฆ์  พระสงฆ์ที่จะเป็นพระคิลานุปัฏฐาก ต้องผ่านการอบรม โดยกระทรวงสาธารณสุขแล้ว 
 
       
          โครงการพระคิลานุปัฏฐาก จตามธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ พ.ศ. 2560 ปัจจุบัน ปี 2566 มีพระคิลานุปัฏฐาก 13,114 รูป 
 
 
 
พระคิลานุปัฏฐาก เพื่อการส่งเสริมสุขภาพและดูแลสุขภาวะพระสงฆ์ HealthServ
 

ความเป็นมาของพระคิลานุปัฏฐาก

 
          การส่งเสริมสุขภาพและการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ เป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจาก พระสงฆ์บางรูปอาพาธด้วยโรคต่างๆ ในขณะที่บางรูปไม่เคยเข้ารับการตรวจสุขภาพ ทำให้ไม่สามารถ รู้ว่ามีภาวะเสี่ยงต่อโรคใดบ้าง ซึ่งจากข้อมูลกรมการแพทย์ ปี 2559 พบว่า พระสงฆ์-สามเณรอาพาธมารับการรักษาที่โรงพยาบาลสงฆ์ มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ โรคไขมันในเลือดสูง 9,609 ราย โรคความดันโลหิตสูง 8,520 ราย โรคเบาหวาน 6,320 ราย โรคไตวายเรื้อรัง 4,320 ราย และโรคข้อเข่าเสื่อม 2,600 รายในขณะที่ ปี 2559 พบว่า ผู้ป่วยที่เป็นพระสงฆ์เข้ารับบริการเป็นผู้ป่วยใน ในสถานบริการสาธารณสุขเขต 7 ป่วยด้วยโรค 5 อันดับแรก คือ โรคกระเพาะอาหารลำไส้อักเสบ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคปอดอักเสบ โรคไตเรื้อรัง (ระยะที่ 5) และโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือด โดยสาเหตุของการเกิดโรคส่วนใหญ่มาจากปัญหาการบริโภคไม่ถูกหลักโภชนาการ อีกทั้งพระสงฆ์ไม่สามารถเลือกฉันอาหารเองได้ ต้องฉันอาหารตามที่ฆราวาสตักบาตร หรือนำอาหารมาถวาย ประกอบกับสถานภาพของพระภิกษุ ไม่เอื้อต่อการออกกำลังกาย ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรค จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนให้พระสงฆ์และวัดมีบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพเป็นศูนย์กลางสุขภาพชุมชน และจัดสภาพแวดล้อมที่ดีให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ
 
 
          กรมอนามัย และภาคีเครือข่าย อาทิ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและพระสงฆ์นักพัฒนาได้ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรพระคิลานุปัฏฐาก(พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด - อสว.) เพื่อส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์และวัดรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literate Temple) และขับเคลื่อนการดำเนินงานธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ เพื่อเป็นกรอบและแนวทางการส่งเสริมสุขภาวะพระสงฆ์ทั่วประเทศ ซึ่งมีเป้าหมายที่สำคัญคือ พระสงฆ์กับการดูแลสุขภาพตนเองตามหลักพระธรรมวินัย ชุมชนและสังคมกับการดูแลอุปัฏฐากพระสงฆ์ ที่ถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย และบทบาทพระสงฆ์ในการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคม โดยมี พระคิลานุปัฏฐาก(พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด-อสว.)เป็นผู้ปฏิบัติดูแลพระสงฆ์อาพาธ รวมทั้งการสร้างเสริมสุขภาพ และการจัดการปัจจัยที่คุกคามสุขภาพของพระสงฆ์ด้วย
 
          "ทั้งนี้ บทบาทของพระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด (อสว.) มีหน้าที่สื่อสารเรื่องสุขภาพพระสงฆ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ด้านสุขภาพ ในวัดและชุมชน ประสานงานด้านสุขภาพพระสงฆ์กับคณะสงฆ์ และหน่วยงาน ด้านสาธารณสุข ให้บริการสุขภาพเบื้องต้นแก่พระสงฆ์ในพื้นที่ รวมถึงให้คำปรึกษา แนะนำ ถ่ายทอดความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพแก่ชุมชน และดำรงตนเป็นตัวอย่างที่ดีด้านสุขภาพ ตามหลักพระธรรมวินัย” 


 
 
          โครงการอบรมหลักสูตรพระคิลานุปัฏฐาก เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อน  ตามแผนยุทธศาสตร์พระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ 
 
 
วัตถุประสงค์
1.เพื่อสร้างและพัฒนาพระคิลานุปัฏฐาก (พระอาสาสมัครสาธารณสุขประจําวัด - อสว.) ให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะ ในการดูแลสุขภาพอนามัยตามหลักพระธรรมวินัย และให้คำแนะนำ ดูแลพระสงฆ์ 
2.เพื่อเตรียมการรองรับระบบการดูแลพระสงฆ์และการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวซึ่งพระสงฆ์ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ 
3.เพื่อพัฒนาศักยภาพพระสงฆ์แกนนำเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ และผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชน และสังคม 
 

 

วิธีการดำเนินงาน เพื่อให้ได้ พระคิลานุปัฏฐาก

 
กรมอนามัย เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ดูแลการดำเนินการ  โดยเริ่มต้นที่การสำรวจความต้องการเข้าเป็น พระคิลานุปัฏฐาก ในแต่ละพื้นที่ จากนั้นจัดทำหนังสือเชิญกลุ่มเป้าหมาย พระสงฆ์ที่ประสงค์เข้าอบรม การฝึกอบรมหลักสูตรพระคิลานุปัฏฐาก จำนวน 70 ชั่วโมง (ทฤษฏี 35 ชั่วโมง ฝึกปฏิบัติในพื้นที่ 35 ชั่วโมง) ประเมินความพึงพอใจหลังการอบรม และประเมินผลหลังการอบรม 3 เดือน โดยใช้แบบสอบถาม /เยี่ยมติดตามเสริมพลัง 
 


 
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
พระที่ผ่านการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะในการดูแลสุขภาพอนามัยตามหลักพระธรรมวินัย  และให้คำแนะนำ ดูแลพระสงฆ์ มีศักยภาพในการเป็นแกนนำเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ และผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชน และสังคม และเพื่อเตรียมการรองรับระบบการดูแลพระสงฆ์ และการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวซึ่งพระสงฆ์ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด